Page 49 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 49

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-39

       ผู้เรียนตามแนวทางนี้จะค้นพบความรู้ด้วยตนเองจากการเป็นผู้ลงมือปฏิบัติและมีปฏิสัมพันธ์กัน
เรียนรู้จากการท�ำโครงงานที่ตนสนใจโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ผู้สอนเปล่ียนบทบาทจาก
การสอนหน้าห้องมาเป็นการสอนรอบห้องในลักษณะตัวต่อตัวกับผู้ต้องการค�ำแนะน�ำหรือความช่วยเหลือ ใน
ขณะที่ผู้เรียนคนอ่ืน ๆ ท�ำโครงงานของตนหรือมีบทบาทเป็นผู้สอนคนอ่ืน ๆ บทบาทของผู้เรียนจึงเปลี่ยนจาก
การเป็นผู้รอรับมาเป็นผู้คิด ผู้สร้าง ผู้อธิบาย และเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้อย่างไร (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์, 2542:
12-13)

       ในประเทศไทยได้เริ่มน�ำทฤษฎีคอนสตรัคชันนิสม์มาใช้ด้วยการริเร่ิมของมูลนิธิศึกษาพัฒน์ท่ีได้ท�ำ
โครงการ Lighthouse ต้ังแต่ พ.ศ. 2539 โดยเพเพอร์ตและคณะเป็นที่ปรึกษา มีการท�ำโครงการทดลอง
น�ำร่องและการอบรมครูในช่วง พ.ศ. 2540-2541 ทั้งในโรงเรียนสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่ง
ชาติ กรมการศึกษานอกโรงเรียน และโรงเรียนที่สนใจหลายแห่ง เช่น วชิราวุธวิทยาลัย ได้น�ำวิธีการน้ีไปใช้
ใหผ้ ้เู รียนสร้างสรรคง์ านและสรา้ งความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งสมั พนั ธ์กับกระบวนการ “เพลิน” (Plearn) หรอื Play
+ Learn ท่ีเน้นทางส่วนกลางของการเล่นและการเรียนท่ีเรียกว่า “วิถีวชิราวุธ” (ชัยอนันต์ สมุทรวณิช 2541:
372)

       โครงการทดลองตามแนวคอนสตรัคชันนิสม์ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง
เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและสถาบันราชภัฏหลายแห่งที่จัดตั้ง Constructionism
Lab ให้การอบรมนักศึกษาและครู องค์ประกอบส�ำคัญที่ท�ำให้โครงการประสบความส�ำเร็จ คือ การคัดเลือก
และพัฒนาครูให้มีความเข้าใจวิธีคิดของผู้เรียน มีเมตตา เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนบทบาท
จากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนให้ผู้เรียนส�ำรวจ ทดลอง ค้นคว้าเพ่ือสร้างความรู้ด้วยตนเอง
(สุชิน เพชรักษ์, 2544: 120-192)

2. 	การศกึ ษาตามแนวนีโอฮวิ แมนนิสต์

       นีโอฮิวแมนนิสต์ (Neo-humanist) เป็นแนวคิดของนักปราชญ์ชาวอินเดียช่ือ พี อาร์ ซาร์การ์ (P.R.
Sarkar) ซาร์การ์ได้น�ำแนวคิดของตะวันตกและตะวันออกมาผสมผสานกัน และก่อตั้งแนวคิดมนุษยนิยม
แนวใหม่หรือนีโอฮิวแมนนิสข้ึน ซาร์การ์มองมนุษย์ในแนวทางเดียวกับมาสโลว์ (Maslow) และโรเจอร์
(Rogers) ซ่ึงเป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม กล่าวคือ มนุษย์มีศักยภาพแฝงเร้นที่ย่ิงใหญ่ซ่อนอยู่ในตัวด้วย
กันทุกคน พ้ืนฐานจิตใจมนุษย์มีความดีงาม มีคุณค่า ใฝ่รู้ มีความต้องการจากภายในท่ีจะพัฒนาตนเอง การ
ศึกษาจึงมีหน้าที่ท่ีจะต้องช่วยพัฒนาศักยภาพแฝงเร้นของแต่ละคนออกมาให้ได้สูงท่ีสุด

       ซารก์ ารไ์ ด้อธบิ ายโครงสรา้ งทางจิตไวว้ ่าประกอบด้วย 3 สว่ น ดังน้ี (เกียรติวรรณ อมาตยกลุ ม.ป.ป.:
14)

            1) 	จิตส�ำนึก ประกอบด้วยประสาทสัมผัสท้ังห้ามีหน้าท่ี รับรู้ นึกคิด ส่ังการ
            2) 	จิตใต้ส�ำนึก มีหน้าท่ีบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ท่ีผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสท้ังห้า
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54