Page 16 - อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
P. 16
3-6 อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
เรื่องท่ี 3.1.1 ความหมาย และความสำ� คัญของจริยธรรมของ
ผู้ประกอบการอาหารและโภชนาการ
ในการด�ำเนนิ งานของธุรกิจโดยท่วั ไป รวมท้ังในกลุ่มผู้ประกอบการอาหารและโภชนาการนนั้ มงุ่ หวัง
ท่ีจะจ�ำหน่ายสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค โดยต้องการผลก�ำไรอยู่ในระดับที่พึงพอใจ และสามารถท�ำให้
กิจการอยู่รอด และมีความเจริญเติบโต จริยธรรมเป็นส่ิงจรรโลงเศรษฐกิจ และเป็นปัจจัยท่ีท�ำให้การบริหาร
มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความโปร่งใส การประกอบธุรกิจด้านอาหารประกอบด้วยเครือข่ายในวงจร
การผลิตต้ังแต่ต้นน้�ำ กลางน้�ำ จนถึงปลายน�้ำ และเครือข่ายธุรกิจอาหารท่ีต่อเน่ืองเช่ือมโยงกัน เช่น ผู้ผลิต
ภาชนะบรรจุ ผผู้ ลติ อาหาร ผจู้ ำ� หนา่ ย รวมทงั้ ผปู้ ระกอบธรุ กจิ อนื่ ๆ ทเี่ กยี่ วขอ้ ง เชน่ คแู่ ขง่ ขนั คคู่ า้ ผปู้ ระกอบ
การขนส่ง หน่วยงานราชการ เป็นต้น การประกอบธุรกิจที่ได้ผลประโยชน์ของเครือข่ายทั้งวงจรอาหาร และ
เครือข่ายท่ีเกี่ยวเน่ืองกันทั้งหมดน้ัน จ�ำเป็นต้องด�ำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมภายใต้กรอบจริยธรรมเดียวกัน
การด�ำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ท�ำให้ผู้บริโภคมีความเช่ือม่ันในสินค้าและบริการน้ัน ๆ
1. ความหมายของจริยธรรมของผู้ประกอบการอาหารและโภชนาการ
ตามท่ีบัญญัติไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 “จริยธรรม” แปลว่า ธรรม
ที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ “ศีลธรรม” หรือกฎศีลธรรม คือ กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งเกิดข้ึนจาก
ธรรมชาติของมนุษย์เอง ความเป็นผู้มีปรีชาญาณ (ปัญญาและเหตุผล) ท�ำให้มนุษย์มีมโนธรรม รู้จักแยกแยะ
ความถูก ผิด ควร ไม่ควร โดยจริยธรรมมีลักษณะ 4 ประการ คือ
1) การตัดสินทางจริยธรรม (Moral Judgment) บุคคลจะมีหลักการของตนเอง เพ่ือตัดสิน
การกระท�ำของผู้อื่น
2) หลักการของจริยธรรมและการตัดสินตกลงใจเป็นความสัมพันธ์ท่ีเกิดข้ึนในตัวบุคคล ก่อนท่ีจะ
ปฏิบัติการต่าง ๆ ลงไป
3) หลักการทางจริยธรรมเป็นหลักการสากลท่ีบุคคลใช้ตัดสินใจในการกระท�ำสิ่งต่าง ๆ
4) ทัศนะเก่ียวกับจริยธรรมได้มาจากความคิดของบุคคลหรืออุดมคติของสังคม จนเกิดเป็นทัศนะ
ในการด�ำรงชีวิตของตน และของสังคมที่ตนอาศัยอยู่
ในการด�ำเนินงานของธุรกิจโดยท่ัวไป รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและโภชนาการ การมี
จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) หมายถึงการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม โดย
มีหลักจริยธรรมที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติทั้งต่อลูกค้า คู่แข่งขัน หน่วยราชการ พนักงาน
นายจ้าง และสังคม