Page 35 - ไทยในเศรษฐกิจโลก
P. 35

ประเทศไทยกับเศรษฐกิจการเมอื งระหว่างประเทศ 3-25
ระหวา่ ง 2 ขวั้ อุดมการณ์นีไ้ ด้ก่อใหเ้ กดิ ชว่ งระยะเวลา ทเี่ รยี กวา่ “สงครามเยน็ ” (Cold War)5 ซง่ึ แม้ว่า
จะมคี วามขดั แยง้ กนั อยา่ งชดั เจนระหวา่ ง 2 ขวั้ อำ� นาจ และตอ่ มาความขดั แยง้ ดงั กลา่ วไดข้ ยายตวั ครอบคลมุ
ประเทศในภูมิภาคอ่ืนๆ ในโลกรวมถึงประเทศที่เพ่ิงได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกคร้ังท่ี 2 ซ่ึงต่างก็
ถกู ผลกั ดนั ใหเ้ ลอื กเปน็ พนั ธมติ รหรอื ศตั รทู ช่ี ดั เจนระหวา่ ง 2 คา่ ยอดุ มการณ์ และแมว้ า่ ปญั หาตา่ งๆ ทเี่ กดิ ขนึ้
ในช่วงเวลาดังกล่าวจะถูกพิจารณาว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วอ�ำนาจก็ตาม แต่
ความขดั แยง้ ทางอดุ มการณโ์ ดยตวั ของมนั เองไมไ่ ดป้ ะทุ ออกมาเปน็ สงครามเตม็ รปู แบบ แตก่ ลบั มกี ารชว่ งชงิ
และถ่วงดุลอ�ำนาจระหว่าง 2 ค่ายอุดมการณ์เนื่องจากพัฒนาการของอาวุธนิวเคลียร์ซ่ึงสามารถจะส่งผล
เสียหายในระดับท่ีเกินกว่าจะควบคุมเอาไว้ได้ ภาวะตึงเครียดภายใต้ดุลแห่งความหวาดกลัวจึงเป็นกรอบ
ในการกำ� หนดและกอ่ ตงั้ ระเบยี บเศรษฐกจิ ระหวา่ งประเทศในชว่ งหลงั สงครามโลกครงั้ ท่ี 2 ซง่ึ จะไดก้ ลา่ วถงึ
ต่อไปในตอนท่ี 3.2

       การเปลย่ี นแปลงภายในสหภาพโซเวยี ตภายใตก้ ารนำ� ของอดตี ประธานาธบิ ดี มคิ าอลิ กอรบ์ าชอฟ
(Mikhail Gorbachev) ใน ค.ศ. 1985 ดว้ ยนโยบายเปดิ กวา้ งและปรบั โครงสรา้ งทร่ี จู้ กั กนั ในชอ่ื กลาสนอส
(Glasnost) และเปเรสตรอยก้า (Perestroika) เป็นผลสืบเน่ืองจากระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ของ
สหภาพโซเวยี ตทเ่ี กดิ ความไรป้ ระสทิ ธภิ าพไดเ้ ปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของการยตุ ภิ าวะสงครามเยน็ และการแตกตวั ของ
ประเทศในคา่ ยสงั คมนยิ ม เกดิ การพงั ทลายของกำ� แพงเบอรล์ นิ จนในทส่ี ดุ สง่ ผลใหส้ หภาพโซเวยี ตแตกสลายลง
กลายเป็นเครือข่ายรัฐอิสระ ซ่ึงก็หมายความว่ารัฐอิสระเหล่านี้ได้หลุดพ้นจากการควบคุมของศูนย์กลาง
อำ� นาจทมี่ อสโคว์ ในขณะทอี่ ดุ มการณข์ องระบอบสงั คมนยิ มและเศรษฐกจิ แบบรวมศนู ยก์ ไ็ ดล้ ม่ สลายลงไป
พร้อมๆ กัน จนมกี ารกล่าวถึงชัยชนะของระบบการเมืองแบบเสรนี ยิ มและระบบเศรษฐกจิ แบบทุนนิยมท่มี ี
เหนือระบบการเมืองแบบสังคมนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ ระเบียบเศรษฐกิจโลกภายหลัง
การสิ้นสุดของสงครามเย็นจึงมีการปรับเปล่ียนไปสู่การครอบคลุมที่ท่ัวถึงมากข้ึนของอุดการณ์เสรีนิยม
ทางเศรษฐกิจและการเมืองพร้อมๆ ไปกับการข้ึนมามีอิทธิพลของพวกเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism)
แบบเรแกน (Reganomics) และแทตเชอร์ (Thatcherism) ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ด้านต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสาร ระเบียบเศรษฐกิจการเมืองโลกในช่วงเวลาหลังสงครามเย็น
จงึ เปน็ การเปลย่ี นแปลงโครงสรา้ งทางเศรษฐกจิ การเมอื งระหวา่ งประเทศอยา่ งส�ำคญั จนอาจจะกลา่ วไดว้ า่
เป็นการปรับโครงสร้างระเบียบเศรษฐกิจการเมืองโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ดังจะได้กล่าวถึงโดยละเอียด
ต่อไปในตอนท่ี 3.3

         5 สงครามเยน็ เปน็ ภาวะทเ่ี กดิ ขน้ึ เฉพาะชว่ งเวลาหลงั สงครามโลกครงั้ ท่ี 2 เมอ่ื เกดิ ความขดั แยง้ ทรี่ นุ แรงและชดั เจนระหวา่ ง
2 ขวั้ อำ� นาจในขณะนน้ั คอื ประเทศสหรฐั อเมรกิ า ผนู้ ำ� คา่ ยเสรนี ยิ ม และประเทศสหภาพโซเวยี ต ผนู้ ำ� คา่ ยสงั คมนยิ ม ลกั ษณะพเิ ศษ
ของสงครามเย็นกค็ ือ มีความพยายามทจ่ี ะแขง่ ขันกันระหว่าง 2 ขัว้ อำ� นาจเพือ่ เปลีย่ นแปลงดุลแหง่ อ�ำนาจให้ฝา่ ยตนได้เปรียบ แตใ่ น
ขณะเดียวกันท้ัง 2 ฝ่ายก็มีความยับยั้งชั่งใจและไม่ได้มีการใช้ก�ำลังต่อกันโดยตรงตามรูปแบบสงครามในรูปแบบเนื่องจาก
ความหวาดกลัวในผลกระทบของการน�ำอาวุธนิวเคลียร์มาใช้โดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซ่ึงจะท�ำให้เกิดความสูญเสียและเสียหายเกิดขึ้น
กบั ทงั้ 2 ข้ัวอ�ำนาจ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40