Page 15 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 15

มาตรฐานวิชาชีพครูและสมรรถนะครู 13-5

บทนำ�

       ครู ถือว่าเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อคุณภาพผู้เรียน และคุณภาพการศึกษา เน่ืองจากครูเป็นผู้จัด
ประสบการณ์ให้กับผู้เรียน เพ่ือให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและมีคุณภาพตามความต้องการ และสอดคล้องกับ
สภาพสังคมในยุคน้ัน ๆ จึงเป็นเหตุผลส�ำคัญที่ต้องมีการพัฒนาครู เพ่ือการพัฒนาการศึกษา การหลังจากการ
ปฏิรูปการศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจึงท�ำให้วิชาชีพ
ครูจัดเป็นวิชาชีพชั้นสูง ผู้ท่ีจะประกอบอาชีพครูต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู รวมทั้ง มีการก�ำหนด
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู มาตรฐานต�ำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะ นโยบายและเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ
ท่ีเกิดข้ึนก็เพื่อการยกระดับวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพช้ันสูง การก�ำหนดส่ิงต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูมี
ความเกี่ยวข้องกับบริบทของวิชาชีพครูในขณะน้ัน

       การเคล่ือนไหวที่จะผลักดันวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เร่ิมขึ้นอย่างจริงจังในช่วงเวลาหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 ในภาวะเศรษฐกิจเส่ือมโทรม ผู้ประกอบวิชาชีพครูหันไปประกอบวิชาชีพอ่ืน ใน พ.ศ.
2488 มีการตราพระราชบัญญัติครู สาระส�ำคัญของพระราชบัญญัตินี้ คือ ให้มีคุรุสภา ซ่ึงเป็นนิติบุคคลท�ำ
หน้าท่ีพัฒนาครู ให้ความเห็นเร่ืองนโยบายการศึกษา และควบคุมจรรยาบรรณและวินัยของครู ครูทุกคนต้อง
เป็นสมาชิกคุรุสภา ใน พ.ศ. 2517 คณะกรรมการวางพ้ืนฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษาได้เสนอหลักการปฏิรูป
ครูให้ครูต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่ก็เป็นนโยบายไม่บรรลุผลในทางปฏิบัติ

       การเคลอื่ นไหวเพอ่ื ยกระดบั มาตรฐานวชิ าชพี ครยู งั คงมตี อ่ ไป ใน พ.ศ. 2537 ครุ สุ ภาไดพ้ ฒั นาเกณฑ์
มาตรฐานวิชาชีพครู และได้ประสานให้เกิดการใช้เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูกับส�ำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการครูและหน่วยงานต้นสังกัดของครู และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้เกณฑ์มาตรฐานน้ี
เป็นเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากน้ี คุรุสภาได้ก�ำหนดระดับคุณภาพครู
เพ่ือเป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงานและพัฒนาครู จะได้เห็นว่า ความพยายามในการยกระดับ
มาตรฐานวิชาชีพครูเร่ิมมีผลในทางปฏิบัติมากขึ้น

       ในช่วงก่อนการปฏิรูปการศึกษา ปี 2542 สถานการณ์ของวิชาชีพครูถือว่าเป็นปัญหาเรียกว่าอยู่ใน
ภาวะวิกฤต ส่งผลต่อการจัดการศึกษามิอาจบรรลุผลตามเป้าหมายได้ มีข้อมูลจากผลการวิจัยท่ีสอดคล้อง
กันเก่ียวกับครูในขณะน้ันท่ีช้ีให้เห็นว่า ประเทศไทยประสบปัญหาเก่ียวกับวิชาชีพครู ได้แก่ (1) ปัญหา
เก่ียวกับกระบวนการผลิตครู (2) ปัญหาเก่ียวกับกระบวนการใช้ครู และ (3) ปัญหาเก่ียวกับการบริหารจัดการ
เพ่ือให้การผลิตและการใช้ครูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ 2542; ดิเรก
พรสีมา และคณะ, 2541)

       ภาวะวิกฤตดังที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแรงผลักดันประการหน่ึงท่ีท�ำให้เกิดการปฏิรูปครูและการยก
ระดับวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพช้ันสูง จนในช่วงการปฏิรูปกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองของวิชาชีพครู จากสถานการณ์
ของวิชาชีพครูในประเทศไทยและปัจจัยต่าง ๆ ที่มาประจวบกับให้การปฏิรูปครูมีผลทางปฏิบัติ ท�ำให้เชื่อมั่น
ได้ว่าวิชาชีพครูในประเทศไทยน่าจะเป็น ดังนี้
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20