Page 46 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 46

2-36 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

“If I have seen a little futher it is by ‘standing on the shoulders of Giants’” เฉพาะสว่ น ‘standing
on the shoulders of Giants’ เป็นอุปลักษณ์ (metaphore) ใส่ในหน้าจอแรกของ ‘Google Scholar’
เป็นเคร่ืองเตือนใจให้นักวิจัยค้นคืนงานวิจัยใหม่ล่าสุดมาเป็นฐานรองรับงานวิจัยของตน” น้ัน ในที่นี้เพ่ือ
ตอบสนองต่อ “อุปลักษณ์ตามค�ำกล่าวของ Sir Isac Newton ในหน้าจอแรกของ ‘Google Scholar’
ผู้เขียนจึงได้น�ำเสนองานวิจัยของ Brocke, Simons, Niehaves, & Reimer (2009) ซ่ึงระบุไว้ว่า
การทบทวนวรรณกรรมที่เหมาะสมน้ัน นักวิจัยต้องต้องเริ่มต้นด้วยกิจกรรม ‘การสืบค้น และการค้นคืน
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและตรงกับงานวิจัยท่ีจะท�ำ’ อันเป็นกิจกรรมตามอุปลักษณ์ ‘การสร้างยักษ์’
ย่ิงนักวิจัยค้นคืนวรรณกรรมที่ตรงและเก่ียวข้องกับงานวิจัยได้จ�ำนวนมากเท่าไร แสดงว่าโครงสร้างของยักษ์
ที่นักวิจัยสร้างจากการค้นคืนวรรณกรรมย่ิงมีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงเป็นเงาตามตัว ท�ำให้นักวิจัยมี
มุมมองที่กว้างขวางจากการยืนบนไหล่ของยักษ์ที่มีขนาดสูงใหญ่และแข็งแรง อันจะส่งผลให้ได้ “การทบทวน
วรรณกรรมที่มีคุณประโยชน์สูงมาก” ตามไปด้วย

       การเสนอสาระตอนน้ีมุ่งให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของผลการสร้างยักษ์ อันเป็นอุปลักษณ์ของกิจกรรม
การทบทวนวรรณกรรมที่มีหลักการเหมาะสมและเป็นประโยชน์ จากผลการศึกษาสรุปสาระในวรรณกรรมท่ี
เก่ยี วข้อง ประกอบด้วย Baker, 2000; Bell, 1993; Bem, 1995; Brocke, Simons, Niehaves, & Reimer,
2009; Holweg, & van Donk, 2009; Levy & Ellis, 2006; Neuman, 1991; Palmatier, Houston, &
Hulland, 2018 สรุปประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม แยกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านประโยชน์ในฐานะ
เคร่ืองมือที่มีคุณค่าต่อการท�ำวิจัย ด้านประโยชน์ต่อผลงานวิจัย คุณภาพงานวิจัย และสังคม ด้านประโยชน์
ต่อตัวนักวิจัย และด้านประโยชน์ต่อวงวิชาการ ดังน้ี

       2.1 	ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรมในฐานะเคร่ืองมือท่ีมีคุณค่าต่อการท�ำวิจัย การทบทวน
วรรณกรรมเป็นประโยชน์ในฐานะเครื่องมือมีคุณค่าต่อผลการวิจัยท่ีส�ำคัญ 5 ประการ คือ ประการแรก เปน็
เครื่องมือส�ำหรับนักวิจัยใช้ในการเช่ือมโยงความรู้ทางวิชาการ การทบทวนวรรณกรรมช่วยให้นักวิจัย
เช่ือมโยงองค์ความรู้/ผลงานวิจัยในอดีต และองค์ความรู้ใหม่ที่จะได้จากงานวิจัยท่ีจะท�ำ บอกได้ชัดเจนว่า
นักวิจัยท�ำงานวิจัยต่อยอดในประเด็นใด ส่ิงท่ีท�ำเพ่ิมใหม่เป็นนวัตกรรมมีคุณค่ามากน้อยอย่างไร ประการที่
สอง เปน็ เครอื่ งมอื ประกนั คณุ ภาพดา้ นนวตั กรรมของผลงานวจิ ยั เม่ือนักวิจัยท�ำงานต่อยอดจากผลงานวิจัย
ในอดีตด้วยเหตุผลท่ีหนักแน่นเพื่อปรับปรุงผลงานวิจัยในอดีตส่วนที่ยังบกพร่อง ย่อมประกันได้ว่าผลงาน
วิจัยใหม่มีส่วนท่ีเป็นนวัตกรรมแตกต่างจากงานวิจัยในอดีต ไม่ซ้ําซ้อนกับผลงานวิจัยในอดีต และไม่ส้ิน
เปลืองทรัพยากรโดยไม่จ�ำเป็น ประการที่สาม เป็นเคร่ืองมือส�ำคัญที่นักวิจัยใช้แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ท่ีมี
คณุ คา่ เพราะนักวิจัยต้องศึกษาวรรณกรรมประมวลสาระสรุปจากหนังสือ/ต�ำรา รายงานวิจัย/บทความวิจัย
และบทความวิชาการท่ีผ่านมาในอดีต เพื่อน�ำความรู้ข้อค้นพบที่ได้มาพิจารณาว่ายังมีส่วนใดท่ีต้องแก้ไข/
ปรับปรุง/พัฒนา และใช้ความคิดดัดแปลง/สร้าง/เสริม/พัฒนาแนวคิดใหม่ที่เป็นนวัตกรรม น�ำมาสร้างกรอบ
แนวคิดเชิงทฤษฎี (theoretical framework) และ/หรือกรอบแนวคิดส�ำหรับการวิจัย (research frame-
work) ท่ีต่อยอดจากผลงานวิจัยในอดีต และน�ำไปใช้ประโยชน์เป็นฐานความคิดในการก�ำหนดสมมติฐาน
วิจัย การก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินการวิจัยที่มีนวัตกรรมเพ่ือต่อยอดงานวิจัยในอดีตอย่างงดงาม เปรียบ-
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51