Page 24 - ความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักนิเทศศาสตร์
P. 24

2-14 ความร้ทู างสงั คมศาสตร์และเทคโนโลยสี �ำ หรับนกั นเิ ทศศาสตร์
       6.	 มีวิธีศึกษาเป็นลักษณะเฉพาะของตน การศึกษาทั้งลักษณะทางกายภาพและวัฒนธรรมของ

มนษุ ย์ ทำ� ใหม้ านษุ ยวิทยาเป็นวชิ าทมี่ เี นอ้ื หาสาระท่ีกว้างขวางในบรรดาหมวดวิชาทางสังคมศาสตร์ วิชา
มานุษยวิทยามีระเบียบวิธีวิจัยที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเองเรียกว่า “งานวิจัยสนามทางมานุษยวิทยา”
(Anthropological field work) ท�ำให้แตกต่างไปจากสังคมศาสตร์สาขาอื่นๆ เทคนิคที่ส�ำคัญของงาน
วิจัยสนามทางมานุษยวิทยา คือ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (participant observation) คือ การท่ี
นกั มานษุ ยวทิ ยาเขา้ ไปอยอู่ าศยั ในชมุ ชนทตี่ วั เองเลอื กศกึ ษาเปน็ เวลาไมน่ อ้ ยกวา่ 1 ปี เพอื่ เรยี นรวู้ ฒั นธรรม
ของชาวบ้านในแง่มุมต่างๆ โดยตอ้ งทำ� ตวั ให้ชาวบา้ นเชื่อถือด้วยการทำ� ตัวให้เหมอื นชาวบ้านให้มากทสี่ ดุ
พยายามเรียนรู้ภาษาท้องถิ่น เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับชาวบ้าน การเก็บข้อมูลโดยวิธีน้ี จะท�ำให้
นักมานุษยวิทยาได้ข้อมูลปฐมภูมิที่เชื่อถือได้และมีรายละเอียดต่างๆ มากกว่าการใช้ระเบียบวิธีวิจัย
แบบอืน่ ๆ ของสังคมศาสตร์

       เมอื่ วชิ ามานุษยวิทยามีเป้าหมายหลกั ตามประเด็นต่างๆ ทีก่ ลา่ วไปแลว้ ขา้ งตน้ เพอื่ ใหค้ รอบคลมุ
ส�ำหรบั การศกึ ษาพฤติกรรมของมนษุ ยใ์ นทุกแง่มมุ ของชีวิตในสังคม ในทุกกาลเวลาและทกุ สถานทใ่ี นโลก
จงึ มกี ารแบง่ มานษุ ยวทิ ยาออกเปน็ 2 สาขาหลกั คอื มานษุ ยวทิ ยากายภาพ และ มานษุ ยวทิ ยาวฒั นธรรม
ดงั นี้

       1.	 มานุษยวิทยากายภาพ (Physical Anthropology) เปน็ ศาสตรท์ ศี่ กึ ษาเกย่ี วกบั มนษุ ยใ์ นฐานะ
เป็นส่ิงมีชีวิต มีวิวัฒนาการทางกายภาพมาโดยลําดับ ศึกษาปัจจุบันที่ทําให้มนุษย์มีความคล้ายคลึงและ
แตกต่างกันจากอดีตมาจนถึงปจั จุบัน อาจแบง่ กลุม่ ของการศกึ ษาได้ดงั น้ี

            - ศกึ ษาการปรบั ตวั ของคนในสว่ นตา่ งๆ ของโลกใหเ้ ขา้ กบั สภาพทางกายภาพ (ธรรมชาต)ิ
และสภาพสังคม (การรวมกันอย่)ู อยา่ งไรบ้าง

            - ศกึ ษาเร่อื งเช้ือชาติ
            - ศึกษาความสัมพนั ธร์ ะหว่างลกั ษณะทางชีวภาพและกจิ กรรมทางวฒั นธรรมของมนุษย์
       2.	 มานุษยวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Anthropology) ศึกษาการเรียนรแู้ ละผลจากการเรยี นรู้
ของมนษุ ยข์ องสังคมตา่ งๆ ทวั่ โลก ซ่ึงแบง่ ออกเปน็ สาขาย่อยๆ คอื
            2.1 โบราณคดี (Archaeology) เป็นการศกึ ษาวฒั นธรรมทสี่ ญู สิ้นไปจากสงั คมมนษุ ยใ์ นยุค
ปจั จุบัน จากหลักฐานต่างๆ ที่เหลืออยู่ เช่น เคร่อื งมือ เครือ่ งใช้ ไดแ้ ก่ ขวานหิน ภาชนะดนิ เผา งา เขา
สตั ว์ กระดูกคน และกระดกู สตั ว์ สถานทอ่ี ยอู่ าศัยในเพิงถำ�้  หินผาท่ีเปน็ ท่ีอย่ขู องมนษุ ย์ สงิ่ ก่อสร้างก่อน
ประวตั ศิ าสตร์ ศลิ ปะประเภทตา่ งๆ เชน่ ภาพเขยี นสี รปู แกะสลัก
            2.2 ชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography) เป็นรากฐานของวชิ ามานษุ ยวิทยาวฒั นธรรม เป็น
วิชาท่ีศึกษาถึงชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมท่ีเฉพาะของสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อให้รู้จัก
วฒั นธรรมนั้นๆ อยา่ งลึกซึ้ง
            2.3 มานุษยวิทยาสังคม (Social Anthropology) เน้นศกึ ษา โครงสรา้ งทางสงั คมและการ
หนา้ ทท่ี ําให้เกดิ แนวคิดทฤษฎที สี่ ําคญั คอื ทฤษฎีโครงสรา้ งและหน้าท่ี การเนน้ โครงสร้างทางสงั คม หรือ
สว่ นทเ่ี ปน็ ความสมั พนั ธข์ องคนในแงม่ มุ ตา่ งๆ แทนการศกึ ษา “วฒั นธรรม” ซงึ่ กวา้ งเกนิ ไปยากทจี่ ะศกึ ษาได้
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29