Page 37 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 37

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-27

       1) 	ตามหลักพุทธศาสนา การด�ำรงชีวิตของมนุษย์และปัญหาชีวิตต่าง ๆ ล้วนเป็นความทุกข์ที่ต้อง
ประสบ จึงต้องยอมรับความจริง และพร้อมท่ีจะจัดการแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด การศึกษาจึงเป็นเร่ืองของชีวิต
คือ การที่ชีวิตต้องพยายามเป็นอยู่ให้ดี และชีวิตต้องเป็นอยู่ตลอดเวลา ดังน้ัน ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ
ปัญญา หรือพฤติกรรม จิตใจ ปัญญา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาจึงอยู่ที่ชีวิตของคนเราท้ังหมด และ
ทุกคนจะต้องไปพัฒนาฝึกให้เกิดข้ึนในตัว แนวคิดของพระพุทธศาสนาจึงเร่ิมจากมองเห็นชีวิตของมนุษย์ว่า
เป็นอย่างไร และน�ำการรู้เข้าใจความเป็นจริงมาจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความจริง

       2) 	มนุษย์มีคุณลักษณะพิเศษที่ต่างจากชีวิตแบบอ่ืน ๆ คือ มีองค์ประกอบภายในจิตใจท่ีเรียกว่า
“สติปัญญา” จึงท�ำให้มนุษย์สามารถท่ีจะเรียนรู้ และสามารถจัดปัจจัยแวดล้อมทั้งหลายให้เก้ือกูลแก่การ
ด�ำรงชีวิตของตน ท�ำให้มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากอ�ำนาจครอบง�ำของสิ่งอื่น ท�ำให้มีอิสรภาพ หรือมีความ
เป็นใหญ่ในตนเองขึ้น กระบวนการที่มนุษย์เกิดการเรียนรู้โดยใช้สติปัญญานี้เอง คือ การศึกษา การศึกษาจึง
มีวัตถุประสงค์เพื่อท�ำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพ คือ ท�ำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอ�ำนาจครอบง�ำของปัจจัยแวดล้อม
ภายนอกให้มากท่ีสุด และมีความเป็นใหญ่ในตัว ในการที่จะก�ำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด

       3) 	หนา้ ทหี่ ลกั ของการศกึ ษามี 2 ประการ คอื ประการแรก การถา่ ยทอดศลิ ปวทิ ยา เปน็ การถา่ ยทอด
รักษา ส่งเสริมเพิ่มพูนวิชาการ วิชาชีพ ตลอดจนสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมทางวิชาการของมนุษย์ และ
ประการทส่ี อง ชแ้ี นะใหร้ จู้ กั การดำ� เนนิ ชวี ติ ทด่ี งี ามถกู ตอ้ ง และการฝกึ ฝนพฒั นาตนจนถงึ ความสมบรู ณ์ หนา้ ที่
ประการท่ีสองน้ีเป็นเรื่องของการศึกษาแท้ ๆ เป็นเน้ือตัวแท้ ๆ ของการศึกษา

       4) 	กระบวนการของการศึกษาเพื่อท�ำลายอวิชชา และเสริมสร้างปัญญา ประกอบด้วย ตัวการศึกษา
ท่ีแท้ คือ มรรค หรือไตรสิกขา เป็นส่วนท่ีอยู่ในตัวบุคคล เกิดข้ึนที่ตัวบุคคลเอง และตัวประกอบของการ
ศึกษา คือ เครื่องเหนี่ยวน�ำชักจูงให้การศึกษาเกิดข้ึนแก่บุคคล แบ่งเป็น ตัวประกอบภายนอก (ปรโตโฆสะ)
คือ เครื่องชักจูงจากภายนอก ฝ่ายท่ีดีโดยเฉพาะกัลยาณมิตร และตัวประกอบภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ
คือ การรู้จักคิดหรือคิดถูกวิธี

       5) 	พุทธศาสนามองครูในฐานะบุคคลท่ีท�ำหน้าท่ี 2 ประการ คือ ประการท่ีหนึ่ง เป็น สิปปทายก หรือ
ศลิ ปทายก คอื ผใู้ หห้ รอื ผถู้ า่ ยทอดศลิ ปวทิ ยา ถา่ ยทอดหลกั ความรู้ สำ� หรบั ศษิ ยน์ ำ� ไปใชป้ ระกอบอาชพี ดำ� เนนิ
ชีวิตเพื่อพ่ึงตนเอง และท�ำประโยชน์แก่สังคมต่อไป ประการที่สองเป็นกัลยาณมิตร ซ่ึงถือว่า ส�ำคัญย่ิงกว่า
หน้าที่ประการแรก ภารกิจของครูในฐานะกัลยาณมิตร ก็คือการช้ีช่องให้ศิษย์เป็นคนรู้จักคิด รู้จักมอง
ความหมายของสิ่งต่าง ๆ อย่างถูกต้อง รู้จักแสดงออกอย่างมีเหตุผล มีความรับผิดชอบและรู้จักการด�ำเนิน
ชีวิตที่ดี คือ มีปัญญา และคุณธรรม

       6) 	ทางพุทธศาสนา พุทธิศึกษาจะไม่แยกจากจริยศึกษา การศึกษาท่ีถูกต้องเป็นจริยศึกษาในตัวเอง
และเป็นพทุ ธศิ กึ ษาด้วย ผู้มกี ารศกึ ษาหรอื มีปญั ญาจะใช้ประโยชน์จากความรูใ้ นการแก้ปญั หาของมนุษยด์ ว้ ย
วธิ ตี า่ ง ๆ ครทู กุ คนควรเปน็ ครจู รยิ ศกึ ษาไปดว้ ย จรยิ ศกึ ษาเปน็ เรอ่ื งทตี่ อ้ งบรู ณาการมากทส่ี ดุ ในบรรดาวชิ าการ
ทั้งหลาย หัตถศึกษาหรือศิลปศึกษามีความส�ำคัญเพื่อฝึกฝนในด้านทักษะความเชี่ยวชาญ ความช�ำนิช�ำนาญ
ในงานฝีมือต่าง ๆ ส�ำหรับพลศึกษาจะเป็นเคร่ืองช่วยในการด�ำเนินชีวิตให้ดี มนุษย์ต้องการพละก�ำลังในทาง
รา่ งกาย เพื่ออำ� นวยประโยชน์ในการดำ� เนนิ ชีวิตท่ดี ี หรอื ในการแก้ปญั หา รวมถึงตอ้ งมคี วามเข้มแขง็ ทางจิตใจ
ด้วย
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42