Page 21 - อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
P. 21
จริยธรรมในการจัดการด้านอาหารและโภชนาการ 3-11
2.1 การก�ำหนดกรอบทางจริยธรรมเพ่ือเป็นการสร้างหลักความน่าเชื่อถือในองค์การ องค์การจะ
ต้องพัฒนากรอบทางจริยธรรมให้ชัดเจน เป็นรูปธรรมและสามารถน�ำไปปฏิบัติได้ในแต่ละประเด็น เพ่ือใช้
เป็นแนวทางในการด�ำเนินงาน การก�ำหนดกรอบทางจริยธรรมนั้นมีกระบวนการที่ส�ำคัญ 4 ข้ันตอน คือ
2.1.1 การรับรู้ทางจริยธรรมท่ีเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ก่อนที่องค์การจะท�ำการตัดสินใจ
ปัญหาใดทางจริยธรรมได้อย่างเหมาะสม ควรต้องรู้ถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ องค์การจะต้องก�ำหนดประเด็น
ทางจริยธรรมที่เก่ียวข้อง ท้ังนี้เพราะองค์การต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจอย่างเพียงพอ ดังนั้นเพ่ือ
หลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว องค์การต้องพิจารณาถึงปัญหาทางจริยธรรมในแต่ละประเด็น ไม่ว่าจะเป็นในด้าน
ความซ่ือสัตย์ ความรับผิดชอบต่อลูกค้า ความยุติธรรม ความเอาใจใส่ต่อชุมชน ส่ิงแวดล้อม และอ่ืน ๆ ท่ี
เกี่ยวข้อง
2.1.2 การก�ำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากความต้องการของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์การมักจะขัดแย้งกัน เช่น พนักงานต้องการให้องค์การปฏิบัติตามกฎหมาย
คุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์ท่ีมีคุณภาพในราคาท่ีเหมาะสม ผู้ถือหุ้นต้องการ
ผลตอบแทนระดับสูง ชุมชนต้องการให้องค์การมีความเอาใจใส่ และรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น องค์การ
จึงต้องรักษาดลุ ยภาพของเปา้ หมายทขี่ ดั แยง้ กนั และเลอื กวา่ จะสรา้ งความพอใจใหก้ บั กลมุ่ ใดและในระดบั ใด
กอ่ นตดั สนิ ใจ ผู้บริหารต้องพิจารณาผลประโยชน์ท่ีขัดแย้งกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่ากลุ่มใดมีความส�ำคัญ
ในสถานการณ์น้ัน ๆ
2.1.3 การสร้างทางเลือกในทางปฏิบัติโดยองค์กร ต้องพิจารณาถึงทางเลือกที่เป็นไปได้ และ
ผลกระทบทเ่ี กดิ ขน้ึ ในแตล่ ะทางเลอื กวา่ มตี อ่ กลมุ่ ใดบา้ งและในระดบั ใด จำ� แนกผลดผี ลเสยี ในแตล่ ะทางเลอื ก
2.1.4 ก�ำหนดทางเลือกที่ดีที่สุดและปฏิบัติ ซ่ึงองค์การควรค�ำนึงถึงความสอดคล้องกับ
เป้าหมายค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ การตัดสินใจทางจริยธรรมจึงไม่ใช่ภาระงานท่ีง่าย ดังน้ัน กรอบทาง
จริยธรรมที่องค์การก�ำหนดข้ึนนี้ จะท�ำให้ผู้เก่ียวข้องรับรู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มต่าง ๆ
2.2 การกำ� หนดจรรยาบรรณ นบั เปน็ ฐานการพฒั นาจรยิ ธรรม ความหมายจรรยาบรรณ คอื ขอ้ ความ
ที่บ่งบอกถึงมาตรฐานเชิงพฤติกรรมที่คาดหวังไว้ใช้เป็นแนวทางท่ีเป็นรูปธรรมในการปฏิบัติและหลักทาง
จริยธรรมท่ีองค์การคาดหวังว่าจะได้รับจากบุคลากร แม้จรรยาบรรณจะไม่ให้หลักประกันเก่ียวกับพฤติกรรม
ทางจริยธรรมก็ตาม แต่จรรยาบรรณได้สร้างมาตรฐานเชิงพฤติกรรมให้กับองค์การ การจัดการด้านจริยธรรม
โดยท่ัวไปเกิดจากความต้องการของผู้บริหาร ไม่ว่าจะเป็นหลักความเชื่อและจรรยาบรรณ
ดังน้ัน การสร้างแบบอย่างทางจริยธรรมท่ีดี ผู้บริหารจะต้องเน้นที่การประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง
มากกว่าการใช้การพูดหรือการก�ำหนดแต่นโยบาย
ตวั อยา่ ง จรรยาบรรณของผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการตอ่ ผลติ ภณั ฑ์
ผลติ ภณั ฑ์ เปน็ สงิ่ ทผี่ ปู้ ระกอบการเสนอขายเพอื่ สนองความตอ้ งการของผบู้ รโิ ภคซงึ่ ผปู้ ระกอบธรุ กจิ
ต้องมีการควบคุมการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ท่ีดีมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และเป็นไปตาม
ท่ีกฎหมายก�ำหนด ดังน้ันผู้ประกอบธุรกิจควรมีจรรยาบรรณต่อผลิตภัณฑ์ดังน้ี
2.2.1 การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการท่ีมีคุณภาพ สามารถใช้งานได้เหมาะสม มีความสวยงาม
มีราคาคุ้มค่า สามารถตอบสนองความต้องการและเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้บริโภค