Page 47 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 47

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-37

       คอนสตรัคติวิสม์มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) ท่ีสรุป
ไดว้ ่า โครงสรา้ งทางสตปิ ัญญา (Schema) ของบคุ คลมกี ารพฒั นาผา่ นทางกระบวนการดดู ซมึ หรอื ซึมซบั และ
กระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญาเพ่ือให้บุคคลอยู่ในสภาวะสมดุล เพียเจต์ เชื่อว่าคนทุกคนจะมี
พฒั นาการไปตามลำ� ดบั ขน้ั จากการมปี ฏสิ มั พนั ธแ์ ละประสบการณก์ บั สง่ิ แวดลอ้ มและสงั คม คนเราสรา้ งความรู้
จากการมสี ว่ นรว่ มในลกั ษณะตน่ื ตวั ซง่ึ หมายความวา่ ความรขู้ องคนถกู สรา้ งขนึ้ จากปฏสิ มั พนั ธ์ (interaction)
ท่ีก�ำลังดำ� เนินไประหวา่ งส่ิงแวดลอ้ มรอบตวั เรากับความเขา้ ใจของเราที่มตี ่อโลก เพยี เจตม์ คี วามเหน็ ว่าแม้โลก
น้ีจะมีอยู่จริงแต่ความหมายของส่ิงต่าง ๆ มิได้มีอยู่ในตัวของมันเอง ส่ิงต่าง ๆ มีความหมายข้ึนมาจากการคิด
ของคนที่รับรู้สิ่งน้ัน ๆ ส่ิงต่าง ๆ ในโลกจึงไม่มีความหมายท่ีถูกต้องหรือเป็นจริงท่ีสุด แต่ข้ึนกับการให้ความ
หมายของคนในโลก ดังน้ัน ทฤษฎีน้ีจึงให้ความส�ำคัญแก่กระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความ
หมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่าง ๆ และถือว่าสมองเป็นเครื่องมือส�ำคัญท่ีบุคคลใช้ใน
การแปลความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในโลก การแปลความหมายของแต่ละบุคคลจะขึ้นกับการรับรู้
ประสบการณ์ ความเชื่อ ความต้องการ ความสนใจ และภูมิหลังของแต่ละบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกัน
ดังนั้น การสร้างความหมายของข้อมูลความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ จึงเป็นเร่ืองเฉพาะคนที่บุคคลจะต้อง
ใช้กระบวนการทางสติปัญญาในการจัดกระท�ำ มิใช่เป็นเพียงการรับข้อมูลเท่านั้น (ทิศนา แขมมณี และคณะ,
2545; อ้างถึงใน พัชรี ผลโยธิน และคณะ, 2549: 10)

       กระบวนการท่ีท�ำให้คนเกิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองเริ่มต้นจากความสนใจ การขยายความสนใจ
ไปจนถึงการแสวงหาความรู้และพัฒนาเป็นความรู้ประเภทต่าง ๆ เพียเจต์ได้แบ่งความรู้เป็น 3 ประเภท ดังน้ี
(อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, ม.ป.ป. อ้างถึงใน พัชรี ผลโยธิน, 2549: 11-12)

            1) 	ความรู้ทางกายภาพ เป็นความรู้ท่ีเกิดจากการมีประสบการณ์ในการมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ
ต่าง ๆ รอบตัวในชีวิตประจ�ำวัน

            2) 	ความรู้ทางตรรกะและคณิตศาสตร์ เป็นความรู้ที่ได้ด้วยความเข้าใจของตนเองจาก
ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อวัตถุต่าง ๆ แม้มิได้อยู่ตรงหน้า

            3) 	ความรู้ทางจริยธรรมของสังคม เป็นความรู้ท่ีได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ
       กระบวนการสร้างความรู้ที่เพียเจต์เสนอไว้เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพ
แวดล้อม การท�ำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะต้องให้ผู้เรียนได้อยู่ในสถานการณ์ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้
เป็นผู้คิดเองหรือทดลองท�ำเองว่าจะเกิดอะไรข้ึน หรือได้เป็นผู้จัดกระท�ำกับส่ิงน้ัน มีข้อสงสัยเกิดข้ึน ท�ำการ
ค้นคว้าหาค�ำตอบด้วยตนเอง เปรียบเทียบผลของตนเองกับของผู้อ่ืน เป็นต้น แนวคิดตามทฤษฎีของเพียเจต์
ท�ำให้ได้จุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ส�ำคัญว่า การศึกษาไม่ใช่กระบวนการของการเพ่ิมปริมาณข้อมูล แต่
เป็นการช่วยผู้เรียนให้ค้นพบโครงสร้างความรู้ความคิดจากข้อมูลท่ีได้รับน้ัน (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์, 2542: 7)
       ในการน�ำทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน จิราภรณ์ ศิริทวี (2540: 5) ได้
สรุปลักษณะการเรียนไว้ดังนี้
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52