Page 48 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 48

1-38 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

            1)	 นักเรียนเป็นเจ้าของความคิดมากกว่าเป็นผู้รับสารหรือซึมซับข้อมูล
            2)	 การส่ือสารของครเู ปน็ ในลักษณะการกระต้นุ ให้นักเรียนคดิ โดยจะไมบ่ อกหรอื ตอบค�ำถาม
นักเรียนตรง ๆ นักเรียนต้องเรียนรู้วิธีการแปลความหมายสิ่งท่ีครูพูดเพื่อน�ำมาใช้ในการหาค�ำตอบที่นักเรียน
ต้องการ
            3) 	นักเรียนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ
            4) 	ส่ิงท่ีนักเรียนเข้าใจเป็นส่ิงท่ีนักเรียนสร้างขึ้นซ่ึงไม่ใช่การลอกเลียนแบบแนวคิดของครู
            5) 	ส่ิงที่เรียนและวิธีเรียนมีผลกระทบจากบริบทของสังคมซึ่งการเรียนรู้เกิดขึ้นรวมถึงบริบท
ของห้องเรียน
            6) 	บทบาทของครูคือผู้ช้ีแนะ/ผู้จัดการ ไม่ใช่ผู้ช้ีน�ำ
       จากแนวคิดของทฤษฎคี อนสตรัคตวิ สิ มไ์ ด้มีนกั การศกึ ษาน�ำไปพัฒนาการเรียนการสอนโดยเนน้ การ
ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง คอนสตรัคชันนิสม์ก็เป็นแนวทางหน่ึงซ่ึงมีรากฐานจากคอนสตรัคติวิสม์
       1.2 	คอนสตรัคชันนิสม์ (Constructionism) เป็นทฤษฎีท่ีเน้นการสร้างความรู้โดยผู้เรียน ซ่ึงมี
รากฐานมาจากคอนสตรัคชันนิสม์ ผู้ท่ีพัฒนาทฤษฎีน้ี คือ เพเพอร์ต (Seymour Papert) ซึ่งเคยได้ร่วมงาน
กับเพียเจต์อยู่ระยะหน่ึง ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้ให้ค�ำภาษาไทยว่า วิษณุกรรมนิยม โดยได้สรุปแนวคิดของ
เพเพอร์ตไว้ดังนี้ (ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 2541: 392)
       “การเรยี นรทู้ ด่ี กี วา่ จะไมม่ าจากการหาทางทด่ี กี วา่ ของครใู นการสอน แตจ่ ากการใหผ้ เู้ รยี นไดม้ โี อกาส
ที่ดีกว่าในการสร้าง ด้วยเหตุนี้แนวคิดนี้จึงเรียกว่า วิษณุกรรมนิยม หรือ Constructionism (เหตุที่เรียกเช่น
น้ีก็เพราะพระวิษณุเป็นผู้สร้าง การสร้างเป็นกิจกรรมของพระวิษณุ)”
       บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ (2542: 8-9) ได้อธิบายไว้ว่าคอนสตรัคชันนิสม์เป็นการให้การศึกษาท่ีเช่ือว่า
การเรียนรู้เกิดข้ึนได้ดีเม่ือผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างผลิตผลที่มีความหมายแก่เด็ก เช่น ก่อปราสาททราย
แต่งเร่ือง ประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไก แต่งเพลง สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น คอนสตรัคชันนิสม์จึง
เกย่ี วขอ้ งกบั การสรา้ ง 2 อยา่ ง กลา่ วคอื เมอื่ ไดส้ รา้ งบางสงิ่ บางอยา่ งออกมาเปน็ ผลติ ผล ผเู้ รยี นจะสรา้ งความรู้
ด้วย ความรู้ใหม่นี้จะช่วยให้ผู้เรียนน�ำไปสร้างส่ิงต่าง ๆ ท่ีมีความซับซ้อนมากขึ้น ท�ำให้เกิดความรู้เพิ่มมากขึ้น
ไปด้วย
       หลักส�ำคัญในการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชันนิสม์ที่เพเพอร์ตเสนอไว้ประกอบด้วย (1) การ
แก้ปัญหาด้วยวิธีส�ำรวจทดลองด้วยตนเอง (2) การเชื่อมโยงส่ิงใหม่เข้ากับส่ิงท่ีเรียนรู้มาก่อนแล้ว และ (3)
การน�ำส่ิงใหม่ไปใช้ด้วยตนเอง เช่น ใช้สร้างส่ิงใหม่ ๆ ต่อไปอีก (สุชิน เพชรักษ์, 2544: 13)
       เพเพอร์ตและคณะได้ออกแบบวัสดุเพื่อใช้สร้างความรู้หลายอย่าง เช่น สร้างโปรแกรมภาษา
คอมพิวเตอร์ช่ือโลโก (Logo) เพื่อให้เด็กใช้คณิตศาสตร์ในการสร้างรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี เกม และ
สถานการณ์จ�ำลองด้วยคอมพิวเตอร์ ต่อมาได้พัฒนา “LEGO-Logo” โดยเชื่อมโยงภาษาโลโกกับเลโกซ่ึง
เป็นของเล่นท่ีประกอบด้วยชิ้นส่วนท่ีน�ำมาก่อสร้างเป็นวัตถุต่าง ๆ ท�ำให้ผู้เรียนเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
และการออกแบบ รวมทั้งเรียนรู้คณิตศาสตร์ในแนวที่แตกต่างไปจากเดิม ผู้เรียนได้อยู่ในบรรยากาศของการ
มีทางเลือก ซึ่งบรรยากาศลักษณะน้ีจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์ (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์,
2542: 10-11)
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53