Page 19 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 19

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-9

คนเป็นส่ิงที่มีชีวิต	     คนต้องตาย
สัตว์เป็นส่ิงที่มีชีวิต	  สัตว์ต้องตาย
พืชเป็นส่ิงท่ีมีชีวิต	    พืชต้องตาย
เพราะฉะน้ัน 	             สิ่งท่ีมีชีวิตต้องตาย

            2) 	แบบนิรนัย (Deductive) การอ้างเหตุผลแบบนิรนัยนั้นเป็นการอ้างว่าสิ่งหนึ่งเป็นจริง
เพราะสอดคล้องกับส่ิงอ่ืนที่เราทราบว่าเป็นจริงและถือเป็นหลักอยู่แล้ว เช่น

ส่ิงท่ีมีชีวิตต้องตาย
คนเป็นสิ่งที่มีชีวิต
เพราะฉะน้ันคนต้องตาย

            จะเหน็ ไดว้ า่ ปรชั ญาเปน็ ศาสตรท์ เี่ นน้ การคน้ หาความจรงิ คณุ คา่ และความหมายของชวี ติ ชว่ ย
ให้มนุษย์คิดและแสวงหาความรู้อย่างมีระบบด้วยหลักของเหตุผล การศึกษามุ่งพัฒนาคนให้มีชีวิตที่ดีข้ึน
ปรัชญาจึงมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาอยู่มาก โดยเฉพาะแนวของญาณวิทยา คุณวิทยา และตรรกวิทยา
ซ่ึงนับว่าเป็นหลักที่ส�ำคัญในการได้มาซึ่งความรู้ของมนุษยชาติ

3. 	ความหมายของการศึกษา

       ในการศึกษา ความหมายของค�ำว่า การศึกษา (education) ควรพิจารณารากศัพท์ของค�ำ 
education มาจากภาษาละติน 2 ค�ำ ค�ำแรก คือ educere ซึ่งแปลว่า บ�ำรุง เล้ียง อบรม รักษา ท�ำให้เจริญ
งอกงาม (to nurture, to rear, to raise) และค�ำที่สอง educare ซ่ึงแปลว่า ชักน�ำ หรือดึงออกมา (to lead
from, to draw out) ศัพท์ค�ำแรก หมายถึง การอบรมสั่งสอนให้เกิดความเจริญงอกงาม ส่วนค�ำหลังน้ัน
การศึกษา หมายถึง การชักน�ำให้บุคคลรู้จักและตระหนักในคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวคนแต่ละคนเพื่อจะได้ใช้
ความสามารถท่ีมีอยู่ตามธรรมชาติได้เต็มที่ (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2543: 232)

       พระธรรมปิฎก (2542: 17) ได้กล่าวถึง ความหมายของการศึกษาไว้ว่า “การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์น่ันแหละ เป็นเน้ือเป็นตัว เป็นความหมายท่ีแท้ของการศึกษา” นับว่าเป็นความหมายท่ีครอบคลุม
และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

       ที่ผ่านมาได้มีนักการศึกษาให้ค�ำนิยามของการศึกษาไว้มากและต่างกัน เช่น “การศึกษาคือชีวิต”
“การศึกษาคือการตระเตรียมการด�ำรงชีวิต” “การศึกษาคือความเจริญงอกงาม” “การศึกษาคือการถ่ายทอด
วัฒนธรรม” “การศึกษาคือการท�ำให้คนเจริญขึ้น” เป็นต้น ซ่ึงมีแง่มุมการพิจารณาต่างกันไป วิจิตร ศรีสอ้าน
(2543: 232) จึงได้สรุปความหมายของการศึกษาไว้ 2 แนว คือ

       1) 	ความหมายในแนวกวา้ ง ถอื ว่าการศึกษาเป็นกระบวนการต่อเน่ืองตลอดชีวิต มปี จั จัยหลายอยา่ ง
ทมี่ อี ทิ ธพิ ลตอ่ การหลอ่ หลอมชวี ติ บคุ ลกิ ภาพและความรสู้ กึ นกึ คดิ ของมนษุ ย์ เปน็ การศกึ ษาจากประสบการณ์
ทั้งมวล ตามแนวนี้การศึกษามิได้จ�ำกัดอยู่ในโรงเรียนเท่าน้ัน สถาบันทางสังคมอ่ืน ๆ เช่น บ้าน วัด ส่ือมวลชน
เป็นต้น ต่างก็มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของบุคคล
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24