Page 34 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 34
15-24 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
4) พิจารณาดูว่าต้องการความช่วยเหลือจากใครหรือไม่ เช่น เพื่อนร่วมงาน ถ้าต้องการให้เพื่อน
ร่วมงานช่วย ให้พิจารณาว่าจะเลือกใครถึงเหมาะสม
5) ต้ังเป้าหมายท่ีเป็นไปได้ และก�ำหนดระยะเวลาในการพัฒนา
6) ประเมินผลเม่ือเสร็จกิจกรรมการพัฒนา
แม้จะมีทัศนคติและลักษณะนิสัยที่เอ้ือต่อการพัฒนาเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษา
องั กฤษ แตผ่ ทู้ เ่ี รยี นรดู้ ว้ ยตนเองเพยี งอยา่ งเดยี วจะไมส่ ามารถมองเหน็ ขอ้ บกพรอ่ งของตน และอาจไมส่ ามารถ
เรียนรู้ได้รอบด้าน ดังนั้น เพื่อนร่วมงานจึงเป็นอีกปัจจัยหน่ึงที่มีส่วนส�ำคัญต่อการเป็นผู้น�ำทางวิชาการ
หลังจากศึกษาเนอื้ หาสาระเร่ืองที่ 15.2.1 แล้ว โปรดปฏิบตั ิกิจกรรม 15.2.1
ในแนวการศึกษาหนว่ ยที่ 15 ตอนท่ี 15.2 เร่อื งท่ี 15.2.1
เร่ืองท่ี 15.2.2 ปจั จัยด้านเพ่อื นร่วมงาน
แม้ปัจจัยส�ำคัญในการพัฒนาตนให้เป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเกิดจาก
ความต้องการส่วนบุคคล แต่เป้าหมายดังกล่าวไม่สามารถบรรลุได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากเพ่ือน
ร่วมงานหรือผู้สอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาอ่ืน ๆ นอกจากน้ี ประสิทธิผลของการเรียนการสอนและความ
ส�ำเร็จของสถานศึกษาส่วนหน่ึงมาจากการท�ำงานร่วมกัน (collaboration) ของผู้สอนในสถาบัน (Richards
& Farrell, 2005)
ในกรณีที่ผู้สอนภาษาอังกฤษยังมีความรู้ความสามารถและทักษะในการสอนไม่เพียงพอ ผู้สอนคน
อ่ืน ๆ ในสถาบันจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี เหมือนที่ แจ็คสันและบรูกมันน์ (Jackson & Bruegmann, 2009)
ไดศ้ ึกษาและพบว่า คณุ ภาพของเพ่อื นร่วมงานมีผลต่อประสิทธภิ าพของเพอ่ื นครูและผลสัมฤทธทิ์ างการเรียน
ของผู้เรียน ถ้าเพ่ือนร่วมงานเป็นผู้ท่ีมีความรู้และประสบการณ์มาก จะสามารถส่งเสริมให้เพ่ือนครูได้พัฒนา
ตนเอง ซง่ึ จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ การเรยี นการสอน ทำ� ใหผ้ เู้ รยี นมผี ลการเรยี นทด่ี ขี น้ึ ทง้ั นี้ เพอื่ นรว่ มงานสามารถ
ช่วยเหลือกัน โดยการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำเป็นพ่ีเล้ียง (mentor) นิเทศการสอน (coaching) และสอน
ร่วมกันเป็นทีม (team teaching) และในการช่วยเหลือผู้ท่ีมีประสบการณ์น้อยกว่า ผู้สอนท่ีมีความรู้และ
ประสบการณ์มากกว่าก็สามารถสะท้อนความคิดเก่ียวกับวิธีการสอนของตนและอาจได้มุมมองใหม่ท่ีไม่เคย
คิดมาก่อน (Richards & Farrell, 2005)
แม้จะเห็นความส�ำคัญของการร่วมมือกันและช่วยเหลือกันระหว่างเพ่ือนร่วมงาน แต่ความสัมพันธ์
ดังกล่าวจะเกิดข้ึนได้ก็ต่อเม่ือเพื่อนร่วมงานมีลักษณะนิสัยท่ีเอื้อต่อการสนับสนุนความเป็นผู้น�ำทางวิชาการ
ของเพื่อนเท่าน้ัน