Page 28 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 28

1-18 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

       ส่วนดิวอีได้จัดตั้งโรงเรียนทดลอง (Laboratory School) เพื่อทดลองจัดการศึกษาตามแนวปรัชญา
ประสบการณ์นิยมจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปท่ัวโลก ผลงานด้านการเขียนและการทดลองของดิวอี ช่วยสร้าง
พื้นฐานความเข้าใจในปรัชญาสาขาประสบการณ์นิยมสืบต่อจากเจมส์ให้แพร่หลายกว้างขวางขึ้น

       ดิวอีเชื่อว่า มนุษย์จะได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ จากประสบการณ์เท่าน้ัน การเรียนรู้ที่จะก่อให้
เกิดประสบการณ์ที่เหมาะสม คือ การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีข้ันตอน โดย
ผู้เรียนจะต้องมีการท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย

       แนวการจัดการศึกษาตามปรัชญาสาขาประสบการณ์นิยม มีดังนี้
       3.1 	โรงเรยี น เน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะเอ้ือให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ต่อเนื่อง เป็นส่ิงแวดล้อม
ที่ไม่แตกต่างจากชีวิตจริงและสังคมจริง สังคมของโรงเรียนจะต้องเป็นแบบจ�ำลองของสังคมใหญ่เพื่อให้
นักเรียนด�ำรงชีวิตได้ในสังคมจริง เป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ การน�ำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริง
โรงเรียนจะต้องมุ่งสร้างส่ิงแวดล้อมเหมือนชีวิตจริงในบ้านและในสังคม เพ่ือให้ผู้เรียนมีประสบการณ์อย่าง
ต่อเน่ือง
       3.2 	หลกั สตู ร เน้นการเสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ให้ความส�ำคัญแก่กระบวนการเรียนรู้มาก
กว่าการเน้นด้านเนื้อหาสาระ การจัดหลักสูตรเป็นการจัดประสบการณ์เพ่ือให้ผู้เรียนได้มีโอกาสท�ำกิจกรรม
เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต กลุ่มวิชาท่ีได้รับการเน้นเป็นพิเศษ คือ สังคมศึกษา วิธีการเรียนการสอน
ตามหลักสูตร คือ การแก้ปัญหา การท�ำโครงการ และกิจกรรมโดยถือความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
เป็นหลัก
       3.3 	การเรยี นการสอน เนน้ การเรียนโดยวิธีการแก้ปัญหาเพ่อื ใหผ้ ้เู รียนมีประสบการณก์ ารแกป้ ัญหา
การจดั การเรยี นการสอนโดยยดึ ผเู้ รยี นเปน็ ศนู ยก์ ลาง และการเรยี นรใู้ นขณะทนี่ ำ� ความรมู้ าใชเ้ พอื่ ใหก้ ารเรยี น
รู้และการน�ำความรไู้ ปใชป้ ระโยชนเ์ กดิ ข้ึนพร้อม ๆ กัน การเรียนรูแ้ บบนีม้ ักจัดทำ� ในรูปโครงการ และกจิ กรรม
เพอื่ ใหผ้ เู้ รยี นไดศ้ กึ ษาคน้ ควา้ เพอ่ื หาคำ� ตอบและแนวทางแกป้ ญั หา ความรทู้ ไ่ี ดจ้ ะเปน็ พนื้ ฐานในการแกป้ ญั หา
หรือท�ำโครงการและกิจกรรมน้ัน ๆ ให้เสร็จสมบูรณ์
       3.4 	การปลูกฝังค่านิยมทางจริยธรรม คุณธรรม และด้านสุนทรียภาพ โรงเรียนจะต้องจัดสภาพ
แวดลอ้ มทางการเรยี นใหผ้ เู้ รยี นเรยี นรจู้ ากสภาวะทางศลี ธรรมและประสบการณท์ างสนุ ทรยี ท์ เ่ี ปน็ จรงิ ในสงั คม
และปรับใช้กับการด�ำรงชีวิตของผู้เรียน

4. 	ปรชั ญาสาขาอตั ถภิ าวนิยม

       ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) เป็นปรัชญาการศึกษาตะวันตกท่ีใหม่ท่ีสุดท่ีน�ำมา
กล่าวถึงในชุดวิชาน้ี เป็นผลิตผลทางความคิดในศตวรรษที่ 20 ปรัชญาเมธีที่ให้ก�ำเนิดปรัชญาสาขาน้ี คือ
คีร์เคกอร์ด (Soren Kierkegaard) นักปรัชญาและศาสนาชาวเดนมาร์กซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1844-1900
จดุ เนน้ ของปรชั ญาสาขานี้ คอื เสรภี าพของปจั เจกบคุ คลและการใชเ้ สรภี าพในการดำ� เนนิ ชวี ติ เนน้ เอกตั บคุ คล
มากกว่าสังคมโดยส่วนรวม ปรัชญาน้ีเช่ือว่า มนุษย์เป็นผู้เลือกส่ิงที่เขาจะเป็น บางคนอาจให้คนอ่ืนเลือก
แทนตน อัตถิภาวนิยมกระตุ้นให้มนุษย์เผชิญกับข้อขัดแย้งในค่านิยม มนุษย์จะต้องพิจารณาข้อขัดแย้ง
อย่างละเอียดรอบคอบ แล้วเลือกส่ิงท่ีตนคิดว่าถูกต้องและยอมรับในผลที่ตามมาของการเลือกน้ัน
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33