Page 38 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 38

15-28 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

       ในการสนับสนุนให้เกิดผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษน้ัน ริชาร์ดส์และฟาร์เรล
(Richards & Farrell, 2005) ได้แนะน�ำวิธีการท่ีผู้บริหารสถานศึกษาสามารถน�ำไปด�ำเนินการได้ ดังนี้

            1)	 วิเคราะห์ความต้องการของสถานศึกษาว่าต้องการให้มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการเรียน
การสอนภาษาอังกฤษในด้านใด โดยอาจท�ำการวิเคราะห์ความต้องการ (Needs analysis) หรือสอบถามพูด
คุยกับผู้สอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษา							

            2)	ก�ำหนดเป้าหมายว่าจะได้ประโยชน์จากการพัฒนาผู้สอนภาษาอังกฤษอย่างไรบ้าง ทั้งใน
ส่วนของสถานศึกษาและผู้ที่จะได้รับการพัฒนา						

            3)	 เลือกผู้สอนภาษาอังกฤษที่จะได้เข้ารับการพัฒนา				
            4)	ให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น อ�ำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสื่อส่ิงพิมพ์ หรือสื่อ
อินเทอร์เน็ตท่ีผู้สอนภาษาอังกฤษสามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สนับสนุนให้ไปประชุม อบรม ดูงาน หรือ
จัดให้มีการประชุมแลกเปล่ียนความคิดเห็นและประสบการณ์ในกลุ่มผู้สอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษา
            5) 	ประเมินผลการพัฒนาของผู้สอนภาษาอังกฤษท่ีได้รับการพัฒนา เช่น เรียนรู้อะไรบ้าง ได้
น�ำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษหรือไม่ และท�ำให้เกิดผลดีต่อสถานศึกษาอย่างไร
            6) 	เผยแพร่ความรู้ที่ได้รับการพัฒนา โดยเขียนรายงานเพื่อแบ่งปันความรู้ให้เพ่ือนร่วมงาน
น�ำเสนอในงานประชุมวิชาการ หรือจัดอบรมให้เพ่ือนร่วมงานท้ังในและนอกสถานศึกษา
            การด�ำเนินการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้ ต้องอาศัยงบประมาณพอประมาณ ดังนั้น การจะพัฒนา
ความเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้ก็ต้องอาศัยหน่วยงานที่รับผิดชอบนโยบายใน
ด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วย

2. 	หนว่ ยงานท่ีเกย่ี วข้อง

       หน่วยงานที่เก่ียวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยโดยตรง ได้แก่ หน่วยงาน
ภายใต้ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน (สพฐ.) คือ ส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษา
(สพป) ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และสถาบันภาษาอังกฤษ รวมท้ัง ส�ำนักงานคณะ
กรรมการการอุดมศึกษา ซ่ึงหน่วยงานท้ังหมดอยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ

       ส�ำหรับหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องเร่งด�ำเนินการให้
บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของส�ำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีแนวนโยบายดังต่อไปน้ี							

       1)	 ใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ได้แก่ The Common European
Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษของประเทศไทย								

       2) 	ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาโดยเน้น
การสื่อสาร (Communicative Language Teaching: CLT) 					

       3)	 ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีมีมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก 	
       4)	 ส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43