Page 45 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 45
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-35
กลา่ วโดยสรปุ สาระหวั ขอ้ ‘วตั ถปุ ระสงคข์ องการทบทวนวรรณกรรม’ ดา้ นประวตั คิ วาม
เป็นมา สรุปได้ว่า ในอดีตการทบทวนวรรณกรรมยังไม่มีรูปแบบท่ีชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นการสังเคราะห์
หลกั ฐานเอกสารทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การวจิ ยั ทม่ี แี นวปฏบิ ตั ติ า่ งกนั ตอ่ มานกั วจิ ยั เรม่ิ ใชห้ ลกั การทบทวนวรรณกรรม
แบบมีระบบ (systematic literature reviews - SLR) ตามลักษณะการวิจัยตามมาตรฐานสากล ซึ่งเร่ิมใช้
ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์เป็นครั้งแรกช่วงทศวรรษที่ 1990s ปรากฏผลงานวิจัยหลายเรื่องท่ีพิมพ์เผยแพร่
ในวารสาร JAMA รวมทั้งในการประชุมวารสารวิชาการของอังกฤษร่วมกับ UK Cochrane Centre ในปี
ค.ศ. 1992 ต่อมาช่วงกลางทศวรรษท่ี 1990s แนวคิดการทบทวนวรรณกรรมแบบ SLR ได้รับการยอมรับ
จาก นักวิจัยในสาขาวิชาการศึกษา จิตวิทยา การพยาบาล บรรณารักษศาสตร์ และสังคมศาสตร์สาขาวิชา
อน่ื ๆ นำ� มาใชใ้ นการวจิ ยั ของตน ในฐานะรปู แบบการทบทวนวรรณกรรมทมี่ วี ตั ถปุ ระสงคแ์ ละวธิ กี ารมาตรฐาน
(standardized method) ในการด�ำเนินงานเข้มงวด มีผลท�ำให้การทบทวนวรรณกรรมได้รับความเช่ือถือว่า
มีคุณสมบัติเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific) สามารถท�ำซํ้าได้ (replicable) เป็นปรนัย (objective)
ไม่ล�ำเอียง (unbiased) และเข้มงวด (rigorous) รวมทั้งผลการทบทวนวรรณกรรมตรงตามวัตถุประสงค์ที่
ก�ำหนด และมีคุณภาพดีกว่าการทบทวนวรรณกรรมแบบเก่า วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม
แบ่งตามกิจกรรมการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจ�ำแนกเป็น 2 ประเภท ต่อเนื่องกัน คือ 1) วัตถุประสงค์
ของกิจกรรมการค้นคว้า/ค้นคืนวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง เพื่อให้นักวิจัยมีความรอบรู้และมีศักยภาพเป็น
อย่างดี 2 ด้าน คือ (1) ด้านความรู้สารสนเทศ การระบุประเภท ต�ำแหน่งท่ีอยู่ และวิธีการค้นคืนวรรณกรรม
แบบใหม่ และ (2) ดา้ นการดำ� เนนิ การค้นคนื การประเมิน การคดั สรร การอา่ น การบันทึก และการสังเคราะห์
วรรณกรรม และ 2) วัตถุประสงค์ของกิจกรรมการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จ�ำแนกเป็นวัตถุประสงค์
ย่อย 5 ด้าน เพ่ือให้ได้ (1) โครงร่างรายงานผลการทบทวนวรรณกรรม ส�ำหรับการวิจัยใหม่ (2) ร่างรายงาน
ผลการทบทวนวรรณกรรมใหม่ ทเี่ หมาะสมกวา่ งานวจิ ยั ในอดตี (3) แนวคดิ ใหม่ นวตั กรรมตอ่ ยอดเพอ่ื พฒั นา
ผลการวิจัยเดิมที่ยังบกพร่อง (4) ร่างวิธีการวิจัยใหม่ท่ีมีนวัตกรรม จุดเด่น และมีคุณภาพสูงกว่างานวิจัยเดิม
และ (5) เป้าหมายผลงานวิจัยใหม่ที่สร้างเสริมความก้าวหน้าขององค์ความรู้
อนึ่งวัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมทั้ง 2 ด้าน ท่ีน�ำเสนอข้างต้น ยังก�ำหนด
สาระลงรายละเอียดให้เห็นความต่อเน่ืองและความสัมพันธ์เช่ือมโยงระหว่างกิจกรรมได้ว่า กิจกรรมท้ัง
2 ด้าน มีแต่ละด้านแยกเป็นกิจกรรม 4 ด้าน โดยท่ีแต่ละด้านเป็นกิจกรรมท่ีต่อเน่ืองกัน และสัมพันธ์เชื่อม
โยงกัน ในการปฏิบัติงานนักวิจัยจึงก�ำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุกด้านท้ัง 8 ด้าน และด�ำเนินการสลับ
กันได้ตามลักษณะความต่อเนื่องและความสัมพันธ์เช่ือมโยงระหว่างกิจกรรมดังภาพท่ี 2.4 ที่เสนอข้างต้น
2. ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม
เนื่องจากสาระน�ำเร่ืองที่เสนอในหัวข้อเร่ืองท่ี 2.1.2 วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการศึกษา
วรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง ในตอนท่ีกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง ผู้เขียนได้
ระบุว่า “นักวิจัยควรต้องศึกษางานวิจัยในอดีตให้ได้สาระเป็นฐานความคิดในการวิจัยต่อยอดขึ้นไป...ดังท่ี
กลไกค้นคืน (search engine) เอกสารชื่อ ‘Google’ ได้น�ำค�ำกล่าวของ Sir Isac Newton ท่ีกล่าวไว้ว่า