Page 36 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 36

1-26 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

       6) 	แนวทางและสาระที่จัดให้เรียน ควรมีศาสตร์ 3 สาขา คือ พุทธศาสตร์ แบ่งออกเป็น ศิลปศาสตร์
และศาสตร์ที่เป็นความรู้ด้านจิตใจ ธรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ส�ำหรับปฏิบัติ และสังคมศาสตร์ เป็นศาสตร์
ส�ำหรับสร้างความผูกพันและการปรับปรุงตนให้ผูกพันกับผู้อ่ืน

       7) 	วิธีการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์เน้นการปฏิบัติเพ่ือมองเห็นตนเอง ในตนเอง โดยตนเอง เน้น
การเรียนด้วยการกระท�ำ การฝึกหัดอบรม กาย วาจา ใจ ตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา การฝึกหัด
อบรมตนให้เห็นแจ้งจนสามารถควบคุม ตัดรากเหง้าของกิเลสได้ และการฝึกหัดอบรมตนให้รู้แจ้ง ไม่ยึดมั่น
ถือมั่น ลดละความเห็นแก่ตัว เปลี่ยนจากความเป็นคนมาเป็นมนุษย์ที่สงบเย็น

       8) 	ครูมีความส�ำคัญมาก เป็นมัคคุเทศก์ทางวิญญาณ ครูต้องเป็นผู้อุทิศตนให้การศึกษาและสร้าง
เสริมคุณธรรมแก่ผู้เรียน

       แนวคิดทางการศึกษาของพุทธทาสภิกขุ นับเป็นแรงบันดาลใจให้นักการศึกษาพยายามแสวงหา
แนวทางการจัดการศึกษาที่ผสมกลมกลืนระหว่างการพัฒนาสติปัญญาและคุณธรรมเพื่อความสงบสุขของ
บุคคลและสังคม

3. 	แนวคิดทางการศกึ ษาของพระพรหมคณุ าภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

                         ภาพท่ี 1.7 พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยทุ ธ์ ปยุตฺโต)

ทม่ี า: 	http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php

       พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นปราชญ์ที่ได้น�ำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาอธิบาย
ปรชั ญาการศกึ ษา ตง้ั แตเ่ มอื่ ดำ� รงสมณศกั ดเิ์ ปน็ พระราชวรมนุ ี ไดม้ กี ารรวบรวมและจดั พมิ พค์ ำ� บรรยายตา่ ง ๆ
ของท่านเป็นหนังสือช่ือ ปรัชญาการศึกษาไทย เม่ือ พ.ศ. 2518 ต่อมาได้ปรับปรุงและจัดพิมพ์อีกหลายครั้ง
ในช่วงด�ำรงสมณศักดิ์เดิมและสมณศักด์ิต่อมา ได้แก่ พระเทพเวที พระธรรมปิฎก และพระพรหมคุณาภรณ์
รวมทั้งได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวกับการศึกษาตามแนวพุทธธรรมไว้มาก แนวคิดของท่านเกี่ยวกับการศึกษาท่ี
ถือได้ว่า เป็นปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรม สรุปได้ดังน้ี (พระราชมุนี, 2525-2528; พระเทพเวที,
2532-2536 และพระธรรมปิฎก, 2542-2546)
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41