Page 50 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 50

1-40 ประวตั ิศาสตร์ไทย
ประวตั ศิ าสตรแ์ ละหลกั ฐานจำ� พวกทเี่ ปน็ แตเ่ พยี งสว่ นประกอบเทา่ นนั้ 45 การศกึ ษาประวตั ศิ าสตรท์ ด่ี คี วรใช้
หลกั ฐานหลายประเภท ขึ้นอยกู่ บั ว่าผศู้ กึ ษาต้องการศกึ ษาเรอื่ งอะไร ดงั นั้นในการรวบรวมหลักฐานจงึ ตอ้ ง
จดบนั ทกึ รายละเอยี ดตา่ งๆ ท้งั หลักฐานและแหล่งขอ้ มูลใหถ้ กู ตอ้ งสมบรู ณ์ ทง้ั นเี้ พอ่ื การอา้ งองิ ที่นา่ เชื่อถอื

       ข้ันตอนที่ 3 การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าลักษณะหลักฐาน
       การวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ คณุ คา่ ลกั ษณะหลกั ฐาน คอื การประเมนิ ความสำ� คญั ของลกั ษณะหลกั ฐาน
แตล่ ะชิน้ ดว้ ยวิธีดังน4ี้ 6

            - การวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ คา่ ลักษณะภายนอกของหลักฐาน (External Critics) คอื การ
พจิ ารณาตรวจสอบหลกั ฐานทไ่ี ดค้ ดั เลอื กไวแ้ ตล่ ะชนิ้ วา่ มคี วามนา่ เชอ่ื ถอื เพยี งใด โดยยงั ไมศ่ กึ ษาเนอ้ื หาใน
หลักฐานนั้นๆ ข้ันตอนน้ีมีประโยชน์คือเป็นการคัดหลักฐานจ�ำพวกที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรงหรือ
เปน็ หลกั ฐานสว่ นประกอบ รวมท้งั เปน็ การขจัดหลกั ฐานทไ่ี มน่ ่าเชื่อถอื ออกไป

            - การวิเคราะห์และประเมินค่าลักษณะภายในของหลักฐาน (Internal Critice) คือ การ
พจิ ารณาเนอ้ื หาหรอื ความหมายทแี่ สดงออกในหลกั ฐาน เพอ่ื ประเมนิ วา่ นา่ เชอ่ื ถอื เพยี งใด โดยเนน้ ถงึ ความ
ถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความส�ำคัญต่อการประเมินหลักฐานท่ีเป็น
ลายลักษณอ์ กั ษร เพราะข้อมลู ในหลักฐานมีทง้ั ทคี่ ลาดเคลื่อนอันเกดิ จากปจั จยั ต่างๆ เชน่ ความไมร่ ู้ และ
การมอี คติของผูบ้ นั ทกึ แฝงอยู่

       ขั้นตอนท่ี 4 การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
       การตคี วามหลกั ฐาน หมายถงึ การพจิ ารณาเนอ้ื หาหรอื ขอ้ มลู ในหลกั ฐานวา่ ผสู้ รา้ งหลกั ฐานมเี จตนา
ทีแ่ ทจ้ รงิ อย่างไร โดยดจู ากลีลาการเขยี นของผ้บู นั ทึกและรปู ร่างลักษณะโดยทัว่ ไป เปน็ ต้น ในข้ันตอนการ
ตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามท�ำความเข้าใจความหมายจากส�ำนวนโวหาร ทัศนคติ
ความเช่ือของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยน้ันประกอบด้วย เพ่ือท่ีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะ
หมายความตามตวั อกั ษรแล้ว ยังมีความหมายท่แี ท้จริงอะไรแฝงอยู่
       ปิยะนาถ บุนนาค ได้แบ่งประเภทการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็นดังน้ี 1) การ
ตีความในแนวราบ เป็นการตีความโดยพิจารณาตามล�ำดับเวลาก่อนหลังเป็นส�ำคัญ และยังเป็นวิธีที่ใช้ใน
การอธิบายว่าเหตุการณ์หรือปัญหาน้ันๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งได้อย่างไร 2) การตีความในแนวด่ิง
เปน็ การตีความทไี่ มย่ ดึ ล�ำดับเวลากอ่ นหลงั แต่พิจารณาจากประเด็นปญั หาแตล่ ะเรอื่ งเปน็ สำ� คัญ47
       ข้ันตอนท่ี 5 การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูล
       ในข้ันตอนนี้ผู้ศึกษาจะต้องน�ำข้อมูลที่ผ่านการประเมินคุณค่าและการตีความมาวิเคราะห์ หรือ
แยกแยะ จัดประเภทของเร่ืองออกเปน็ หวั ขอ้ เร่อื งตา่ งๆ โดยเน้อื หาในเรอื่ งเดยี วกนั ควรจดั ไว้ด้วยกัน รวม
ทั้งเรื่องท่ีเก่ียวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องท่ีเป็นเหตุเป็นผล จากนั้นจึงน�ำเรื่องท้ังหมดมาสังเคราะห์หรือ
รวมเข้าดว้ ยกัน ซึ่งเป็นการจำ� ลองภาพบคุ คลหรือเหตุการณ์ในอดตี ข้นึ ใหม่

	 45 เตช บนุ นาค. เร่ืองเดยี วกนั . น. 98.	
         46 ปยิ ะนาถ บนุ นาค เร่อื งเดียวกัน. น. 19-20.
         47 เร่อื งเดยี วกัน. น. 20.
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55