Page 18 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 18

1-8 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

วิธีการหนึ่งของการแสวงหาสัจจธรรม การหยั่งรู้หรือญาณทัศน์เป็นการรู้เฉพาะตัว ไม่อาจจะพิสูจน์ให้ทุกคน
รู้แจ้งเห็นจริงได้ท้ังหมด

            5) 	การรู้โดยวิธีวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) การรู้โดยวิธีวิทยาศาสตร์ เป็นการรู้โดย
อาศัยการสังเกตและการทดลอง เพ่ือพิสูจน์ว่าความรู้ที่ได้จากการสังเกตหรือการสัมผัสเป็นความรู้ท่ีถูกต้อง
เมื่อมีการทดลองซ�้ำ ๆ จนได้ค�ำตอบไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว ก็ถือได้ว่าเป็นความรู้ท่ีแท้จริงตราบเท่าที่ผลการ
พิสูจน์ยังไม่เป็นอย่างอ่ืน

       นอกจากน้ี ญาณวิทยา ยังได้มีการจ�ำแนกประเภทของความรู้โดยอาศัยแหล่งท่ีมาและวิธีการได้มา
ซึ่งความรู้เป็น 5 ประเภท คือ (1) ความรู้ประเภทคัมภีร์ (Revealed Knowledge) เป็นความรู้ท่ีพระเจ้า
ประทานใหแ้ กศ่ าสดา (2) ความรปู้ ระเภทตำ� รา (Authoritative Knowledge) เปน็ ความรทู้ ไ่ี ดจ้ ากการบอกเลา่
บันทึกหรือการถ่ายทอดจากผู้รู้ในเร่ืองต่าง ๆ (3) ความรู้ประเภทญาณทัศน์ (Intuitive Knowledge)
เป็นความรู้ท่ีเกิดจากการหย่ังรู้โดยญาณ (4) ความรู้ประเภทเหตุผล (Rational Knowledge) เป็นความรู้ท่ี
ได้มาจากการใช้หลักของเหตุผล ซ่ึงเป็นวิธีการทางตรรกวิทยา ส่วนใหญ่จะเป็นความรู้ท่ีเกิดจากการอ้างอิง
ความจริงหรือความรู้ท่ีมีอยู่แล้ว และ (5) ความรู้เชิงประจักษ์ (Empirical Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จาก
วิธีการทางวิทยาศาสตร์และผัสสะประกอบกัน

       เนื่องจากการศึกษาเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ ปรัชญาแขนงญาณวิทยาจึงมีส่วนสัมพันธ์กับ
การศึกษาอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการสอน

       2.3 	คุณวิทยา (Axiology) ปรัชญาแขนงน้ีมุ่งวิเคราะห์คุณค่า ค่านิยม แนวความคิดและความเช่ือ
ของมนุษย์เก่ียวกับความดีและความงาม โดยศึกษาใน 2 ด้าน คือ จริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์

            1) 	จริยศาสตร์ (Ethics) เป็นเรื่องของความดี ความถูกต้องของแนวทาง ความประพฤติ
ความหมายของชีวิต ชีวิตที่ดีมีลักษณะอย่างไร อะไรคือสิ่งที่น่าพึงปรารถนาท่ีสุดของชีวิต ความดีคืออะไร
เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์วัดความดีความช่ัว

            2) 	สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นเร่ืองของความงาม การจะตัดสินว่าอะไรสวย อะไรงาม
ใชเ้ กณฑอ์ ะไร มเี กณฑท์ จ่ี ะวดั ไดจ้ รงิ หรอื ไม่ สนุ ทรยี ศาสตรม์ งุ่ ศกึ ษาคณุ คา่ เกยี่ วกบั ความงามของศลิ ปะ ความ
ไพเราะแห่งดนตรี ความงามแห่งธรรมชาติ

            คณุ วทิ ยามคี วามสำ� คญั ยง่ิ ตอ่ การศกึ ษา ทง้ั นเ้ี พราะการศกึ ษามไิ ดม้ หี นา้ ทแี่ ตเ่ พยี งการถา่ ยทอด
ความรู้ไปสู่ผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ส�ำคัญในการปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมที่ดีงามในตัวผู้เรียนด้วย
หลักการด้านจริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ จึงมีความส�ำคัญและมีความสัมพันธ์กับการจัดการศึกษาทุก
ระดับเป็นอย่างมาก

       2.4 	ตรรกวิทยา (Logic) มุ่งศึกษากฎเกณฑ์การใช้เหตุผล การคิดอย่างมีระบบระเบียบ การอ้าง
เหตุผลอย่างไรจึงจะสมเหตุสมผล มีหลักอะไรที่จะตัดสินความมีเหตุผล การอ้างเหตุผลมีได้กี่วิธี เหล่านี้เป็น
เร่ืองท่ีตรรกวิทยามุ่งศึกษาวิเคราะห์ วิธีการหาเหตุผลทางตรรกวิทยา มีอยู่ 2 แบบ คือ

            1) 	แบบอุปนัย (Inductive) การอ้างเหตุผลแบบอุปนัยเป็นการอาศัยความจริงหรือ
ประสบการณ์ย่อยหลาย ๆ ประสบการณ์มาสรุปเป็นความจริงหลัก เช่น
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23