Page 41 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 41

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-31

            4) 	โรงเรียนควรจะรักษาวิธีการด้ังเดิมท่ีใช้ระเบียบวินัยและการอบรมทางจิตใจเป็นเครื่องมือ
ในการส่งเสริมการเรียนรู้ การฝึกการคิด เช่น เลขคิดในใจ และการท่องจ�ำ  เช่น การท่องอาขยาน เป็นส่ิง
จ�ำเป็นส�ำหรับการฝึกฝนทางสติปัญญา

       1.2 	นิรันตรวาท ทฤษฎีการศึกษานิรันตรวาทมีรากฐานความคิดจากปรัชญาการศึกษาที่ส�ำคัญ 2
สาขา คือ มโนคตินิยมและประจักษ์นิยม กลุ่มนักการศึกษาที่ร่วมกันบุกเบิกทฤษฎีนี้ก็คือ โรเบอร์ต ฮัตชิน
(Robert Hutchin) และมอร์ติเมอร์ แอดเลอร์ (Mortimer Adler)

       ทฤษฎีการศึกษานิรันตรวาทซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “หนทางท่ีย้อนกลับไปสู่วัฒนธรรมอันดีงามในอดีต”
ยึดถือแบบอย่างท่ีดีงามอันเป็นนิรันดรเป็นหลักในการจัดการศึกษา มีลักษณะถอยหลังกลับไปสู่อดีตเพ่ือน�ำ
แบบอย่างท่ีดีงามของอดีตมาใช้ในสังคมปัจจุบัน หลักการส�ำคัญของทฤษฎีนิรันตรวาทมีดังน้ี

            1)	 มนุษย์ท่ัวโลกเหมือนกันโดยธรรมชาติ การศึกษาจึงควรจะเป็นแบบอย่างเดียวกันส�ำหรับ
ทุกคน ความรู้ท่ีแท้จริงจะเหมือนกันทุกหนทุกแห่ง การศึกษาจึงควรมุ่งพัฒนาความมีเหตุผล เพ่ือให้คนเป็น
คนที่สมบูรณ์ข้ึน รู้จักคิด รู้จักหาเหตุผล

            2) 	เนื่องจากความมีเหตุผล รู้จักคิด เป็นคุณสมบัติส�ำคัญที่ท�ำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งที่มี
ชีวิตอื่น ๆ จุดมุ่งหมายส�ำคัญของการศึกษาจึงควรจะเน้นการพัฒนาความมีเหตุผลและความรู้จักคิด รู้จักใช้
วิธีการแห่งปัญญาเป็นส�ำคัญ

            3) 	หน้าที่ของการศึกษา คือ การแสวงหาและการน�ำมาซึ่งความรู้อันเป็นนิรันดร เป็นสากล
และไม่เปลี่ยนแปลง การศึกษาจึงควรหาทางท่ีจะช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนปรับตัวเข้ากับความจริงซ่ึงเป็น
จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอน

            4) 	การศึกษาเป็นการเตรียมตัวเพ่ือการด�ำเนินชีวิต วัตถุประสงค์ส�ำคัญของโรงเรียน คือ การ
เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะเอ้ืออ�ำนวยให้เกิดพัฒนาการทางปัญญา ซ่ึงเป็นเป้าหมายส�ำคัญของโรงเรียน

            5) 	ผู้เรียนควรได้เรียนรู้วิชาพ้ืนฐานเพื่อจะได้เข้าใจและสามารถเข้าถึงส่ิงซ่ึงเป็นส่ิงถาวรของ
โลก การศึกษาขั้นพ้ืนฐานที่ส�ำคัญ คือ 3 R’s ซ่ึงได้แก่ อ่าน เขียน เลข และวิชาศิลปศาสตร์ อันมีศิลปะแห่ง
การอ่าน การฟัง การเขียน การพูด และการคิด วิชาเหล่านี้เป็นส่วนส�ำคัญของการศึกษาทั่วไปที่จ�ำเป็นส�ำหรับ
ทุกคน

            6) 	การศกึ ษาควรจะชว่ ยใหผ้ เู้ รยี นไดเ้ ขา้ ใจลกั ษณะอนั เปน็ สากลของมนษุ ยชาติ โดยการศกึ ษา
ผลงานอันเป็นอมตะทางด้านวรรณคดี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

       ทฤษฎกี ารศกึ ษานริ นั ตรวาทเนน้ เรอื่ งความสำ� คญั ของครแู ละเนอ้ื หาวชิ า ทฤษฎนี ม้ี บี ทบาทสำ� คญั โดย
เฉพาะในสถานศึกษาที่ยึดปรัชญามโนคตินิยม

       ปรัชญาการศึกษาในกลุ่มอนุรักษ์นิยมมีลักษณะเด่น คือ การเน้นเน้ือหามาก เน้นการถ่ายทอด
วัฒนธรรมและค่านิยมมาก เน้นระเบียบวินัย เน้นแบบแผนประเพณี ทฤษฎีการศึกษาสองสาขานี้มีความ
แตกต่างกันบ้าง แต่พ้ืนฐานบางส่วนมีความคาบเก่ียวกันดังภาพท่ี 1.8
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46