Page 16 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 16

13-6 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

            1.1.1	 ความเชิงเน้ือหา (content validity) หมายถึงข้อค�ำถาม หรือข้อความแต่ละข้อและ
เคร่ืองมือท้ังชุด ถามได้ตรงและครอบคลุมเนื้อหาตามที่ต้องการวัด การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของ
เคร่ืองมือวัดและประเมินผลทางภาษา สามารถจะกระท�ำได้ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา อาศัยดุลยพินิจทาง
วิชาการของผู้เช่ียวชาญทางเน้ือหาเป็นเกณฑ์โดยการตรวจสอบโครงสร้างของส่ิงท่ีต้องการวัด ตรวจสอบดูว่า
ข้อค�ำถามหรือข้อความแต่ละข้อ ถามได้ตรง ครอบคลุม ครบถ้วน หากเคร่ืองมือท่ีใช้วัดละประเมินการเรียน
การสอนมีความชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วนก็ถือว่า เครื่องมือน้ันมีความตรงตามเนื้อหา

            1.1.2	 ความตรงเชงิ โครงสรา้ ง (construct validity) เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือในการวัดและ
ประเมินผลการเรียนการสอนท่ีสามารถวัดได้ตรงตามทฤษฎี ค�ำว่าโครงสร้างจะหมายถึงองค์ประกอบของ
ส่ิงท่ีจะวัด (trait) ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ดังนั้นเม่ือสร้างเคร่ืองมือในการวัดและประเมินผลการเรียน
การสอนจึงจ�ำเป็นต้องให้มีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับกรอบแนวคิดหรือโครงสร้างทฤษฎีท่ีก�ำหนดแล้วน�ำ
เครื่องมือนั้นไปทดสอบกับผู้เรียนดังกล่าวแล้วพบว่าเป็นจริงตามทฤษฎี ก็แสดงว่าเครื่องมือนั้นก็จะมี
ความตรงตามโครงสร้าง

            1.1.3	 ความตรงเชงิ เกณฑส์ มั พนั ธ์ (criterion validity) เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง
เคร่ืองมือในการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนน้ันกับเกณฑ์ภายนอกบางอย่าง ซ่ึงเป็นสภาพความ
เป็นจริงท่ีได้จากการปฏิบัติ แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ ความเท่ียงตรงตามสภาพเกณฑ์ (concurrent
validity) เป็นความสามารถของเคร่ืองมือที่วัดได้ตรงกับสภาพความเป็นจริง และความตรงเชิงพยากรณ์
(predictive validity) เป็นความสามารถของเคร่ืองมือที่วัดได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงในอนาคตหรือ
สามารถน�ำผลการวัดไปพยากรณ์ลักษณะหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ได้

       1.2	 ความเชอื่ มัน่ (reliability) ความเชื่อมั่นเก่ียวกับเครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางจิตวิทยา และการ
ศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับความตรง และความคลาดเคลื่อนได้โดยมีลักษณะคือ เคร่ืองมือนั้น ใช้วัดแล้ว
วัดอีกได้ผลเหมือนเดิม วัดได้ตรงตามสภาพความเป็นจริง ของสิ่งท่ีต้องการวัด ตามความหมายนั้น ตรงกับ
ความถูกต้อง เป็นความคลาดเคลื่อนในการวัดของเครื่องมือวัด (Kerlinger, 1986, 404)

       1.3	 ความยาก (difficulty) คือ สัดส่วนท่ีแสดงว่าเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
นั้น ๆ มีคนท�ำถูกมากหรือน้อย ถ้ามีคนท�ำถูกมากก็เป็นข้อสอบง่าย ถ้ามีคนท�ำถูกน้อยก็เป็นข้อสอบยาก
การหาค่าความยากเปน็ วิธีตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทีเ่ กย่ี วกับสมรรถนะในดา้ นความรู้ (cognitive
domain) และเป็นแบบทดสอบในระบบอิงกลุ่ม (norm-reference test) มีลักษณะเป็นการวิเคราะห์รายข้อ
(item analysis) ไม่ใช่เป็นการวิเคราะห์ภาพรวมทั้งฉบับ (Kerlinger, 1986)

       1.4	 อำ� นาจจำ� แนก (discrimination) คือ ความสามารถของเคร่ืองมือ ในการจ�ำแนกบุคคล ออกเป็น
สองกลุ่มท่ีต่างกัน คือ กลุ่มเก่ง-กลุ่มอ่อน ในเรื่องท่ีเป็นสมรรถนะในด้านความรู้ หรือกลุ่มสูง-กลุ่มตํ่า ในเร่ือง
ท่ีเป็นความรู้สึกเช่น เจตคติ ความสนใจ การหาค่าอ�ำนาจจ�ำแนกใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดผล
ประเภทแบบทดสอบ แบบสอบถาม และแบบวัดเจตคติ

       1.5	 ความสะดวกในการใช้ (practicality) เคร่ืองมือวัดและประเมินผลการเรียนการสอนที่ดีต้อง
ใช้ได้สะดวก การจัดสอบและด�ำเนินการสอบต้องไม่ยุ่งยากซับซ้อน
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21