Page 16 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 16
13-6 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
1. วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ได้รับการยกย่องและมีเกียรติในสังคม ดึงดูดใจคนดี คนเก่ง และ
ศรัทธาในวิชาชีพครูอย่างแท้จริงให้มาเรียนครู ครูในอนาคตต้องมีลักษณะมองกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้ มีจิตส�ำนึก
ของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถทั้งทางวิชาชีพครูและวิชาการ และเป็นตัวแบบในสังคมท่ีต่อสู้กับ
ความเห็นผิดและการกระท�ำที่ผิดในสังคมไทย
2. วชิ าชพี ครมู คี วามเปน็ เอกภาพทงั้ ในแงก่ ารผลติ การประเมนิ และการพฒั นาครู กลา่ วคอื สถาบนั
ที่ท�ำหน้าที่ผลิตครูต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและ
การฝึกประสบการณ์ โรงเรียน ศูนย์การเรียน และชุมชนเข้ามามีบทบาทในการเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์
หรือให้ข้อเสนอถึงคุณลักษณะของครูที่โรงเรียนและชุมชนคาดหวังส�ำหรับการพัฒนาครูประจ�ำการ มีการ
ร่วมมือกันระหว่างสถาบันผลิตครูและสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการก�ำหนดแนวทางพัฒนาครู
อย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่าง ๆ ท้ังในรูปการฝึกอบรม การลาศึกษาต่อ การศึกษาด้วยตนเองโดยระบบ
การศึกษาทางไกล ในส่วนของประเมินครู มุ่งประเมินผลงานทางวิชาการตามสภาพจริงในลักษณะพัฒนา
ผู้เรียนให้เกิดคุณภาพตามสภาวะปกติอย่างต่อเน่ือง จนเกิดคุณภาพที่ยั่งยืนถาวร ความคิดพ้ืนฐานท่ีส�ำคัญ
ในการประเมินผลงานทางวิชาการของครู คือ ความเช่ือเรื่องการยึดผู้เรียนเป็นส�ำคัญและความเช่ือว่าผู้เรียน
ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
3. ภาระงานของครู คือ การเรียนการสอน ครูมีเวลาเต็มท่ีในการเตรียมการเรียนการสอน ดูแล
นักเรียนอย่างทั่วถึง และท�ำการวิจัยในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน
4. ครูจะได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมสอดคล้องกับภาระงานและความเชี่ยวชาญ
เฉพาะครูดีจะได้รับการยกย่องและให้รางวัล และได้รับมอบหมายให้มีบทบาทส�ำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครู
5. ครูทุกคนจะมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นหลักประกัน
คุณภาพการศึกษา ซ่ึงส่งผลต่อการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง และเพื่อครูจะได้พัฒนา
ประเมิน ปรับปรุงตนเองอย่างต่อเน่ือง พร้อมทั้งปฏิบัติตนเป็นไปตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
จากสภาพปัญหาภาวะวิกฤตในวิชาชีพครูผนวกกับปัจจัยอ่ืน ๆ และการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ท�ำให้มีการปฏิรูปครูท้ังระบบ เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นให้เป็นวิชาชีพช้ันสูง
มีศักด์ิศรี เป็นท่ียอมรับและวางใจของสาธารณชน ตามองค์ประกอบของวิชาชีพชั้นสูงซ่ึงต้องเน้นการปฏิบัติ
งานด้วยวิถีแห่งปัญญาโดยใช้หลักวิชาการช้ันสูงหรือวิชาพิเศษ ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอมีอิสระ
ในการด�ำเนินงานเก่ียวกับการประกอบการวิชาชีพตามมาตรฐานของวิชาชีพ มีจรรยาบรรณของวิชาชีพและมี
องค์กรวิชาชพี เปน็ แหลง่ กลางในการควบคมุ พัฒนามาตรฐานและการประกอบวิชาชีพ รวมท้งั เสรมิ สร้างความ
สัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของวิชาชีพ