Page 48 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 48
2-38 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
–TPACK model) และแนวทางการวิจัยใหม่เฉพาะสาขาวิชาการวัดและการประเมินทางการศึกษา เช่น
ผลการประเมินการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมใหม่ จากผลการวิจัยของ Gaoa, Shenb, Wuc, & Krennd
(2019) เร่ือง “ผลของโปรแกรมการประเมิน: การสร้างกรอบความคิด และต้นแบบโปรแกรมสาธิต” และ
แนวทางการเรียนการสอนยุคดิจิทัล จากผลการวิจัยเร่ือง “การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ทางพุทธพิสัยและ
จิตพิสัยของแบบทดสอบคณิตศาสตร์ที่ใช้เกมส์ดิจิทัลเป็นฐาน” ของ Kiili & Ketamo (2018) เป็นต้น และ
ด้านที่ส่ี ประโยชน์โดยตรงของการวิจัยต่อสังคม เป็นท่ีน่าสังเกตว่า ในระยะแรกผลการวิจัยระยะหลังเป็น
ประโยชน์เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย แต่ในยุคสังคมแห่งการเปล่ียนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล มีขอบเขตการวิจัยขยาย
ตัวกว้างขวางครอบคลุมสถานการณ์ของสังคมมากขึ้น เช่น งานวิจัยของ Parshakov & Shakina (2018)
เร่ือง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยแห่งความร่วมมือ (ของบริษัทและมหาวิทยาลัย)
ระหว่างสหภาพรัสเซียและประเทศในยุโรป ซ่ึงมีเป้าหมายส�ำคัญในการวิจัยเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการท�ำงาน
แบบร่วมมือรวมพลังระหว่างมหาวิทยาลัย และบรรษัทภาคเอกชน ผ่านทางระบบการสร้างชุมชนเพ่ือการ
เรียนรู้ อันก่อให้เกิดการพัฒนาความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนในภาพรวม กล่าวในภาพรวม
ได้ว่า “ผลงานวิจัยและคุณภาพของงานวิจัยท่ีท�ำโดยนักวิจัยรุ่นหลัง นับวันแต่จะมีประสิทธิผลสูงมาก และ
มีบทบาทส�ำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้หลายวงการ โดยเฉพาะวงการที่ส�ำคัญ คือ วงการวิจัย ซึ่ง
เน้นความส�ำคัญด้านวิธีวิทยาการวิจัย และวงการวิชาการ ซ่ึงเน้นความส�ำคัญด้านความก้าวหน้าของศาสตร์
และมวลมนุษยชาติในสังคม โดยการสร้างความเจริญก้าวหน้าจากการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย”
2.3 ประโยชนข์ องการทบทวนวรรณกรรมตอ่ ตัวนกั วิจัย การทบทวนวรรณกรรมเป็นประโยชน์ต่อ
ตัวนักวิจัย ในฐานะเคร่ืองมือที่นักวิจัยพัฒนาและได้ผลการพัฒนาที่มีคุณค่ายิ่งต่อตัวนักวิจัย รวม 5 ด้าน
คือ ดา้ นแรก การเสริมสรา้ งพ้นื ฐานความร้แู กน่ กั วิจยั เพื่อแสวงหา ประดิษฐ์ คดิ ค้น สรา้ งสรรคอ์ งค์ความรู้
ใหมท่ ี่เป็นการวจิ ัยขยายผล หรอื ต่อยอดงานวจิ ยั เดมิ ผลการทบทวนวรรณกรรมท่ีถูกต้องตามหลักวิจัยช่วย
ให้นักวิจัยได้เรียนรู้ สะสมความรู้ บูรณาการความรู้ที่มีขยายผลเพ่ือแสวงหา ประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์
องค์ความรู้ใหม่เป็นความรู้เฉพาะตัวท่ีเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในแนวใหม่ ที่ขยายผลต่อยอดจากงานวิจัย
เดิมได้อย่างกว้างขวางและมีคุณค่า ดา้ นทส่ี อง การเสรมิ สรา้ งความมนั่ ใจในการทำ� วจิ ยั ใหแ้ กน่ กั วจิ ยั โดยตรง
ผลการทบทวนวรรณกรรมท่ีถูกต้องตามหลักวิจัยท�ำให้นักวิจัยมีความม่ันใจ เพราะได้ผลจากรายงานวิจัยที่
มีความสมบูรณ์ถูกต้องท้ังด้านการออกแบบการวิจัยขยายผลต่อยอด ด้านการด�ำเนินการวิจัย และด้านผล
การวิจัยที่มีคุณภาพดีมาก ตลอดจนแนวทางการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการพัฒนา
คุณภาพแนวปฏิบัติเดิมให้ดีมากย่ิงขึ้น รวมทั้งเกิดผลกระทบที่ช่วยเพิ่มคุณภาพและคุณประโยชน์ที่มีคุณค่า
ตรงตามความต้องการแก่สังคม ด้านท่ีสาม การเสริมสร้างสมรรถนะด้านความช�ำนาญ/ความเช่ียวชาญใน
กระบวนการวิจัยแก่นักวิจัย จากข้อเท็จจริงท่ีว่า “ยิ่งนักวิจัยท�ำงานวิจัยโดยใช้ประโยชน์จากการทบทวน
วรรณกรรมท่ีเหมาะสมได้มากเท่าไร ยิ่งมีผลโดยตรงท�ำให้นักวิจัยมีความเชี่ยวชาญ/ความช�ำนาญเพ่ิมทบทวี
มากขน้ึ ตามปรมิ าณงานวจิ ยั ทท่ี ำ� มากเทา่ นน้ั ” กอ่ ใหเ้ กดิ การพฒั นาแนวคดิ ใหม่ แบบแผนการวจิ ยั ใหม่ ระเบยี บ
วิธีวิจัยใหม่ และเคร่ืองมือวิจัยใหม่ ซ่ึงมีผลท�ำให้งานวิจัยระยะหลังมีแบบแผนการวิจัยที่มีนวัตกรรมทันสมัย
ทันเหตุการณ์ของโลก มีผลท�ำให้ได้ผลการวิจัยที่มีคุณค่าโดยตรงและโดยอ้อมต่อวงวิชาการ วงการวิจัย และ