Page 36 - ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ และแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
P. 36
13-26 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแ ละแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
คาดค ะเนแ บบส มเหตสุ มผ ล ลกั ษณะว ฏั จกั รข ึน้ ล ง รวมท ัง้ ภ าวะเศรษฐกจิ ถ ดถอยค อื ก ารต อบส นองอ ยา่ งม ปี ระสทิ ธภิ าพ
(Efficient Response) ของผ ู้บริโภคและหน่วยธุรกิจที่ม ีต่อช ็อกผ ลิตภ าพน อกระบบท ี่เกิดข ึ้น
เมื่อร ะบบเศรษฐกิจม ีการต อบสนองอ ย่างม ีประสิทธิภาพต่อช ็อกต ่างๆ อยู่ต ลอดเวลา หน้าที่ข องร ัฐบาลและ
ธนาคารกลางจ ึงไม่ใช่ก ารแทรกแซงร ะบบเศรษฐกิจเพื่อขจัดหรือผ่อนเบาวัฏจักรธุรกิจ การแทรกแซงใดๆ ที่ผู้บริโภค
และหน่วยธุรกิจไม่ทราบล่วงหน้า จะสร้างสัญญาณส ับสนขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ทำ�ให้ก ารตัดสินใจของผู้บริโภคและ
หน่วยธุรกิจเกิดการผิดพลาดและบรรลุผลที่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลจึงควรดำ�เนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
ไม่แทรกแซงระบบเศรษฐกิจ แต่มุ่งไปที่นโยบายปรับโครงสร้างระยะยาว เช่น การเปิดเสรี การลดภาวะคอขวดใน
ตลาดผ ลผลิตและตลาดแรงงาน เป็นต้น ส่งเสริมกลไกต ลาดเสรีให้ท ำ�งานม ีป ระสิทธิภาพ ส่วนในท างน โยบายการเงิน
นักเศรษฐศาสตร์ท ีส่ นับสนุนท ฤษฎีว ัฏจักรธ ุรกิจจ ริงเห็นด ้วยก ับแ นวทางเศรษฐศาสตร์ก ารเงินน ิยม ทีใ่หธ้ นาคารก ลาง
ดำ�เนินนโยบาย “กฎการเงิน” (Monetary Rules) เช่น การเพิ่มอุปทานเงินในอัตราค งที่ เป็นต้น เพื่อสร้างเสถียรภาพ
ราคาและความแ น่นอนในร ะบบตลาด เพื่อให้ผ ู้บ ริโภคแ ละหน่วยผลิตค าดคะเนแ ละตัดสินใจได้อย่างมีป ระสิทธิภาพ
ผู้ท ี่ส นับสนุนท ฤษฎีว ัฏจักรธ ุรกิจจ ริงย ืนยันว ่า แบบจ ำ�ลองด ังก ล่าวใหค้ ำ�ทำ�นายแ นวโน้มต ัวแปรม หภาคต ่างๆ
ที่ส อดคล้องก ับต ัวแปรเชิงป ระจักษ์ในว ัฏจักรธ ุรกิจได้ด ีก ว่าแ บบจ ำ�ลองอ ื่นๆ ตลอดจ นเป็นแ บบจ ำ�ลองท ี่ย ืนอ ยู่บ นฐ าน
จุลภาค การแสวงหาอรรถประโยชน์และกำ�ไรสูงสุด ภาวะดุลยภาพต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มีจุดอ่อนของเศรษฐศาสตร์
เคนส์เซียนและการเงินนิยมที่ยังคงใช้สมมติฐานการคาดคะเนแบบมองไปข้างหลัง (Adaptive expectations
hypothesis) ซึ่งมีนัยว่า ผู้ตัดสินใจทางเศรษฐกิจกระทำ�ผิดซ ํ้าอ ดีตได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีว ัฏจักรธุรกิจจริงก็ถูกว ิพากษ์ว ิจารณ์ในห ลายประเด็น ข้อว ิจารณ์ประการห นึ่งค ือ ช็อก
