Page 39 - ความเป็นครู
P. 39

คุณธรรมจริยธรรมส�ำหรับครู 14-29

       2.4	 เปน็ แนวทางการควบคมุ มาตรฐานวชิ าชพี เนอื่ งจากจรรยาบรรณก�ำหนดทง้ั สง่ิ ทคี่ วรปฏบิ ตั ิ และ
สิ่งท่ีไม่ควรปฏิบัติ อันเป็นแนวทางความประพฤติ จึงช่วยให้ครูในวิชาชีพมีความประพฤติที่ดี ลดปัญหาท้ัง
ของสังคมในวิชาชีพและสังคมที่อยู่อาศัย ผู้อยู่ในวิชาชีพและบุคคลภายนอกสามารถใช้จรรยาบรรณเป็น
สงิ่ ตรวจสอบและตดั สนิ พฤตกิ รรมของครไู ด้ จรรยาบรรณจงึ เปน็ เครอ่ื งมอื สำ� คญั ในการแกป้ ญั หาของบคุ ลากร
และวิชาชีพ

       2.5 	เปน็ แนวทางในการลงโทษ เน่ืองจากจรรยาบรรณเป็นข้อผูกพันในการท�ำงานส�ำหรับผู้ประกอบ
วิชาชีพ จึงมีการก�ำหนดโทษส�ำหรับผู้กระท�ำผิดจรรยาบรรณ โดยมีโทษสูงสุดคือการเพิกถอนใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะยังผลให้ผู้ได้รับการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่สามารถท�ำงานในวิชาชีพน้ัน
ได้อีกต่อไป

       จรรยาบรรณวชิ าชพี มเี ปา้ หมายเพอ่ื พฒั นาความเจรญิ ของบคุ ลากรในวชิ าชพี ซง่ึ หากมมี าตรฐานความ
ประพฤติเป็นมาตรฐานเดียวกันแล้ว จะส่งผลให้วิชาชีพมีภาพลักษณ์ตามการยกย่องของสังคมและตาม
สถานภาพของวิชาชีพอันจะท�ำให้วิชาชีพครูสร้างคุณประโยชน์ให้แก่บุคคลและสังคมตามบทบาทหน้าที่ด้าน
การศึกษาได้อย่างเต็มที่ จรรยาบรรณจึงเป็นมาตรการเชิงบวก แต่เนื่องจากยังมีครูส่วนหนึ่งที่ยังประพฤติ
ผิดจรรยาบรรณ จรรยาบรรณจึงต้องมีการก�ำหนดโทษเพ่ือการควบคุมให้วิชาชีพมีปัญหาน้อยท่ีสุดและมี
ความพร้อมที่จะเจริญก้าวหน้าให้มากท่ีสุด

เรอ่ื งที่ 14.2.2	 จรรยาบรรณท่สี ำ� คญั ในวชิ าชพี ครู

       การทำ� ความเขา้ ใจเกยี่ วกบั จรรยาบรรณทส่ี ำ� คญั ของครจู ะตอ้ งเขา้ ใจถงึ องคป์ ระกอบของจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณท่ีส�ำคัญทางศาสนา จรรยาบรรณตามที่ก�ำหนดไว้ในกฎหมายวิชาชีพครู และการด�ำเนินการ
ทางจรรยาบรรณในวิชาชีพครู ดังน้ี

1. 	องค์ประกอบของจรรยาบรรณ

       จรรยาบรรณของวิชาชีพครูประกอบด้วยองค์ประกอบของมาตรฐานจรรยาบรรณ 4 ด้าน คือ (ศูนย์
ส่งเสริมจริยธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน, 2548, น. 11)

       1.1	 มาตรฐานความประพฤตสิ ว่ นบคุ คล ท่ีผู้อยู่ในวิชาชีพน้ันพึงปฏิบัติหรือไม่พึงปฏิบัติ มาตรฐาน
การประพฤตินี้ประมวลจากหลักศาสนา กฎหมายและวินัยหลักของประเทศ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายการศึกษา วินัยข้าราชการพลเรือน พระราชด�ำริ/พระราชโอวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ดังน้ัน แม้ในสมัยโบราณจะยังไม่ก�ำหนดจรรยาบรรณไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ก็ได้อาศัยคติธรรมทางศาสนา
และพระบรมราโชวาทเป็นบรรทัดฐานยึดถือปฏิบัติสืบเน่ืองมา
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44