Page 49 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 49
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-39
วงการวชิ าชพี ของนกั วจิ ยั ดว้ ย ดา้ นทส่ี ่ี การเสรมิ สรา้ งพลงั สรา้ งสรรค์ และดา้ นทห่ี า้ การกอ่ กำ� เนดิ วธิ วี ทิ ยาการ
วิจัยใหมจ่ ากแนวคิดความเช่ยี วชาญของนักวจิ ัย เมื่อนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านการทบทวนวรรณกรรม และใช้
หลักการสังเคราะห์งานวิจัยในงานวิจัยมากขึ้น ย่อมเกิดการรวมตัวกันก่อตั้งเป็นชมรมเฉพาะทางท�ำหน้าท่ีรับ
ผิดชอบการสร้างกฎเกณฑ์แนวทางการวิจัยแนวใหม่ที่เกิดขึ้น เกิดการขยายตัวทางองค์ความรู้ด้านวิธี
วทิ ยาการวจิ ยั จากความคดิ เหน็ ของนกั วจิ ยั รว่ มกนั อยา่ งกวา้ งขวาง หลกั ฐานสำ� คญั คอื ผลจากการใชแ้ นวทาง
การทบทวนวรรณกรรมเป็นวิธีการวิจัย ซึ่งปัจจุบันเป็นท่ีรู้จักกันดีในชื่อเรียกว่า “การสังเคราะห์งานวิจัย
(research synthesis)” ซึ่งมีทั้งการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ เช่น การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัย
(meta-analysis of research) และการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ เช่น การวิเคราะห์ชาติพันธ์วรรณา
อภิมาน (meta-ethnography of research of research) (Cooper & Hedges, 1994; Glass, McGaw,
& Smith, 1981; Noblit & Hare, 1988) งานวิจัยประเภทการสังเคราะห์งานวิจัยนี้มีคุณค่ามหาศาลต่อวง
วิชาการและสังคม เพราะนักวิชาการประหยัดเวลาได้โดยไม่ต้องอ่านรายงานวิจัยนับร้อยเร่ือง ใช้เวลาเพียง
แต่อ่านรายงานการสังเคราะห์งานวิจัยฉบับเดียวก็ได้รับความรู้เสมือนหน่ึงได้อ่านรายงานวิจัยต้นฉบับ
นับร้อยเร่ือง
2.4 ประโยชนข์ องการทบทวนวรรณกรรมตอ่ วงวชิ าการ การทบทวนวรรณกรรมท้ัง “ด้านวิธีวิทยา
และด้านผลท่ีได้จากกิจกรรมการทบทวนวรรณกรรม” ล้วนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการเป็นอเนกประการ
สรุปได้ 4 ด้าน คือ ดา้ นแรก การน�ำความคดิ ใหม/่ นวตั กรรมไปวจิ ัย/พฒั นาต่อยอด นักวิจัยสามารถน�ำความ
คิดใหม่/นวัตกรรมที่ได้รับไปวิจัยพัฒนาต่อยอดในงานวิจัยของตนได้ ท�ำให้ได้งานวิจัยท้ังวิทยานิพนธ์ และ
งานวิจัยทางวิชาชีพของนักวิจัยผู้นั้นมีนวัตกรรมทันสมัยให้ผลการวิจัยที่มีคุณค่าสูง ดา้ นทส่ี อง ประโยชนต์ อ่
การเรยี นการสอนระเบยี บวธิ วี จิ ยั กล่าวคือ คณาจารย์มหาวิทยาลยั สามารถน�ำสาระไปใช้ในการเรยี นการสอน
ได้ทั้ง 2 แบบ คือ แบบการสอนเฉพาะเรอื่ ง ‘การทบทวนวรรณกรรม’ อันเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ‘ระเบียบ
วิธีวิจัย’ ซึ่งมีผลท�ำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการทบทวนวรรณกรรมที่มีคุณค่าสูง และผลิตผลงานวิจัยที่มี
คุณภาพ และแบบการสอนเปน็ รายวชิ า ‘การสงั เคราะหง์ านวจิ ยั ’ ซ่ึงการเรียนการสอนย่อมมีผลท�ำให้ผู้เรียน
มีความรู้และทักษะในการสังเคราะห์รายงานวิจัยแบบต่าง ๆ หลากหลาย ได้ความรู้มหาศาลเป็นประโยชน์
ต่อการท�ำงานวิจัยท่ีทันสมัย ทันเหตุการณ์ ดา้ นท่ีสาม ประโยชนต์ ่อการพฒั นาการวิจยั ผลการวจิ ัย และการ
เรียนการสอนให้เหมาะสมกับยุคดิจิทัล นับแต่มีการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
อันเกิดจากผลการวิจัยทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ซ่ึงเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล มีผลท�ำให้
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องเตรียมรับผลการพัฒนาท่ีเกิดข้ึนจากผลการวิจัยแบบสหวิทยาการ จากการท�ำงานของ
นักวิชาการทุกสาขาวิชาท่ีเกี่ยวข้องร่วมกัน เพ่ือให้มีความรู้รองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งน้ี
นักวิชาการทุกสาขาวิชาการต้องปรับตัว เพ่ือรับเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์
ของตน นักวิจัยต้องเรียนรู้เทคนิคการวิจัยแบบดิจิทัล ในฐานะเครื่องมือส�ำคัญประการหน่ึงในการแสวงหา
ความรู้ใหม่ท่ีมีปริมาณเพ่ิมข้ึนอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และต้องปรับตัวท�ำวิจัยแบบดิจิทัล
รองรับแนวคิดการพัฒนาการศึกษาและสังคมยุคดิจิทัลด้วย โดยเฉพาะอย่างย่ิงกลุ่มบุคลากรผู้สอนใน
มหาวิทยาลัยจัดว่าเป็นบุคลากรกลุ่มแรกท่ีต้องพัฒนาปรับปรุงตนเองก่อนกลุ่มอื่น เพ่ือให้มีความรู้และ