ทางเทคโนโลยีส่วนใหญ่ไม่มีอิทธิพลเด่นชัดและมักจะมีขอบเขตจำ�กัดในกลุ่มอุตสาหกรรมบางสาขา จึงไม่น่าที่จะมี
อิทธิพลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งระบบ นอกจากนี้ ช็อกที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจก็ไม่ได้เกิดจากภาคการผลิต
จริงเท่านั้น แต่ย ังม ีช ็อกท ี่เกิดจากอุปสงค์มวลรวม เช่น ช็อกจากก ารล งทุนเอกชน เป็นต้น
ผู้ที่ส นับสนุนท ฤษฎีวัฏจักรธุรกิจจ ริงแย้งว ่า ช็อกผลิตภ าพในแ บบจำ�ลองแ ม้จะเกิดจากภาคก ารผลิตจริง แต่
กม็ ีผ ลล ูกโซ่ไปย ังผ ูบ้ ริโภคแ ละห น่วยผ ลิต ส่งผ ลต ่ออ ุปสงค์ม วลร วม ทำ�ให้ก ารบ ริโภค การอ อม และก ารล งทุนในร ะบบ
เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง นัยหนึ่ง ช็อกด้านอุปสงค์ม วลร วมก็มีสาเหตุมาจากช ็อกผ ลิตภาพในภาคก ารผลิตจ ริง
ข้อวิจารณ์อีกประการหนึ่งคือ เนื่องจากแบบจำ�ลองของทฤษฎีวัฏจักรธุรกิจจริงเป็นแบบจำ�ลองบนภาคการ
ผลิตจ ริง อุปทานเงินไม่มบี ทบาทในร ะบบเศรษฐกิจ แบบจ ำ�ลองว ัฏจักรธ ุรกิจจ ริงบ างแ บบไม่มแี มก้ ระทั่งต ัวแปรอ ุปทาน
เงิน ทั้งท ี่ข ้อมูลเชิงป ระจักษ์แ สดงช ัดว ่า อุปทานเงินม ีก ารเคลื่อนไหวน ำ�หน้าว ัฏจักรธ ุรกิจ คือ อุปทานเงินเพิ่มข ึ้นก ่อนท ี่
ระบบเศรษฐกิจจ ะเข้าสู่ภ าวะรุ่งเรือง และอ ุปทานเงินชะลอต ัวลงก่อนที่ร ะบบเศรษฐกิจจะเข้าส ู่ภาวะถดถอย
ผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีวัฏจักรธุรกิจจริงในระยะต่อมาจึงได้พัฒนาแบบจำ�ลองวัฏจักรธุรกิจที่รวมตัวแปร
อุปทานเงิน เพื่อให้ได้คำ�ทำ�นายแนวโน้มตัวแปรที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แนวทางที่สำ�คัญคือ การกำ�หนด
ให้ต ัวแปรอ ุปทานเงินเป็น “ตัวแปรในระบบ” (Endogenous Money) โดยม ีป ริมาณแปรเปลี่ยนไปตามก ิจกรรมท าง
เศรษฐกิจอื่น เช่น ปริมาณเงินเพิ่มหรือลดตามแผนการผลิตของหน่วยผลิต หรือเป็นตัวแปรตามของช็อกผลิตภาพ
เช่น ช็อกผ ลิตภ าพท างบ วกท ำ�ให้ห น่วยผ ลิตว างแผนท ี่จ ะเพิ่มผ ลผลิตแ ละก ารจ ้างง าน ธนาคารพ าณิชย์จ ึงข ยายส ินเชื่อ
เพิ่มขึ้นในรูปของเงินฝากบัญชีเดินสะพัด ซึ่งทำ�ให้อุปทานเงินเพิ่มขึ้น ผลก็คือ ตัวแปรอุปทานเงินมีแนวโน้มนำ�หน้า
วัฏจักรธุรกิจ แต่ก็ไม่ใช่ต้นเหตุของวัฏจักรธุรกิจ แนวทางนี้จึงตรงข้ามกับเศรษฐศาสตร์เคนส์เซียนและการเงินนิยม
ที่กำ�หนดให้อุปทานเงินเป็นตัวแปรนอกระบบ (Exogenous Money) ที่ถูกกำ�หนดโดยนโยบายการเงินของธนาคาร
กลาง และอ าจเป็นต้นเหตุของวัฏจักรธ ุรกิจได้