Page 22 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 22

1-12 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

อะไร ผู้สอนเลือกวิธีสอนโดยมีเหตุผลอย่างไร เป็นต้น การท่ีจะตอบปัญหาเหล่าน้ีและน�ำไปสู่การปฏิบัติที่
ชัดเจนจะต้องอาศัยการพิจารณาอย่างละเอียดลึกซึ้ง นั่นคือ จะต้องมีปรัชญาการศึกษาเป็นแนวทางในการ
จัดการศึกษา

       5.1 	ความหมายของปรัชญาการศึกษา ได้มีผู้ให้ความหมายของปรัชญาการศึกษาไว้ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้

       “ปรัชญาการศึกษา หมายถึง ระบบหรือแนวความคิดเก่ียวกับองค์ประกอบที่ส�ำคัญของการศึกษา
ได้แก่ ความมุ่งหมาย นโยบาย เน้ือหาสาระ ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน การบริหารการศึกษา เป็นต้น อัน
เปน็ ผลเนอ่ื งมาจากการศกึ ษาวเิ คราะหแ์ ละกลนั่ กรองอยา่ งรอบคอบโดยอาศยั หลกั ปรชั ญาเปน็ พน้ื ฐาน” (ธำ� รง
บัวศรี, 2542: 44)

       “ปรัชญาการศึกษาเป็นการศึกษาท่ีมุ่งวิเคราะห์สาระและธรรมชาติของการศึกษา เพื่อจะก�ำหนดจุด
มงุ่ หมายและวธิ กี ารจดั การศกึ ษาทสี่ อดคลอ้ งกบั คณุ คา่ และความหมายของชวี ติ ทด่ี ตี ามอดุ มการณข์ องสงั คม”
(วิจิตร ศรีสอ้าน, 2543: 216)

       “ปรัชญาการศึกษาเป็นความคิด ความเชื่อถือ ท่ีใช้เป็นหลักในการคิดและการจัดหลักสูตรและการ
สอนให้แก่ผู้เรียน” (ทิศนา แขมมณี, 2545: 34)

        “ปรัชญาการศึกษาเป็นเร่ืองของความเช่ือพื้นฐาน หรือเหตุผลเบื้องหลังของการจัดการศึกษาของ
คนใดคนหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีอยู่ชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือซ่อนเร้นอยู่ในความ
รู้สึก ความคิดและการกระท�ำของบุคคลต่าง ๆ” (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2549: 49)

       สรุปได้ว่า ปรัชญาการศึกษาเป็นความเช่ือพ้ืนฐานที่ใช้เป็นหลักในการก�ำหนดแนวทางในการจัดการ
ศึกษา

       5.2 	ความส�ำคัญของปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษามีความส�ำคัญต่อการจัดการศึกษา ดังที่
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2538: 5-6) ได้เสนอคุณค่าของปรัชญาการศึกษาไว้ สรุปได้ดังนี้

            1) 	ปรัชญาการศึกษาช่วยในการตั้งค�ำถามที่ลึกซ้ึง และตั้งข้อสงสัยต่อแนวคิดและกิจกรรม
ต่าง ๆ

            2) 	ปรัชญาการศึกษาช่วยให้เกิดความเข้าใจกิจกรรมทางการศึกษาท่ีเป็นอยู่ให้ชัดเจนขึ้น
            3) 	ช่วยขจัดความไม่สอดคล้องต้องกัน นักปรัชญาการศึกษาจะช่วยมองความขัดแย้งและ
ความไม่สอดคล้องกันที่พบอยู่เสมอในวงการศึกษา และขจัดความขัดแย้งเหล่าน้ี
            4) 	ช่วยให้เห็นภาพรวม เห็นความสัมพันธ์และความส�ำคัญต่อกันของแนวคิดและกิจกรรม
ต่าง ๆ ทางการศึกษา
            5) 	ชว่ ยเสนอแนวคดิ ใหม่ จากการตงั้ ปญั หา หาภาพรวมทำ� ความชดั เจน และขจดั ความกำ� กวม
ต่าง ๆ
       ปรัชญาการศึกษายังมีบทบาทที่ส�ำคัญในการจัดการศึกษาในด้านการก�ำหนดจุดมุ่งหมายและการ
สร้างความชัดเจนเก่ียวกับแนวคิดในการจัดการศึกษาดังที่ วิจิตร ศรีสอ้าน (2543: 234) ได้สรุปไว้ว่า
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27