Page 46 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 46

1-36 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

เรื่องท่ี 1.2.2 	การประยุกต์ใช้ทฤษฎกี ารศึกษา

       ในการน�ำทฤษฎีทางการศึกษาไปใช้จัดการศึกษา อาจใช้ทฤษฎีการศึกษาเพียงทฤษฎีเดียวหรือหลาย
ทฤษฎผี สมผสานกนั โดยทวั่ ไปมกั จะใชท้ ฤษฎหี ลายทฤษฎผี สมผสานกนั โดยอาจจะเนน้ หนกั ทที่ ฤษฎใี ดทฤษฎี
หน่ึงดังท่ี วิจิตร ศรีสอ้าน (2543: 276) ได้เขียนไว้ว่า

       “การประยกุ ตห์ ลกั การและทฤษฎที างการศกึ ษาไปใชเ้ ปน็ หลกั ในการจดั การศกึ ษานนั้ กระทำ� กนั หลาย
วิธี โดยท่ัวไปมักจะใช้วิธีผสมผสาน (Eclecticism) โดยเลือกสรรหลักการที่ดีของหลายทฤษฎีที่พอจะ
ประมวลเข้าด้วยกันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน มาใช้เป็นแนวการจัดการศึกษา วิธีนี้เป็นวิธีเดียวกันกับการเลือก
อัญมณีหลาย ๆ ชนิดมาประดับหัวแหวน ถ้าเลือกให้ดี จัดให้ผสมกลมกลืนก็จะเกิดความสวยงาม”

       การจัดการศึกษาในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เป็นการจัดแบบผสมผสานทฤษฎีต่าง ๆ บางยุคเน้น
ด้านสารัตถวาท บางสมัยก็พยายามจัดโดยเน้นพิพัฒนวาท แต่ก็มีทฤษฎีต่าง ๆ ผสมผสานกันไป

       การจัดการศึกษาตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยึดหลักว่า ผู้เรียน
ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนส�ำคัญที่สุด ดังน้ันจึงควรพิจารณาว่า การ
ประยุกต์ทฤษฎีการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษาไทยควรจะมีลักษณะอย่างไร

       ทฤษฎีการศึกษาท่ีมีลักษณะท่ีเน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญซึ่งมักจะกล่าวถึงกันมาก คือ พิพัฒนวาท โดย
มีจอห์น ดิวอี เป็นนักคิดที่ได้เผยแพร่ทฤษฎีน้ีอย่างกว้างขวาง ต่อมาได้มีทฤษฎีการศึกษาอีกหลายทฤษฎีที่
ได้รับความสนใจอย่างมากในระยะหลัง ส�ำหรับในประเทศไทย ได้มีความพยายามในการประยุกต์ใช้ทฤษฎี
การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง 4 แนวทาง คือ การศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสม์
และคอนสตรัคชันนิสม์ การศึกษาตามแนวนีโอฮิวแมนนิสต์ การศึกษาแนววอลดอร์ฟ และการศึกษาตาม
แนวผสมผสาน ดังต่อไปน้ี

1. 	การศกึ ษาตามแนวคอนสตรัคตวิ สิ ม์และคอนสตรคั ชนั นิสม์

       ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ (Constructivism) เป็นทฤษฎีเก่ียวกับการสร้างความรู้ ส่วน
คอนสตรัคชันนิสม์ (Constructionism) มีรากฐานมาจากคอนสตรัคติวิสม์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

       1.1		คอนสตรคั ตวิ สิ ม์ (Constructivism) ทฤษฎนี ใ้ี นภาษาไทยมผี เู้ รยี กตา่ ง ๆ กนั เชน่ สรา้ งสรรคน์ ยิ ม
(อัครพงษ์ สัจจวาทิต, 2546: 9) การสร้างความรู้ และการสร้างองค์ความรู้ เป็นต้น คอนสตรัคติวิสม์เป็น
ทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้และการเรียนรู้ วรรณทิพา รอดแรงค้า (2540: 1) ได้ประมวลแนวคิดของนักการศึกษา
ต่างประเทศไว้ว่าทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากปรัชญา จิตวิทยา และการศึกษาเก่ียวกับการสื่อความหมายและ
การควบคุมกระบวนการสื่อความหมายในตัวคน ทฤษฎีของความรู้นี้อ้างถึงหลักการ 2 ข้อ คือ (1) ความรู้ไม่
ได้เกิดจากการรับรู้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างขึ้นโดยบุคคลท่ีมีความรู้ความเข้าใจ (2) หน้าที่ของการ
รับรู้ คือ การปรับตัวและการประมวลประสบการณ์ทั้งหมด (von Glasersfeld, 1991)
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51