Page 35 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 35

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-25

2. 	แนวคิดทางการศึกษาของพทุ ธทาสภกิ ขุ

                                   ภาพท่ี 1.6 พทุ ธทาสภิกขุ

ทม่ี า: 	http://dhammaforlife1.blogspot.com/2011/07/blog-post_01.html

       พุทธทาสภิกขุ เป็นพระสงฆ์ท่ีสามารถน�ำค�ำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้เป็นแนวคิดทางการศึกษาได้
อย่างลึกซึ้ง แนวคิดทางการศึกษาของพุทธทาสภิกขุ ประมวลได้ดังต่อไปนี้ (พุทธทาสภิกขุ 2527; ภัทรพร
ศิริกาญจน์, 2531 อ้างถึงในพระมหาสง่า สุภโร, 2536: 121, และ 81-82; สุมน อมรวิวัฒน์, 2533: 250-251;
และอุทัย ดุลยเกษม, 2549: 354-359)

       1)	 เป้าหมายของการศึกษา คือ การท�ำลายสัญชาตญาณอย่างสัตว์ การศึกษาต้องเป็นหนทางท่ีจะ
ช่วยให้มนุษย์ได้รับส่ิงท่ีดีที่สุดท่ีมนุษย์พึงจะได้ คือ สามารถควบคุมกิเลส ตัณหา และพลังทางวัตถุ

       2) 	การศึกษาท่ีถูกต้อง จะต้องสามารถพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้มีความสมดุลท้ังด้านความสามารถทาง
วัตถุ ทางวิชาชีพ ความมีปัญญา และคุณธรรม

       3) 	การศึกษาต้องพัฒนาคนให้ฉลาด และมีศักยภาพพอท่ีจะควบคุมความฉลาด
       4) 	การศึกษามิใช่เพื่อประชาธิปไตย แต่การศึกษาต้องเป็นไปเพ่ือความถูกต้อง เพื่อธรรมาธิปไตย
และการศึกษามิใช่เพ่ือการอยู่รอด แต่เป็นการศึกษาท่ีเป็นไปเพ่ือสติปัญญา การศึกษาควรท�ำให้ผู้ศึกษามี
จิตใจรักความเป็นธรรม มีความส�ำนึกท่ีจะประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง
       5) 	การศึกษาควรสอนให้คนรู้ว่า เกิดมาท�ำไม (พุทธิศึกษา) สอนให้รู้และตระหนักในระเบียบวินัย
ของการเรียน ความเป็นมนุษย์ หน้าท่ีของชายหญิง เป็นผู้มีคุณธรรม (จริยศึกษา) พัฒนาพลังจิตให้บังคับ
กายเดินไปถูกทาง คือ มีสมาธิ จิตบริสุทธ์ิ สะอาด จิตม่ันคง จิตว่องไวในหน้าท่ี (พลศึกษา) หาความช�ำนาญ
จากพื้นฐานท่ีกล่าวมาเพ่ืองานอาชีพ ให้มองเห็นอริยสัจ ให้ลงมือปฏิบัติให้เห็นจริงตามประสบการณ์ เน้น
ปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี (หัตถศึกษา)
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40