Page 38 - ความเป็นครู
P. 38
14-28 ความเป็นครู
เร่ืองท่ี 14.2.1 ความส�ำคญั ของจรรยาบรรณต่อครูและวิชาชพี ครู
จรรยาบรรณมีความส�ำคัญต่อครูและวิชาชีพครู ครูจึงต้องเข้าใจความหมายและความส�ำคัญของ
จรรยาบรรณที่มีต่อบุคลากรครูและวิชาชีพครู ดังนี้
1. ความหมายของจรรยาบรรณ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของจรรยาบรรณ ดังน้ี
จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติท่ีผู้ประกอบวิชาอาชีพการงานแต่ละอย่างก�ำหนดข้ึน
เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ช่ือเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
(2556, น. 301)
ประยงค์ เนาวบุตร (2546, น. 218) อธิบายว่าจรรยาวิชาชีพ (Professional Ethics) เป็นกฎเกณฑ์
ความประพฤตหิ รอื มรรยาทในการประกอบวชิ าชพี ของผปู้ ระกอบวชิ าชพี แตล่ ะสาขา ซง่ึ เมอื่ กำ� หนดและบนั ทกึ
ขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจะเรียกกันว่า “จรรยาบรรณ” (Code of Ethics) ซึ่งเป็นประมวลกฎเกณฑ์ความ
ประพฤตหิ รือประมวลมารยาทของผูป้ ระกอบวิชาชีพน้ัน ๆ ดังนั้น ในขณะท่ีศีลธรรมของศาสนาเป็นข้อปฏบิ ัติ
ที่บุคคล “ควร” ปฏิบัติตาม จรรยาบรรณวิชาชีพมีผลผูกมัดให้ผู้ประกอบวิชาชีพ “พึง” ปฏิบัติตาม ส่วนวินัย
เป็นข้อบังคับให้บุคคล “ต้อง” ปฏิบัติตาม
2. ความสำ� คญั ของจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณมีความส�ำคัญโดยสรุป ดังนี้
2.1 สร้างมาตรฐานพฤตกิ รรมของผู้ประกอบวิชาชีพ เน่ืองจากคุณธรรมจริยธรรมของคนท่ัวไปใน
สังคมมีขอบข่ายกว้างขวาง จรรยาบรรณจะเลือกคุณธรรมจริยธรรมในสังคมบางประการมาก�ำหนดเป็น
จรยิ ธรรมทส่ี ำ� คญั และจำ� เปน็ สำ� หรบั การประกอบอาชพี นน้ั โดยพจิ ารณาจากบทบาทและสถานภาพของวชิ าชพี
จรรยาบรรณวิชาชีพจึงเป็นกรอบท่ีแสดงมาตรฐานการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพท้ังหมด เพื่อรักษาและ
ส่งเสริมศักด์ิศรี ช่ือเสียง และเกียรติคุณของผู้ประกอบวิชาชีพ
2.2 เปน็ แนวทางการสง่ เสรมิ จรยิ ธรรมในวชิ าชพี การกำ� หนดจรรยาบรรณจะทำ� ใหค้ รแู ละผเู้ กยี่ วขอ้ ง
มีแนวทางท่ีจะพัฒนาและส่งเสริมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพท่ีชัดเจนและเป็นแนวทางดียวกัน ท�ำให้
เกิดเอกภาพทางด้านจริยธรรมในวิชาชีพ
2.3 ชว่ ยพทิ กั ษส์ ทิ ธขิ องบคุ ล โดยพิทักษ์สิทธิของบุคคลท้ังที่อยู่ในวิชาชีพและผู้อยู่นอกวิชาชีพ เช่น
สิทธิทางร่ายกาย ทรัพย์สิน ผลงานทางวิชาการ เอกสาร ความลับต่าง ๆ เนื่องจากมีข้อก�ำหนดห้ามการละเมิด
สิทธิต่าง ๆ หลายประการ ผู้ท่ีท�ำผิดต้องได้รับโทษในระดับต่าง ๆ ตามสภาพการณ์ของปัญหา