Page 32 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 32
15-22 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
เรอ่ื งที่ 15.2.1 ปัจจยั ด้านตนเอง
ผนู้ ำ� ทางวชิ าการในการเรยี นการสอนภาษาองั กฤษตอ้ งมที ศั นคตแิ ละลกั ษณะนสิ ยั ทเี่ ออื้ ตอ่ การพฒั นา
ตนเอง รวมท้ังต้องมีการวางแผนพัฒนาตนเองอย่างถูกทางด้วย
1. ทัศนคติ
การจะเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้น้ัน ต้องเร่ิมจากตัวเองก่อน ท่ีส�ำคัญ
ที่สุดคือ ผู้ท่ีจะพัฒนาตนเองเป็นผู้น�ำทางวิชาการได้ต้องเป็นผู้ที่เห็นคุณค่าและความส�ำคัญของความเป็นผู้น�ำ
ทางวิชาการตามท่ีได้กล่าวไว้ในเร่ืองท่ี 15.1.2 ถ้าไม่เห็นประโยชน์ของความเป็นผู้น�ำทางวิชาการ ก็จะขาด
ความกระตือรือร้น มุ่งมั่น และอดทนในการพัฒนาตนเอง
ทัศนคติอีกอย่างหน่ึงที่ผู้ท่ีจะพัฒนาตนเองให้เป็นผู้น�ำทางวิชาการในด้านการเรียนการสอนภาษา
อังกฤษต้องมีและเตือนตนเองอยู่เสมอ คือ ตนเป็นเสมือน “น้ําคร่ึงแก้ว” ซ่ึงหมายความว่า แม้สิ่งท่ีตนรู้
จะมีอยู่ประมาณหนึ่ง แต่ก็ยังเปิดกว้างทางความคิดให้กับส่ิงใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะทุกคนควรท�ำตัวให้เป็น
ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learner) เน่ืองจากว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงมีส่ิงใหม่ ๆ มากมาย
ให้เรียนรู้ได้ไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล (inter-
national language) ที่มีการจัดการเรียนการสอนในเกือบทุกประเทศในโลกนี้ ดังน้ัน ทฤษฎีการสอน
ใหม่ ๆ วิธีการสอนแบบใหม่ ๆ และงานวิจัยใหม่ ๆ เก่ียวกับการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหรือ
ภาษาที่สองจึงมีมากมายให้เรียนรู้ ติดตามและน�ำมาประยุกต์ใช้ คนที่คิดว่าตนเป็น “นํ้าเต็มแก้ว” จะไม่มีทาง
เป็นผู้น�ำทางวิชาการได้เลย เพราะจะมีความรู้ท่ีล้าสมัย และมีใจที่คับแคบ ไม่สามารถเปิดใจรับสิ่งใหม่หรือ
ความแตกต่างได้
2. ลกั ษณะนสิ ัย
ในส่วนของลักษณะนิสัย ผู้น�ำทางวิชาการในด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต้องเป็นผู้ท่ีใฝ่รู้
พัฒนาตนเองตลอดเวลา ด้วยการเพ่ิมพูนความรู้ ประสบการณ์ไม่หยุดน่ิง กระตือรือร้นและอดทนในการ
พัฒนาตนเอง ฝึกคิดวิเคราะห์ พยายามหาทางแก้ไขปัญหาในการเรียนการสอนด้วยความรู้ ประสบการณ์
และเหตุผล (ผ่องพรรณ กันธิยะ, 2554) มีใจรักในวิชาชีพซึ่งจะเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้น�ำ
ทางวิชาการ (ศรัณยู ศิริเจริญธรรม และพรสวัสด์ิ ศิรศาตนันท์, 2557) เพราะความรักและเห็นคุณค่าของ
วิชาชีพจะท�ำให้ไม่เกิดความรู้สึกท้อแท้หรือหมดไฟ แต่มีความมุ่งม่ันที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการ
สอนเม่ือมีปัญหา เช่น ถ้าผู้เรียนไม่มีความสนใจหรือขาดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ ผู้น�ำทางวิชาการ
ทางด้านภาษาอังกฤษต้องพยายามศึกษาหาสาเหตุของปัญหา และหาทางแก้ไขโดยการท�ำวิจัยหรือสร้าง
นวัตกรรมท่ีน่าสนใจเพื่อปรับเปล่ียนทัศนคติและพัฒนาผลสัมฤทธ์ิของการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียน