Page 32 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 32

1-22 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

เรื่องที่ 1.1.3 	ปรชั ญาการศึกษาไทย

       การจัดการศึกษาไทยที่ผ่านมาได้ใช้แนวทางการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาการศึกษาตะวันตก
ท�ำให้มีผู้ตั้งค�ำถามอยู่บ่อยคร้ังว่า เรามีปรัชญาการศึกษาไทยท่ีเหมาะกับบริบทของสังคมไทยหรือไม่ ดังที่
เอกวิทย์ ณ ถลาง (2523 อ้างถึงใน วิจิตร ศรีสอ้าน, 2543: 279) ได้กล่าวไว้ว่า

       “กใ็ นภาวะทไ่ี รป้ รชั ญาการศกึ ษาของเรานเี่ อง นกั การศกึ ษาของเราในปจั จบุ นั จงึ ไปไขวค่ วา้ เอาปรชั ญา
บางประการของชาวตะวนั ตกมาทกึ ทกั วา่ นา่ จะรบั เขา้ มาเปน็ ปรชั ญาการศกึ ษาของเราเองได้ ครน้ั แปลงปรชั ญา
นั้น ๆ ออกมาเป็นการกระท�ำ พบว่ามีความขัดเขินไปกันไม่ได้สนิทนักกับค่านิยมและนิสัยอย่างไทย ๆ ผล
ท่ีสุดปรัชญาต่างประเทศท่ีสั่งเข้ามาน้ันก็ดูจะเลื่อนลอยไร้ความหมายและไม่ยังประโยชน์แก่การศึกษาของ
ไทยเท่าท่ีควร ความขลุกขลัก ความอึดอัด ความว้าเหว่ จึงมีอยู่ทั่วไปในวงการศึกษาไทย”

       ในการแสวงหาปรัชญาการศึกษาท่ีเหมาะกับสังคมไทย ได้มีผู้เสนอแนวคิดไว้ท้ังในการสัมมนาและ
ในข้อเขียนต่าง ๆ แนวคิดเด่น ๆ ที่ประมวลได้ คือ การน�ำพุทธปรัชญามาใช้ตามที่ สาโรช บัวศรี ได้เสนอไว้
แนวคิดทางการศึกษาของพุทธทาสภิกขุ และแนวคิดทางการศึกษาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
แนวคิดทางการศึกษาเหล่านี้ถือว่าเป็นปรัชญาการศึกษาไทย ซ่ึงมีรายละเอียดต่อไปน้ี

1. 	การน�ำพทุ ธปรัชญามาใช้ตามแนวคิดของสาโรช บัวศรี

       ผู้ท่ีนับว่ามีบทบาทส�ำคัญในการบุกเบิกความคิดเรื่องปรัชญาการศึกษาไทยอย่างจริงจัง คือ
ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี ท่านได้ช้ีให้เห็นว่า พุทธปรัชญาน่าจะเป็นแม่บทของปรัชญาการศึกษาไทย
ได้ ดังท่ีเขียนไว้ในหนังสือ พุทธศาสนากับการศึกษาแนวใหม่ (สาโรช บัวศรี, 2516 อ้างถึงใน วิจิตร ศรีสอ้าน,
2543: 279)

       “ในประเทศไทยเรา เราจะใช้รากฐานอะไร ส�ำหรับการศึกษาในยุคท่ีก�ำลังพัฒนาบ้านเมืองอยู่อย่าง
รวดเร็วเช่นนี้ วิชาจิตวิทยาที่นับว่าเป็นของไทยเราเองก็ไม่มี ลัทธิปรัชญาที่เป็นของไทยเราเองเราก็ไม่มีเหมือน
กัน เรามีอยู่แต่พระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่าน้ัน อน่ึง หลักวิชาในพุทธศาสนานั้นที่เป็นจิตวิทยาก็มีอยู่ ที่เป็น
ปรัชญาก็มีอยู่ ดังน้ันจึงน่าจะพูดได้ว่า การศึกษาของไทยควรจะได้ยึดพุทธศาสนาเป็นรากฐานโดยน�ำเอาหลัก
จิตวิทยาและหลักปรัชญาท่ีมีอยู่ในพระพุทธศาสนาน้ันมาพิจารณาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสม และอยู่ในขอบเขต
หรือระดับท่ีจะเป็นไปได้ในวงของการศึกษา”
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37