Page 32 - ความเป็นครู
P. 32

14-22 ความเป็นครู

2.	 การพฒั นาเป็นชุดจริยธรรม

       เนอ่ื งจากคณุ ธรรมจรยิ ธรรมแตล่ ะประการจะมคี ณุ ธรรมจรยิ ธรรมอนื่ ๆ ทส่ี มั พนั ธก์ นั และประกอบกนั
เพื่อให้เกิดคุณค่าท่ีแท้จริง การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมจึงไม่อาจพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมประการเดียว
แบบเด่ียว ๆ ได้ ต้องพัฒนาในลักษณะที่เป็นชุดจริยธรรม

3.	 การพัฒนาจรยิ ธรรมทค่ี รบวงจร

       จริยธรรมที่จะเกิดผลตามหลักธรรมน้ันจะต้องได้รับการพัฒนาที่ครบวงจร หากไม่ครบวงจรจะไม่
เกิดผลดีตามหลักการและอาจเกิดผลเสียด้วย ตัวอย่างเช่น คุณธรรมเก่ียวกับสันโดษ การท่ีสันโดษมี
เป้าหมายเพ่ือการพอใจสิ่งได้มาด้วยความเพียรในทางที่สุจริต จะท�ำให้จิตใจของผู้มีความสันโดษไม่วุ่นวาย
กังวลกับการแสวงหาทางวัตถุ ท�ำให้สามารถใช้เวลาและก�ำลังความสามารถในการท�ำหน้าที่และสิ่งที่ดีงามได้
อย่างเต็มที่ จริยธรรมที่เป็นชุดและการครบวงจรของสันโดษจึงต้องมีทั้งความพอใจ การใช้ความสามารถ
ในทางท่ีถูกต้อง การเพียรพยายามท�ำกิจหน้าท่ี และการมีความสุขกับส่ิงที่ได้จากความเพียรที่ถูกต้องน้ัน
การไม่พัฒนาเป็นชุด

       จริยธรรมท่ีครบวงจรจะไม่เกิดผลเป็นความสันโดษ ซ่ึงผู้ที่ไม่มีความสันโดษจะไม่มีเป้าหมายที่งาน
จึงไม่รักงาน ท�ำงานด้วยความจ�ำใจ หากมีโอกาสหลีกเลี่ยงหรือมีหนทางที่ได้มาโดยง่ายก็จะเลือกทางเช่นนั้น

4. 	การพฒั นาตามขัน้ ตอน

       คุณธรรมจริยธรรมแต่ละประการจะมีขั้นตอนหลัก ๆ ของการพัฒนาซึ่งครูจะต้องเข้าใจ โดยอาจ
แบ่งเป็นการพัฒนาจริยธรรมเด่ียว และการพัฒนาเป็นชุด เช่น

       4.1	 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเด่ยี ว ๆ ตัวอย่างการพัฒนาเก่ียวกับอนิจจัง
       ความหมายและเป้าหมายของอนิจจัง หมายถึง การรู้เท่าทันคติธรรมว่าส่ิงทั้งหลายไม่เท่ียงแท้
ไม่แน่นอน มีเกิดขึ้น ต้ังอยู่ แล้วดับไป เป้าหมายของการเข้าใจอนิจจังคือการเกิดปัญญาท่ีจะรู้เท่าทัน และ
คลายความทุกข์จากส่ิงที่เกิดข้ึน
       ข้ันตอนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับอนิจจัง

            1) 	เข้าใจในสิ่งท่ีเกิดขึ้น คือ การรู้เท่าทันความจริงทั้งหลายว่าเป็นอนิจจัง (ปัญญา)
            2) 	ปลงใจได้ โดยจิตไม่หว่ันไหว และมีความสุข (จิตใจเป็นอิสระหรือวิมุตติ)
            3) 	รู้ว่าความไม่เท่ียงแล้วเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงสืบสาวหาเหตุปัจจัย
(โยนิโสมนสิการ) เพราะการเปล่ียนแปลงคือความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างเล่ือนลอย
ไร้เหตุปัจจัย เหตุปัจจัยของการเปล่ียนแปลงมี 2 ส่วน คือ

                (1)	เหตุปัจจัยท่ีจะท�ำให้เสื่อม เป็นส่ิงท่ีต้องเร่งขวนขวายท�ำการหลีกเลี่ยง ละ ก�ำจัด
แก้ไข ไม่ให้มีเหตุปัจจัยของความเสื่อม แต่ให้มีเหตุปัจจัยของความเจริญเข้ามาแทน

                (2)	เหตุปัจจัยท่ีจะท�ำให้เจริญ เป็นส่ิงที่ต้องเร่งสร้าง เสริม ท�ำให้ส�ำเร็จและสร้างสรรค์
โดยไม่รอให้ปัญหาเกิดข้ึนหรือมีความร้ายแรง (ไม่ประมาท หรือ อัปปมาท)
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37