Page 14 - อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
P. 14
3-4 อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
ตอนที่ 3.1
จริยธรรมของผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ
โปรดอา่ นแผนการสอนประจ�ำตอนท่ี 3.1 แลว้ จงึ ศึกษาเน้ือหาสาระ พร้อมปฏบิ ตั ิกจิ กรรมในแต่ละเรือ่ ง
หวั เรอ่ื ง
เรื่องที่ 3.1.1 ค วามหมาย และความส�ำคัญของจริยธรรมของผู้ประกอบการอาหารและ
โภชนาการ
เรื่องท่ี 3.1.2 ค วามรับผิดชอบ และการจัดการด้านจริยธรรมของผู้ประกอบการด้านอาหาร
และโภชนาการ
แนวคิด
1. จริยธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสัมพันธ์
ระหว่างจรรยา และธรรม จรรยาคือความประพฤติ ธรรม คือเคร่ืองรักษาความประพฤติ
เพ่ือช่วยส่งเสริม ควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการด้านอาหารและ
โภชนาการ มีความส�ำคัญท่ีจะน�ำไปสู่เป้าหมายให้ผู้บริโภคได้รับอาหารท่ีปลอดภัย คุ้มค่า
สมประโยชน์ แล้วยังช่วยให้ผู้ประกอบการได้ใช้วิชาชีพในทางท่ีถูกต้องเหมาะสม มีความ
รับผิดชอบตอ่ สังคม ในการส่งเสริม ควบคุมการผลิต และการปฏิบตั ิงานให้มีคุณภาพเป็น
ท่ีเช่ือถือและไว้วางใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยและการบริการที่ดี
2. จริยธรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ เป็นเรื่องท่ีมีความ
ละเอียดอ่อน ซับซ้อน ท้ังยังมีผลต่อความน่าเชื่อถือของกิจการอีกด้วย การด�ำรงไว้ซึ่ง
กิจการของธุรกิจดังกล่าวต้องค�ำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ผลกระทบต่อสังคม
ภายนอก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสมอ และไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางท่ีผิด เพราะ
หากประกอบอาชีพโดยไร้จริยธรรมผลเสียหายจะตกอยู่กับสังคมและประเทศชาติ
จริยธรรมดังกล่าวไม่ใช่ส่ิงที่ปฏิบัติได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงท่ีกิจการต้องเผชิญกับ
การแข่งขัน ดังน้ันการจัดการด้านจริยธรรมจึงต้องอาศัยกระบวนการทางจริยธรรม
เพ่ือก�ำหนดกรอบทางจริยธรรม หลักจรรยาบรรณ การประกาศใช้หลักจรรยาบรรณ
การฝึกอบรม การเลือกบุคลากรที่เหมาะสม การตรวจสอบและการสร้างวัฒนธรรม
การติดต่อสื่อสาร เพ่ือส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของกิจการ และการด�ำรงไว้ซึ่งกิจการของ
ธุรกิจด้านอาหารและโภชนาการ