Page 49 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 49
สภาพสงั คม 4-39
เรื่องที่ 4.3.1
การศึกษาในปัจจุบนั
ระบบการศึกษาเร่ิมต้นอย่างช้าในคริสต์ศตวรรษท่ี 13 โดยมี “วัด” เป็นแหล่งการศึกษาสาคัญ
ในอดีตจึงมีแต่เด็กผู้ชายเท่านั้นท่ีรู้หนังสือจนอ่านเขียนได้ ในขณะที่ “บ้าน” เป็นแหล่งศึกษาของ
เด็กผู้หญิง โดยมีคนในครอบครวั เปน็ ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกบั งานบ้านงานเรือน เม่ือฝร่ังเศสเข้าปกครองและ
ยึดเขมรไว้เป็นรัฐในอาณานิคม “โรงเรียน” จึงเข้ามาแทนที่ “วัด” และเปล่ียนระบบการศึกษาแบบใหม่
ตามท่ีฝร่ังเศสวางไว้ ในปัจจุบันวัดยังเป็นแหล่งศึกษาของชาวเขมรอยู่เพียงแต่ลดบทบาทจากแหล่ง
เรยี นรู้หลัก กลายเป็นแหล่งสนับสนุนการเรยี นรู้
1. หน่วยงานรัฐทด่ี ูแลการศึกษาชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และกีฬา (RksYgGbr; M yvu Cn ngi kILa) เป็นหน่วยงานรัฐมีหน้าที่
รับผิดชอบดแู ลการศึกษาของประเทศ ได้กาหนดวสิ ัยทัศน์สาคญั คือ
“สร้ างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและคุณธรรม เพ่ือจรรโลงสังคมเขมรให้
ก้าวหน้า โดยอาศัยความรู้เป็นฐานสาคัญในการพัฒนาประเทศ”
วิสัยทัศน์ของกระทรวงฯ เห็นได้ชัดว่าต้องการมุ่งพัฒนาประเทศโดยอาศัยการศึกษาเป็นฐาน
สาคัญไปสู่ความเจริญทดั เทยี มนานาประเทศ จึงได้กาหนดนโยบายการศึกษาสาคัญไว้ 3 ประการ (สรุป
ความจาก www.moeys.gov.kh สบื คน้ เม่ือวนั ที่ 20 มถิ นุ ายน 2561)
นโยบายการศึกษาที่ 1 ใหป้ ระชาชนเขา้ ถึงการศกึ ษาได้อยา่ งทว่ั ถงึ และเปน็ ธรรม
เด็กเขมรทุกคนต้องได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และมี
โอกาสไดร้ ับการศึกษาในระดับสูงต่อไป ส่วนเด็กท่ไี มม่ ีโอกาสเข้ารับการศกึ ษาในระบบ รัฐจะจัดการศึกษา
อ่ืนเพ่ือให้การศกึ ษาเขา้ ถึงทกุ คน