Page 51 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 51

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-41

       สถานศึกษาในประเทศไทยมีจัดการศึกษาตามแนวทางของนีโอฮิวแมนนิส คือ โรงเรียนอมาตยกุล
การจัดการศึกษามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สมบูรณ์ในทุกด้าน ผู้เรียนได้รับความอบอุ่นจากการกอด สัมผัสของครู
ไดท้ ำ� กจิ กรรม เชน่ ฟงั นทิ าน เลน่ โยคะ แอโรบกิ วา่ ยนำ้�  เตน้ รำ�  ยมิ นาสตกิ เปดิ เพลงฝกึ สมาธิ และทำ� กจิ กรรม
ฝึกประสาทสัมผัสปลายเท้าและใช้มือ ครูจัดกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนม่ันใจในตนเอง ครูชมเชยผู้เรียน ครูจะ
ให้เด็กท�ำอะไร ครูต้องท�ำก่อน เช่น จะให้เด็กรับประทานผัก ครูต้องท�ำก่อน หรือจะให้เด็กพูดเพราะ ครูก็
ต้องพูดก่อน การจัดการศึกษาของโรงเรียนน้ีนับว่าสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาท่ีให้ผู้เรียนเป็น
คนดี เก่ง และมีความสุข

3. 	การศึกษาตามแนววอลดอรฟ์

       การศึกษาตามแนววอลดอร์ฟ (Woldorf Education) ริเร่มิ ขึ้นโดยสไตเนอร์ (Rudolf Steiner) ตาม
แนวของมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ท่ีเขาพัฒนาข้ึน มนุษยปรัชญาเป็นศาสตร์ทางจิตวิญญาณท่ีมุ่ง
แสวงหาความจริงจากการรับรู้ของท้ังกายและจิตท้ังที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม

       แนวคิดส�ำคัญเกี่ยวกับมนุษย์ คือ มนุษย์มีชีวิตอยู่ใน 3 โลก คือ โลกแห่งวัตถุ โลกแห่งความรู้สึก
และโลกแห่งจิตวิญญาณ โดยผ่านรูปกาย ความรู้สึก และจิตวิญญาณ โดยอธิบายว่ามนุษย์น้ันไม่ใช่มีเพียง
กายเทา่ นนั้ แตย่ งั มจี ติ วญิ ญาณทม่ี วี วิ ฒั นาการไปพรอ้ มกนั อยา่ งประสานกลมกลนื ภายใตเ้ งอ่ื นไขแหง่ จกั รวาล
ทง้ั น้ี จติ วญิ ญาณจะคอ่ ย ๆ พฒั นาขนึ้ ภายในกายและกอ่ รปู ประสานขน้ึ ทลี ะนอ้ ย จนกลายเปน็ มนษุ ยท์ สี่ มบรู ณ์
สไตเนอร์ได้แบ่งพัฒนาการตลอดชีวิตมนุษย์ไว้ช่วงละ 7 ปี ประสบการณ์ที่ท�ำให้คนได้รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ
ในแต่ละช่วงวัยจะเป็นพ้ืนฐานของพัฒนาการของช่วงวัยที่สูงข้ึน ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะ 3 ช่วงแรก ซึ่งเป็น
ช่วงท่ีคนส่วนใหญ่อยู่ในระบบการศึกษา คือ ต้ังแต่แรกเกิดถึง 21 ปี ซึ่งมีลักษณะส�ำคัญดังนี้ (บุษบง
ตันติวงศ์, 2542: 27 อ้างถึงใน พัชรี ผลโยธิน, 2548: 4-27)

       1) 	ช่วงอายุ 0-7 ปี เป็นช่วงของการพัฒนาระบบย่อยอาหารและการเจริญเติบโตของแขนขา พัฒนา
ความมุ่งม่ันตั้งใจ ส่ิงส�ำคัญต่อการเรียนรู้ คือ ความประทับใจในผู้ท่ีเป็นต้นแบบ ในช่วงน้ีจะต้องให้เรียนรู้ว่า
โลกน้ีดี

       2) 	ช่วงอายุ 7-14 ปี เป็นการพัฒนาระบบการหายใจและการเต้นของหัวใจเพื่อสร้างพื้นอารมณ์ ส่ิง
ส�ำคัญต่อการเรียนรู้ คือ ความรักในผู้น�ำและจ�ำเป็นต้องเรียนรู้ว่าโลกน้ีงดงาม

       3) 	ช่วงอายุ 14-21 ปี เป็นช่วงของการพัฒนาระบบประสาทเพ่ือสร้างการคิดเหตุผล ส่ิงส�ำคัญต่อ
การเรียนรู้ คือ ความศรัทธาในความถูกต้องของอุดมคติ ในช่วงนี้ผู้เรียนจ�ำเป็นต้องเรียนรู้ว่าโลกน้ีเป็นจริง

       ในที่น้ีจะยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์ตามแนววอลดอร์ฟในระดับปฐมวัย ในช่วงวัยแรกเกิดถึง
7 ปี เด็กควรได้ประสบการณ์ท่ีท�ำให้เกิดความรู้สึกจากการสัมผัส ความรู้สึกแห่งชีวิต ความรู้สึกจากการ
เคล่ือนไหว และความรู้สึกสมดุลของร่างกาย ซึ่งจะน�ำไปสู่การพัฒนาความมุ่งม่ันตั้งใจซ่ึงเป็นพัฒนาการ
พื้นฐานของเด็กปฐมวัย

       การจัดประสบการณ์ตามแนววอลดอร์ฟมีจุดมุ่งหมาย เน้ือหาสาระ กระบวนการ กิจกรรมประจ�ำวัน
การจัดบรรยากาศ การประเมินผล และบทบาทครู ดังต่อไปนี้ (พัชรี ผลโยธิน, 2548: 4-27 ถึง 4-32)
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56