Page 24 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 24

1-14 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

1. 	ปรชั ญาสาขามโนคตนิ ิยม

       ปรัชญาสาขามโนคตินิยม (Idealism) เป็นปรัชญาท่ีเก่าแก่ท่ีสุดของตะวันตก ผู้ให้ก�ำเนิดปรัชญานี้
คือ เพลโต (Plato) ปรัชญาเมธีชาวกรีกซ่ึงมีชีวิตอยู่ในช่วงปี 427-347 ก่อนคริสตกาล ปรัชญาสาขาน้ีเชื่อว่า
ความจริงอันเป็นท่ีสุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตมากกว่าวัตถุ บางแห่งเรียกปรัชญานี้ว่า ปรัชญาสาขาจิตนิยม
(ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2552 และวิชัย ตันศิริ, 2549)

       เพลโตมีความเชื่อว่าสังคมถูกขับเคลื่อนด้วยการค้นหาความรู้ การค้นหาความจริง ความยุติธรรม
และความงามในโลกนนั้ เปน็ การคน้ หาความหมายของชวี ติ ทง้ั ของตนเองและของสงั คมในสว่ นรวม การคน้ หา
ดังกล่าวจะผลักดันจิตใจให้ห่างจากส่ิงที่พบเห็นและสัมผัสได้ด้วยตา หู จมูก ล้ิน กายใจ ไปสู่โลกแห่งความ
คิดหรือจินตนาการ อันจะท�ำให้บุคคลคิดได้อย่างฉลาด และแจ่มแจ้ง

       เพลโตมีทัศนะว่า การศึกษา คือ การให้ความเจริญเติบโตท่ีเน้นการอบรมจิตใจให้มีระเบียบวินัย
และให้รู้จักการใช้ความคิดอย่างมีระบบระเบียบ จิตใจจะเจริญงอกงามได้ก็ต่อเม่ือมีเคร่ืองบ�ำรุงท่ีดี เครื่อง
บ�ำรุงจิตใจก็คือการศึกษาและสิ่งแวดล้อม การศึกษาเพ่ือการพัฒนาจิตใจจึงเป็นจุดมุ่งหมายส�ำคัญของการ
ศึกษา การศึกษาเป็นพาหะขับเคลื่อนสังคม เพ่ือน�ำไปสู่สังคมในอุดมคติ กระบวนการศึกษาจะท�ำหน้าท่ี
คดั สรรคนใหป้ ฏบิ ตั งิ านในระดบั ตา่ ง ๆ ของสงั คม หลกั สตู รการศกึ ษาจะตอ้ งมงุ่ ฝกึ คนใหม้ งุ่ ไปขา้ งหนา้ บคุ คล
ควรจะได้เรียนพลศึกษาและดนตรีในช่วงต้นของชีวิต และการเรียนรู้เก่ียวกับคุณธรรมจริยธรรมต้องมุ่งให้
บุคคลตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนเองต่อบุคคลอื่น

   ภาพที่ 1.1 ภาพ The School of Athens โดยราฟาเอล (The School of Athens by Raffaello Sanzio, 1509)
	 คนสองคนท่ีเดินอยูก่ ลางภาพใต้ประตโู คง้ คอื เพลโต (คนซา้ ยมอื ) และอรสิ โตเตลิ (คนขวามือ)

ทม่ี า: 	http://un2sg4.unige.ch/athena/html/athome.html
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29