Page 22 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 22
1-12 ประวัติศาสตรไ์ ทย
2) ผู้เขียนประวัติศาสตร์ท่ัวไป24 ผ้เู ขียนประวตั ศิ าสตร์จากการศกึ ษาค้นควา้ หาขอ้ มลู จาก
งานเขียนของผู้เขียนประวัติศาสตร์ในกลุ่มแรก แล้วน�ำมาเรียบเรียงพิมพ์เป็นต�ำรา หรือบทความ เช่น
ขจร สุขพานชิ เขยี นเรอ่ื ง ฐานันดรไพร่ ซึ่งเป็นการศกึ ษาประวัติของสามัญชนทเ่ี ป็นคนกลมุ่ ใหญใ่ นสังคม
นอกจากนยี้ งั มผี เู้ ขยี นประวตั ศิ าสตรส์ งั คมอน่ื ๆ อกี อาทิ สมสมยั ศรศี ทู รพรรณ (จติ ร ภมู ศิ กั ด)์ิ เขยี นเรอื่ ง
โฉมหน้าศักดินาไทย เพ่ืออธิบายสังคมศักดินาของไทย โดยใช้กรอบความคิดจากทฤษฎีของมาร์กซิสต์
หรือ ม.ร.ว.อคิน ระพีพัฒน์ เขียนเร่ือง สังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2453 ท่ีอธิบายถึง
การเปลีย่ นแปลงของสงั คมไทยในยุคน้ัน เป็นตน้
นอกจากผู้เขียนประวัติศาสตร์ท่ียกตัวอย่างมาแล้ว ยังมีนักเขียนประวัติศาสตร์อีกมาก รวมท้ัง
นกั เขียนประวตั ิศาสตรร์ ุน่ ใหม่ ทไี่ ด้รบั การฝกึ ฝนจากภาควชิ าประวตั ิศาสตรข์ องมหาวทิ ยาลัยตา่ งๆ งานที่
นักเขียนประวัติศาสตร์เหล่าน้ีผลิตออกมาล้วนแต่มีคุณค่าในการศึกษาเหตุการณ์ เร่ืองราวและสิ่งส�ำคัญ
ต่างๆ ในประวัตศิ าสตร์
5. ผู้เรียนประวัติศาสตร์ องค์ประกอบทีส่ ำ� คญั ของการศกึ ษาประวตั ิศาสตรอ์ กี องคป์ ระกอบหน่งึ
คือ ผู้เรียน ทั้งน้ีเพราะประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาในแง่การรับความรู้ ถ้าไม่มีผู้เรียนก็ไม่มีการรับรู้ แต่
การเรยี นการสอนประวตั ศิ าสตรใ์ นมหาวทิ ยาลยั แตเ่ ดมิ มคี วามประสงคเ์ พยี งแตใ่ หผ้ เู้ รยี นไดร้ บั ความรู้ และ
ความเขา้ ใจเกย่ี วกบั เรอื่ งราวหรอื เหตกุ ารณส์ ำ� คญั ทเี่ กดิ ขนึ้ ในอดตี แตใ่ นยคุ โลกาภวิ ตั น์ ผเู้ รยี นตอ้ งใชค้ วามคดิ
เพ่ือต้ังประเด็นค�ำถามหรือมีข้อสงสัยต่องานเขียนทางประวัติศาสตร์ โดยอาจมีการตั้งค�ำถาม ซึ่งน�ำไปสู่
การอภิปรายอย่างกวา้ งขวาง เชน่ ปัญหาเรือ่ งผู้สร้างศลิ าจารกึ หลกั ท่ี 1 (ศลิ าจารกึ สุโขทัย) หรอื เร่อื งการ
พพิ าทระหว่างไทยกบั ลาว กรณีบ้านร่มเกลา้ จังหวัดพิษณุโลก ผเู้ รยี นประวัติศาสตรอ์ าจสงสยั วา่ ฝา่ ยลาว
มองการพิพาทนี้วา่ อย่างไร ผเู้ รียนทม่ี ขี อ้ สงสยั อาจหาคำ� ตอบดว้ ยวิธีการทางประวัติศาสตร2์ 5
ในกรณีท่ีนักศึกษาไม่เข้าใจเรื่องราว หรือเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน เน่ืองจากหนังสือ
ประวตั ศิ าสตรบ์ างเลม่ ไมไ่ ดอ้ ธบิ ายรายละเอยี ด หรอื เปน็ เพราะการสอนประวตั ศิ าสตรใ์ นชนั้ เรยี นมขี อ้ จำ� กดั
ท�ำให้นักศึกษาไม่มีโอกาสซักถามอาจารย์ผู้สอน ในกรณีน้ีนักศึกษาอาจถามอาจารย์เม่ือมีการสอนเสริม
หรือศึกษาหาความรู้เพ่ิมเติมด้วยตนเอง ส�ำหรับวิธีที่ดีที่สุดคือผู้เรียนประวัติศาสตร์ต้องท�ำตนเป็นนักอ่าน
เข้าห้องสมุดเพื่อหาหนังสือประวัติศาสตร์ท่ีเกี่ยวกับเร่ืองท่ีสนใจมาอ่าน เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ หรือเดินทาง
ไปยงั แหล่งขอ้ มลู หรอื สถานที่เก่ียวขอ้ งกับเหตุการณ์หรือเรือ่ งราวท่ีนักศกึ ษาสนใจ
สรุปได้ว่าเม่ือผู้เรียนเร่ิมต้นเรียนวิชาประวัติศาสตร์ถ้ามีความรู้เร่ืองความหมายและองค์ประกอบ
ของการศึกษาประวตั ศิ าสตร์จะท�ำใหผ้ ้เู รียนสามารถศึกษาประวตั ศิ าสตรด์ ้วยความเขา้ ใจย่ิงขึ้น
24 ผเู้ ขยี นประวตั ิศาสตรใ์ นกล่มุ นี้มีจำ�นวนมากมายและหลากหลาย ท้งั ยังเขียนหนังสอื ไว้เปน็ จำ�นวนมาก แตใ่ นทน่ี ้จี ะยก
ตวั อย่างเพียงบางทา่ น และอ้างถึงชือ่ หนังสอื เปน็ ตวั อยา่ งทที่ า่ นเขียนเพยี งเล่มเดียว
25 ดู วศิ วมาศ ปาลสาร. (2553). ความขดั แยง้ ระหวา่ ง ลาว-ไทย ทบี่ า้ นร่มเกลา้ ในทรรศนะหนังสอื พมิ พล์ าว ชว่ ง ค.ศ.
1987-1988. ปริญญานพิ นธศ์ ิลปศาสตรมหาบัณฑติ (ประวัติศาสตร์เอเชีย) ภาควิชาประวตั ิศาสตร์ คณะสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรนี ครินทรวโิ รฒ.