Page 26 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 26

1-16 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

                                ภาพท่ี 1.2 อรสิ โตเติล (Aristotle)

ท่มี า: 	http://catfoundations.com/?p=829

       อริสโตเติลมีแนวคิดต่างจากเพลโต คือ การใคร่ครวญหาเหตุผลด้วยจิตใจอย่างเดียวไม่เพียงพอ
จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามธรรมชาติด้วย เป็นการมองโลกด้านวัตถุ และเป็นการเร่ิมต้นวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ที่หาความรู้จากส่ิงต่าง ๆ ท่ีอยู่รอบตัวคน บางแห่งเรียกปรัชญานี้ว่า ปรัชญาสาขาวัตถุนิยม
(ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2552 ) หรือปรัชญาสาขาสัจนิยม (วิชัย ตันศิริ, 2550)

       ปรชั ญาสาขาประจกั ษ์นิยมนี้มคี วามเชือ่ วา่ ส่ิงที่เปน็ ความรู้สึกหรือการรบั รเู้ กดิ ขึน้ นอกเหนือหรือเป็น
อิสระจากจิตใจ มนุษย์เรียนรู้ผ่านทางความรู้สึกและประสบการณ์ ประสบการณ์ตรงจะท�ำให้มนุษย์ได้เรียน
รู้เก่ียวกับส่ิงต่าง ๆ ปรัชญานี้เช่ือว่า ความรู้เป็นส่ิงที่เกิดข้ึนต่างหากจากการรู้ของมนุษย์ บทบาทของการศึกษา
คือ การสอนนักเรียนเกี่ยวกับโลกที่เขาอยู่ กระบวนการศึกษาจะช่วยฝึกฝนร่างกาย จิตใจ ความคิด และ
อปุ นสิ ยั ของคนเพอื่ ใหเ้ ปน็ พลเมอื งดี เปน็ การเตรยี มบคุ คลใหร้ จู้ กั แสวงหาความสขุ ดว้ ยวธิ กี ารทถี่ กู ตอ้ ง ความ
มุ่งหมายของการศึกษา คือ การมุ่งให้ทุกคนมีคุณงามความดีและมีความสุข คุณธรรมและความสุขเป็น
อุดมการณ์ของการศึกษา สรุปได้ว่า ปรัชญาการศึกษาประจักษ์นิยม มีความเช่ือในโลกทางด้านวัตถุและ
กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติเป็นหลักในการแสวงหาความรู้ความจริง

       การจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาประจักษ์นิยม มีลักษณะส�ำคัญดังน้ี
       2.1 	โรงเรยี น ปรัชญาสาขาประจักษ์นิยม มีความเชื่อว่าโลกทางด้านวัตถุและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ
เป็นหลักในการแสวงหาความรู้ความจริง ดังนั้น โรงเรียนจึงต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และคุ้นเคยกับสิ่งท้ัง
หลายท่ีมีอยู่ เพ่ือให้ผู้เรียนได้เห็นของจริงตามธรรมชาติที่แวดล้อม โรงเรียนต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ดังกล่าวอย่างตอ่ เน่อื งและเป็นระบบ โรงเรยี นจะตอ้ งเสริมสร้างสิง่ แวดล้อมท่สี ง่ เสรมิ การเรยี นรู้ความจริงตาม
ธรรมชาติโดยยึดกฎธรรมชาติเป็นหลัก
       2.2 	หลักสูตร เน้นเน้ือหาสาระเกี่ยวกับโลกทางกายภาพ และส่งเสริมผู้เรียนให้ศึกษาเกี่ยวกับ
ธรรมชาติ วิชาท่ีว่าด้วยชีวภาพและธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ ธรณีวิทยา เคมี ฟิสิกส์
ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยเน้นศิลปะการค�ำนวณเป็นเคร่ืองมือส�ำคัญในการวิเคราะห์ธรรมชาติ และ
เน้นการพัฒนาคนให้เป็นผู้ก�ำกับกลไกของธรรมชาติ
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31