Page 20 - ความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักนิเทศศาสตร์
P. 20

2-10 ความรทู้ างสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีส�ำ หรับนกั นเิ ทศศาสตร์
ความเป็นจรงิ ของสงั คม และศกึ ษาความสมั พนั ธ์ ความสลับซบั ซอ้ นและกลไกการท�ำงานตา่ งๆ ขององค์
ประกอบในสังคม ซ่ึงสังคมศาสตร์ยังได้แยกแขนงออกไปอีกมากมาย อาทิ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา
รฐั ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จิตวทิ ยา นิเทศศาสตร์ ฯลฯ (สุริชยั หวนั แก้ว, 2548)

       ท้ังสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาต่างพัฒนาการมาจากวิชาสังคมศาสตร์ โดยสังคมวิทยาและ
มานุษยวิทยาเริ่มมาจากการท่ีมนุษย์อยากรู้อยากเห็นเก่ียวกับประวัติความเป็นมา แหล่งก�ำเนิดของตน
และวฒั นธรรมประเพณี ความเชอื่ คา่ นยิ ม ทีแ่ ตกต่างกันไปในแตล่ ะสังคม นอกจากน้ใี นชุมชนหรอื สังคม
ตา่ งๆ มกั มเี ร่ืองราวท่เี ล่าสืบต่อกันมา บ้างเปน็ เร่อื งเรา้ ใจทปี่ รากฏอยใู่ นนิยายปรัมปรา บา้ งเก่ยี วกับแหล่ง
ก�ำเนิดและอธิบายความแตกต่างในของความเป็นมาของมนุษย์ ในอดีตการอธิบายเก่ียวกับความเป็นมา
ของมนษุ ยม์ กั ถกู ครอบง�ำดว้ ยความเชื่อทางศาสนาคริสต์ และมีการรวมเอามนุษย์ป่าในนยิ ายปรัมปรากบั
มนุษย์ปัจจุบันเข้าไว้ในประเภทเดียวกัน โดยแยกแยะจัดประเภทส่ิงท่ีมีชีวิตทั้งหมดท่ีจัดอยู่ในอาณาจักร
เดยี วกนั

       ต่อมานักปรัชญาในสมัยอารยธรรมโบราณ อย่างนักเขียนชาวกรีกบางคนได้น�ำเสนอเกี่ยวกับ
ชนกลมุ่ ตา่ งๆ ทรี่ จู้ กั กนั ในสมยั นน้ั เชน่ เฮอเดอทสั (Herdotus) ไดพ้ รรณนาและเปรยี บเทยี บในวฒั นธรรม
อยี ิปต์ เปอรเ์ ซยี และกลุ่มอืน่ ๆ กับวฒั นธรรมของชาวกรีก หรอื นกั เขยี นอยา่ ง สตราโบ (Strabo) เขยี น
พรรณนาเก่ียวกับผู้น�ำของอินเดีย ระบบวรรณะและชีวิตด้านอื่นๆ ของสังคมอินเดีย และยังมีนักเขียน
ชาวกรกี โบราณบางคนทชี่ อบเขยี นพรรณนาและเปรยี บเทยี บวฒั นธรรมของสงั คมดง้ั เดมิ กบั วฒั นธรรมของ
ตัวเอง เช่นเดียวกับที่นักปรัชญาสังคมของยุโรปในยุคต่อมาอย่าง จอห์น ล็อค (Locke) และ รุสโซ
(Rousseau)

       การทำ� ความเขา้ ใจเกย่ี วกบั ความเปน็ มาของมนษุ ยเ์ ปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของการศกึ ษาดา้ นมานษุ ยวทิ ยา
โดยชาวกรีกเชื่อตามต�ำนานว่า พระเจ้าหรือเทพเจ้าสร้างมนุษย์ข้ึนมาและแบ่งยุคสมัยต่อมาดังน้ี ยุคทอง
ยคุ เงนิ ยคุ บชู าบรรพบรุ ษุ และยุคเหลก็ แต่นกั ปรัชญาอยา่ ง เพลโต (Plato) และ อรสิ โตเตลิ (Aristotle)
กลับมีความเห็นตรงกันข้าม ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิดส�ำคัญของนักมานุษยวิทยาสมัยปัจจุบันคือ มองว่า
มนษุ ยส์ มยั แรกๆ อาศยั อยใู่ นปา่ ตอ่ มาไดส้ รา้ งสว่ นตา่ งๆ ของสงั คมจนเกดิ เปน็ อายธรรมขน้ึ โดยอรสิ โตเตลิ
ไดเ้ ขยี นในหนงั สอื เรอื่ ง “Politics” ซง่ึ อธบิ ายวา่ มนษุ ยใ์ นตอนแรกอยกู่ นั เปน็ กลมุ่ เครอื ญาตกิ ลมุ่ เลก็ ๆ แลว้
ตอ่ มาจงึ อยู่รวมกนั เป็นหมู่บา้ น เปน็ เมือง

       นอกจากนี้ ลเู ครตสุ (Lucretius) ซงึ่ เปน็ นกั คดิ ชาวโรมนั ไดเ้ ขยี นพรรณนาเรอื่ งเกย่ี วกบั มนษุ ยว์ า่
เมื่อแรกนั้นมนุษย์อยู่ในป่า แล้วต่อมาพัฒนาเป็นชาวเมืองท่ีเจริญ เขามองว่ามนุษย์ผ่านจากข้ันตอนท่ีใช้
เทคโนโลยีท�ำด้วยหินมาเป็นท�ำด้วยโลหะ และให้ค�ำอธิบายถึงแหล่งก�ำเนิดของการใช้ไฟ การท�ำเส้ือผ้า
การเกดิ ขนึ้ ของความเช่ือทางศาสนาและส่วนอ่ืนๆ ของวัฒนธรรม ซึ่งเปน็ แนวคดิ คลา้ ยกับการศึกษาเรอื่ ง
มานุษยวิทยาในสมัยปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการปรัชญาการศึกษาของนักคิดในสมัยคลาสสิก จากนิยาม
ปรัมปราของเมโสโปเตเมีย อียิปต์หรือจากคัมภีร์พระเวทย์ของอินเดีย แม้จะมุ่งท�ำความเข้าใจเก่ียวกับ
มนุษย์และสังคมมนุษย์ แต่ก็ยังคงยึดโยงอยู่กับนิยายปรัมปราหรือความเชื่อทางไสยศาสตร์ซึ่งมีลักษณะ
เปน็ อัตวิสัยมาก
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25