Page 34 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 34

1-24 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

       2)	 ในฝ่ายวิธีการ (Method) ของการศึกษา อาจปรับเอาได้จากขั้นหรือวิธีการของอริยสัจ 4 มี 4
ประการ คือ (1) ทุกข์ คือ สภาพท่ีทนได้ยาก (2) สมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (3) นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
(4) มรรค คือ ทางแห่งความดับทุกข์ วิธีการนี้ สาโรช บัวศรี ได้น�ำมาเปรียบเทียบวิธีแห่งปัญญา ได้ดังนี้

            ขน้ั ของอรยิ สัจ                     ข้ันของวิธกี ารแห่งปญั ญา

1. 	ทุกข์                                        1. 	ปัญหา (Problem)
2. 	สมุทัย
3. 	นิโรธ                                        2. 	สมมุติฐาน (Hypothesis)
4. 	มรรค
                                                 3. 	ทดลอง (Experimenting)

                                                 4. 	วิเคราะห์ข้อมูล	    อาจรวมเป็นข้ันเดียวกัน
                                                 	 (Analysis of data) 	

                                                 5. สรุป (Conclusion)

ทีม่ า: 	วิจิตร ศรีสอ้าน (2543: 282).

       การน�ำเอาข้ันของอริยสัจ 4 มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เทียบได้กับขั้นของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์

       3) 	ในแง่จิตวิทยาแห่งการเรียนรู้ (Psychology of Learning) อาจปรับเอาได้จากความคิดเรื่อง
“ญาณ” ในระดับต่าง ๆ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554 ได้ให้ความหมายของค�ำว่า ญาน คือ
ปัญญาหย่ังรู้หรือก�ำหนดรู้ที่เกิดจากอ�ำนาจสมาธิ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พระพรหม
คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต, 2553: 72)ได้ให้ความหมายของค�ำว่า ญาน คือ ความหย่ังรู้ หรือปรีชาหย่ังรู้ ญานมี
หลายแบบ เชน่ อตตี งั สญาณ เปน็ ญาณหยง่ั รสู้ ว่ นอดตี รอู้ ดตี และแสวงหาเหตปุ จั จยั อนั ตอ่ เนอื่ งมาได้ อนาคต
ตังสญาณ เป็นญาณหย่ังรู้ส่วนอนาคต รู้อนาคต หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไป ปัจจุปปันนังสญาณ เป็นญาณหย่ัง
รู้ส่วนปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน ก�ำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเร่ืองท่ีเป็นอยู่

       จากความพยายามในการแสวงหาปรัชญาการศึกษาไทย นับได้ว่า ท่านเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดในการน�ำ
พุทธปรัชญามาใช้ในการจัดการศึกษา เพื่อให้นักการศึกษารุ่นต่อ ๆ มาหาแนวทางจัดการศึกษาให้เหมาะสม
กับสังคมไทยต่อไป
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39