Page 53 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 53
สภาพสงั คม 4-43
(RksYgkargarnigbNHþú bNþalviC¢aCIv³) สถานศกึ ษาท่ีจดั การศึกษาสายอาชีพเรยี กว่า วิทยาสถาน (viTüasßan)
(http://www.moeys.gov.kh/kh/ policies-and-strategies)
3) ระดบั อดุ มศึกษา (]tþmsikSa) เป็นการศกึ ษาขนั้ สงู ระดับปริญญาตรีใชเ้ วลาศึกษา 4-7 ปี ขน้ึ
กับหลักสูตรท่ีเข้าศึกษา สถาบันการศึกษาท่ีจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาคือมหาวิทยาลัย
(saklviTüal½y) ภายในมหาวิทยาลัยจะแบ่งเป็นคณะ (mhaviTüal½y) นอกจากการศึกษาระดับ
ปริญญาตรียังมีการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก) เพ่ือสร้างนักวิชาการ หรือ
นักวิชาชีพชั้นสูงเช่ียวชาญเฉพาะด้าน ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีท้ังท่ีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
หรือมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน ซ่ึงมีทั้งมหาวิทยาลัยที่มาจากต่างประเทศและ
มหาวิทยาลัยในประเทศ การขยายตัวของการศึกษาระดับ อุดมศึกษาแสดงให้เห็นว่าชาวเขมรมีความ
ต้องการการศกึ ษาในระดับสงู
3. ความร่วมมอื ทางการศึกษาระหว่างไทย-กมั พูชา
ประเทศไทยให้ความร่วมมือและสนับสนุนด้านการศึกษาแก่กัมพูชาต้ังแต่ ค.ศ. 1961 โดยมอบ
ทุนฝึกอบรมและศึกษาดูงานแก่ชาวเขมร ต่อมาใน ค.ศ. 1993 จึงเริ่มความร่วมมือทางวิชาการระดับ
ทวิภาคีอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสาคัญกับความต้องการด้านการศึกษาของกัมพูชา ท่ีผ่านมาไทย
ได้ให้ความร่วมมือและสนบั สนุนการศกึ ษาในสาขาวิชาตา่ งๆ นอกจากนี้ยังสง่ เสรมิ ความรู้ทางดา้ นเกษตร
การสาธารณสขุ ฯลฯ
ความร่วมมือแบบทวิภาคีที่ไทยสนับสนุนมีหลายลักษณะ ท้ังทุนฝึกอบรมระยะสั้นและทุนการ
ศกึ ษาในระดบั ปรญิ ญา นอกจากน้ีไทยยังเป็นพีเ่ ลยี้ งร่วมพัฒนาหลักสตู รการศกึ ษา โดยจัดในลกั ษณะของ
โครงการความร่วมมือเพื่อการพฒั นา ท้ังพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย หรือโครงการศูนย์
พัฒนาฝีมือแรงงานไทย-กัมพูชา รวมท้ังโครงการพัฒนาความรู้ของบุคลากรสายอาชีพชาวเขมรให้มี
ทักษะวิชาการและวิชาชีพเพิ่มขึ้น เช่น โครงการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล (www.
thaigov.net สืบค้นเมื่อวนั ท่ี 27 มิถุนายน 2561) ความร่วมมือแบบทวภิ าคีดงั กล่าวน้ีส่งเสริมให้การศกึ ษา
กา้ วหนา้ ขึน้ ในอกี ทางหนง่ึ ดว้ ย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์
ทรงให้ความสาคัญในการสนับสนุนการศึกษาแก่กัมพูชา โดยพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนท้ัง
ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา มาต่อเน่ืองกว่า 25 ปี เป็นทุนท่ีเด็กนักเรียนให้ความสนใจและ
สอบแข่งขันปีละเกือบ 3,000 คน การพระราชทานทุนการศึกษาดังกล่าวยังคงมีต่อเน่ืองถึงปัจจุบัน มี
นักเรียนได้รับพระราชทานทุนมาแล้วกว่า 5,000 คน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ-