Page 40 - ความเป็นครู
P. 40
14-30 ความเป็นครู
1.2 จดุ เนน้ ในการปฏบิ ตั ติ น ในลกั ษณะหรอื วธิ กี ารทำ� งานตามวชิ าชพี โดยมแี นวทางตามภารกจิ ของ
องค์การ เนื่องจากหน้าท่ีความรับผิดชอบหรือพันธกิจของหน่วยงานจะเป็นตัวบ่งชี้คุณลักษณะท่ีต้องการ
ส�ำหรับผู้ปฏิบัติในแต่ละภารกิจที่มีความแตกต่างกันทั้งหลักของการเป็นพลเมืองดีและการเป็นผู้น�ำท่ีดี
1.3 ลกั ษณะความสัมพนั ธ์ท่ีพงึ มตี อ่ บคุ คลอืน่ ท้ังในระดับเดียวกัน สูงกว่าหรือต่ํากว่า โดยสัมพันธ์
กับหลักการท�ำงานตามนโยบายของรัฐ เช่น หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี 6 ประการคือ
หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความ
คุ้มค่า
1.4 ความคาดหวังที่องค์การอยากให้ผู้น้ันรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน โดยครอบคลุมท้ังความ
คาดหวงั ใหผ้ ปู้ ระกอบวชิ าชพี มพี ฤตกิ รรมเชงิ บวก เชน่ คาดหวงั ใหค้ รมู คี วามเปน็ ครตู ามสถานภาพของวชิ าชพี
และมีค่านิยมสร้างสรรค์ 5 ประการ ได้แก่ กล้ายืนหยัดท�ำในสิ่งท่ีถูกต้อง ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่เลือกปฏิบัติ และมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และลดพฤติกรรมเชิงลบ เช่น การท�ำน้อย
กว่าหรือมากกว่ากฎหมาย และการท�ำตามกฎหมายแต่ใช้วิธีที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น
2. จรรยาบรรณตามหลกั ศาสนา
นอกจากจรรยาบรรณตามกฎหมายวชิ าชพี ครแู ลว้ ในศาสนาพทุ ธไดก้ ำ� หนดจรรยาบรรณของครโู ดย
เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม ไว้เป็นคุณธรรมของคนผู้ส่ังสอนหรือให้การศึกษา ซ่ึงประกอบด้วยองค์คุณธรรม
7 ประการ ดังที่ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต, 2557, น. 27)
2.1 นา่ รกั มีเมตตากรุณา ใส่ใจคนและประโยชน์สุขของเขา เข้าถึงจิตใจ เป็นที่วางใจสร้างความรู้สึก
สนิทสนมเป็นกันเอง ชวนใจผู้เรียนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม
2.2 นา่ เคารพ เป็นผู้หนักแน่น ถือหลักการเป็นส�ำคัญ และมีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ท�ำให้
เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พ่ึงได้ ปลอดภัย
2.3 นา่ ยกย่อง คือ มีความรู้จริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง และเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนอยู่เสมอ เป็น
ท่ีน่ายกย่องควรเอาอย่าง ศิษย์อ้างและร�ำลึกถึงด้วยความซาบซ้ึง ม่ันใจ และภาคภูมิใจ
2.4 รู้จักพูด คือ รู้จักช้ีแจงให้เข้าใจ รู้ว่าเม่ือไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้ค�ำแนะน�ำว่ากล่าว-
ตักเตือน เป็นท่ีปรึกษาที่ดี
2.5 อดทนต่อถ้อยค�ำ คือ พร้อมที่จะรับฟังค�ำปรึกษาซักถามแม้จุกจิก ตลอดจนค�ำล่วงเกินและ
ค�ำตักเตือนวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ อดทนฟังได้ ไม่เบ่ือหน่าย ไม่เสียอารมณ์
2.6 แถลงเร่อื งลํ้าลกึ ได้ คือ กล่าวชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่ยุ่งยากลึกซ้ึงให้เข้าใจได้ และสอนศิษย์ให้ ๆ
ได้เรียนรู้เร่ืองราวที่ลึกซ้ึงยิ่งขึ้นไป
2.7 ไมช่ กั น�ำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางท่ีเส่ือมเสียหรือเร่ืองเหลวไหลไม่สมควร