Page 45 - อาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
P. 45

จริยธรรมในการจัดการด้านอาหารและโภชนาการ 3-35

            2)	 กฎหมายท่ีมีกระบวนการพิจารณาคดีเอื้อต่อผู้บริโภค ที่สามารถฟ้องด้วยวาจา หรือเป็น
หนังสือก็ได้ โดยต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายใน 3 ปี เมื่อรู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจท่ีกระท�ำผิด
แต่ไม่เกิน 10 ปี นับจากวันที่รู้ความเสียหาย ถ้ามีการเจรจาความเสียหายให้อายุความสะดุดหยุดลงและภาระ
การพิสูจน์สินค้าเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ

            3)		วิธีการพิจารณาคดีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม มีมาตรการเปรียบเทียบปรับ
เชิงลงโทษในกรณีท่ีผู้ประกอบธุรกิจกระท�ำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค ให้ศาลมีอ�ำนาจสั่งให้ผู้ประกอบ
ธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพ่ือการลงโทษเพิ่มข้ึน แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย

            4)	 	ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายคือผู้ประกอบการสามารถฟ้องคดีโดยใช้วิธีการพิจารณาคดี
ผู้บริโภคน้ีได้ในเขตศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิล�ำเนาอยู่

            5)		หากความเสียหายไม่เกิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) ให้ย่ืนฟ้องต่อศาลแขวง ถ้า
เกิน 300,000 บาทให้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด หรือศาลแพ่ง

14.	พระราชบญั ญัตคิ วามรับผิดตอ่ ความเสียหายที่เกดิ ขึน้ จากสนิ คา้ ทีไ่ มป่ ลอดภัย พ.ศ. 2551

       14.1	 ก�ำกับดูแลโดยส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี
       14.2	 เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายฉบับน้ี เนื่องจากการที่ผู้บริโภคจะตรวจพบว่าสินค้า
ไม่ปลอดภัยน้ันกระท�ำได้ยาก เม่ือผู้บริโภคน�ำสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไปใช้ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สินของผู้บริโภค หรือบุคคลอื่นได้
       14.3	 สินค้า ในกฎหมายฉบับนี้หมายความว่าสังหาริมทรัพย์ทุกชนิดท่ีผลิต (ท�ำ  ผสม ปรุงแต่ง
ประกอบ ประดิษฐ์ แปรสภาพ เปล่ียนรูป ดัดแปลง คัดเลือก แบ่งบรรจุแช่เยือกแข็ง หรือฉายรังสี รวมถึง
การกระท�ำใด ๆ ท่ีมีลักษณะท�ำนองเดียวกัน) หรือน�ำเข้าเพื่อขายรวมทั้งผลิตผลเกษตรกรรม (ไม่รวมถึง
ผลิตผลทางธรรมชาติ) และให้หมายความรวมถึงกระแสไฟฟ้า ยกเว้นสินค้าตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง

            1)		สินค้าท่ีไม่ปลอดภัย ในกฎหมายฉบับน้ีหมายความว่าสินค้าท่ีก่อหรืออาจก่อให้เกิด
ความเสียหายขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะจากความบกพร่องในการผลิตหรือออกแบบ หรือมิได้ก�ำหนดวิธีใช้
วิธีเก็บรักษา ค�ำเตือน หรือข้อมูลเก่ียวกับสินค้า หรือก�ำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ชัดเจนตามสมควร
ท้ังนี้โดยค�ำนึงถึงสภาพของสินค้ารวมลักษณะการใช้งานและการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึง
คาดหมายได้

            2)		กฎหมายคุ้มครองเม่ือผู้บริโภคได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะ
เป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ (ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว
ความวิตกกังวล ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอ่ืนที่มีลักษณะท�ำนอง
เดียวกัน) หรือทรัพย์สิน ท้ังนี้ไม่รวมถึงความเสียหายต่อตัวสินค้าท่ีไม่ปลอดภัยนั้น ให้ได้รับการเยียวยาอย่าง
เพียงพอ และเหมาะสม
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50