Page 20 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 20
13-10 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ใกล้เคียงกับชีวิตจริง จึงเป็นงานท่ีมีสถานการณ์ซับซ้อน และเป็นองค์รวมมากกว่างานปฏิบัติในกิจกรรม
การเรยี นทวั่ ไป วธิ กี ารประเมนิ สภาพจรงิ ไมม่ คี วามแตกตา่ ง จากการประเมนิ จากการปฏบิ ตั เิ พยี งแตอ่ าจมคี วาม
ยุ่งยากในการประเมินมากกว่า เน่ืองจากเป็นสถานการณ์จริง หรือต้องจัดสถานการณ์ให้ใกล้จริง แต่จะเกิด
ประโยชน์กับผู้เรียนมาก เพราะจะท�ำให้ทราบความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ว่ามีจุดเด่นและข้อบกพร่อง
ในเร่ืองใด อนั จะนำ� ไปสกู่ ารแกไ้ ขที่ตรงประเด็นทีส่ ุด
ง. การประเมนิ ดว้ ยแฟม้ สะสมงาน
การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน เป็นวิธีการประเมินท่ีช่วยส่งเสริมให้การประเมิน
ตามสภาพจรงิ มีความสมบูรณ์สะท้อนศกั ยภาพท่ีแท้จริงของผ้เู รยี นมากข้ึน โดยการให้ ผู้เรยี นได้เก็บรวบรวม
ผลงานจากการปฏิบัติจริง ท้ังในชั้นเรียนหรือในชีวิตจริงที่เก่ียวข้องกับการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
มาจดั แสดงอยา่ งเปน็ ระบบโดยมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็น ความพยายาม เจตคติ แรงจงู ใจ พฒั นาการ
และสัมฤทธิผลของการเรียนรู้ของผู้เรียน การวางแผนด�ำเนินการประเมินด้วยแฟ้มผลงานที่สมบูรณ์ จะช่วย
ผูส้ อนให้สามารถประเมินจากแฟ้มสะสมงานแทนการประเมินจากการปฏิบัติจรงิ ได้ (http://supervis-nited.
blogspot.com/2008/07/blog-post_2492.html)
2.3 การวัดและประเมินหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน มีจุดมุ่งหมายเพ่ือตรวจสอบโดยสรุปของผล
การเรียนการสอนทั้งหมดว่าเม่ือครบตามระยะเวลาท่ีก�ำหนดไว้แล้วนักเรียนมีความส�ำเร็จในการเรียนรู้ทั้งส้ิน
อย่างไร ลักษณะของการประเมินผลจึงเป็น การประเมินผลรวม (summative Evaluation) กล่าวคือ
จะเป็นการสอบวัดในลักษณะสรุปรวมทุกหน่วยการเรียนท่ีเรียนไปแล้วเพื่อตัดสินผล นอกจากนี้ยังเป็นการ
วัดและประเมินผู้เรียนเพ่ือตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมหรือคุณสมบัติตรงตามที่ได้ระบุไว้ในจุดประสงค์
หรือไม่ มีความสามารถหรือยังมีความบกพร่องในเรื่องใด ครูผู้สอนจะได้น�ำไปปรับปรุงการสอนโดยส่วนรวม
ในครั้งต่อไป การวัดและประเมินผลในระยะน้ีมักจะด�ำเนินการเม่ือสิ้นสุดการสอนในหน่ึงภาคเรียน หรือเม่ือ
จบเน้ือหารายวิชาเป็นส่วนใหญ่
กล่าวโดยสรุปแล้วการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาน้ัน ผู้สอนต้องด�ำเนินการวัดและ
ประเมินให้ถูกต้องตามหลักการของการวัดและประเมินผลโดยต้องยึดจุดประสงค์เป็นหลัก ไม่ควรใช้
เครอ่ื งมอื เพยี งอยา่ งเดยี ว เชน่ ขอ้ ทดสอบ ควรใชว้ ธิ กี ารวดั ผลวธิ อี น่ื ๆ ประกอบดว้ ย เพอื่ ใหไ้ ด้ ขอ้ มลู เพยี งพอ
ส�ำหรับการประเมินผลการเรียนและควรด�ำเนินการบ่อยครั้ง อาจด�ำเนินการท้ังก่อนเรียน ระหว่างเรียน และ
ภายหลังการเรียน เครื่องมือท่ีใช้วัดผลการเรียนของนักเรียนควรมีการปรับปรุงแก้ใขเพ่ือให้เหมาะสมย่ิงข้ึน
นกั เรยี นคนใดมขี อ้ บกพรอ่ งหรอื จดุ ออ่ น ซง่ึ ทำ� ใหไ้ มผ่ า่ นเกณฑก์ ารประเมนิ ครคู วรหาวธิ กี ารแกไ้ ขขอ้ บกพรอ่ ง
เหล่าน้ัน เช่น การสอนซ่อมเสริม ส�ำหรับการวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาษา ครูควรน�ำผลที่ได้จาก
การวัดและประเมินผลการเรียนมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการสอนของตนองให้ดีข้ึน ครูควรเตรียมหรือ
สร้างเคร่ืองมือวัดผลซึ่งอาจต้ังเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าและใช้เคร่ืองมือวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้อง
กับจุดประสงค์ ในการวัดและประเมินผล
หลังจากศึกษาเน้ือหาสาระเรื่องท่ี 13.1.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.1.1
ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนท่ี 13.1 เร่ืองท่ี 13.1.1