Page 54 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 54
2-44 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ภาคผนวกท้ายเรอ่ื งที่ 2.1.1
การเสนอสาระในส่วนของภาคผนวกน้ีมุ่งเสนอสาระรวม 3 ด้าน คือ ด้านหลักปรัชญาการวิจัย ด้าน
กระบวนการวิจัย และด้านดัชนีคุณภาพและรหัสมาตรฐานสากลประจ�ำวรรณกรรม ส�ำหรับผู้อ่านที่ยังขาด
ความรู้ และส�ำหรับผู้อ่านท่ีมีความรู้แต่ต้องการทบทวนความรู้ให้แม่นย�ำมากขึ้น เกิดความเข้าใจความหมาย
ของหลักปรัชญาการวิจัย และด้านกระบวนการวิจัย และเห็นความเช่ือมโยงระหว่างการใช้หลักปรัชญาการ
วจิ ยั ในการกำ� หนดกระบวนการวจิ ยั ไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง รวมทงั้ มคี วามรดู้ า้ นดชั นคี ณุ ภาพและรหสั มาตรฐานสากล
ประจ�ำวรรณกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการค้นคืนวรรณกรรม ดังสาระท่ีน�ำเสนอต่อไปน้ี
1. หลกั ปรชั ญาการวิจัย
การวิจัย เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริง/การประดิษฐ์คิดค้น/การพัฒนานวัตกรรม โดย
มีพื้นฐานทางปรัชญา และวิธีการท่ีมีระเบียบแบบแผนตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
แตกต่างกันตามประเภทของการวิจัยท่ีส�ำคัญแยกได้เป็น 3 แบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative
research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิจัยผสมวิธี (mixed method research)
แต่ละแบบใช้หลักปรัชญา (philosophy) แตกต่างกัน ผู้เขียนสังเคราะห์สรุปสาระจาก พจน์ สะเพียรชัย
(2561); Creswell (2014); Creswell & Clark (2011); Hart (1998); James (2010); Knight (1999); Lee
(2012) และ Peterson & Gencel (2013) สรุปได้ว่าการวิจัยตามโลกทัศน์ (worldview) ทั้ง 3 แบบ ใช้หลัก
ปรัชญา (philosophy) ทั้ง 5 ด้านแตกต่างกัน คือ 1) ภววิทยา (ontology) ว่าด้วยธรรมชาติของความรู้
ความจริง 2) ญาณวทิ ยา (epistemology) ว่าด้วยการแสวงหาความรู้ความจริง 3) คุณวทิ ยา หรอื อรรฆวิทยา
(axiology) ว่าด้วยคุณค่า อุดมคติของความรู้ความจริง แบ่งเป็น 3 สาขาวิชา คือ จริยศาสตร์ ตรรกศาสตร์
และสุนทรียศาสตร์ เน้นด้านศีลธรรมจรรยา ศาสนา และความ สวยงาม 4) วิธวี ทิ ยา (methodology) ว่าด้วย
ระบบหลักคิดและกฎเกณฑ์ท่ีช่วยให้นักวิจัยประมวลความรู้แนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีท่ีเก่ียวข้องให้เกิด
ความรู้ความเข้าใจ ปัญหาวิจัยชัดเจน จนสามารถเลือกแนวทางด�ำเนินงานวิจัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ทกุ ขนั้ ตอน และ 5) วาทศลิ ป์ (rhetoric) วา่ ดว้ ยวิทยาการสาขาวิชาศิลปะการใช้ถ้อยคำ� ในการพูดและการเขยี น
ใช้ส�ำนวน/โวหารได้อย่างมีประสิทธิผลในการเสนอ/การอภิปรายงานวิจัย และการเขียนรายงานวิจัยที่มี
รูปแบบและสาระตรงตามหลักตรรกะในการด�ำเนินการวิจัย ดังแนวทางการวิจัยหลัก 3 ประเภท ต่อไปน้ี
การวจิ ยั เชงิ ปรมิ าณ (quantitative research) การวจิ ยั เชงิ ปรมิ าณใชโ้ ลกทศั น/์ กระบวนทศั น์ (world-
view or paradigm) แบบ ‘หลังปฏิฐานนิยม (postpositiviem)’ 5 ด้าน คือ 1) ภววิทยา ใช้โลกทัศน์
แบบกำ� หนดนยิ ม (determinism) ใหไ้ ดค้ วามรคู้ วามจรงิ ทมี่ อี ยแู่ บบเดยี ว (single reality) มุ่งศึกษาปัญหาวิจัย
ประเภทความสมั พนั ธเ์ ชงิ สาเหตุ ใหไ้ ดแ้ นวทางในการพฒั นาตวั แปรผลลพั ธท์ เี่ กดิ จากการพฒั นาตวั แปรสาเหตุ
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมมติฐานวิจัย เช่น ‘ตัวแปร X เป็นสาเหตุท�ำให้ตัวแปร Y มีค่าเพ่ิมข้ึน’ หรือ ‘X
มีอิทธิพลทางตรง และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ Y ผ่าน Z’ 2) ญาณวทิ ยา ใช้โลกทัศนแ์ บบลดทอนนยิ ม (reduc-
tionism) มุ่งศึกษาเฉพาะตัวแปรคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กันเด่นชัด และควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีความ
สัมพันธ์กับตัวแปรตาม ให้ได้ผลการศึกษาตอบปัญหาวิจัยได้ตรงและเหมาะสม 3) คณุ วทิ ยา ใชโ้ ลกทศั นแ์ บบ
การสังเกตและการวดั แบบประจกั ษน์ ิยม (empirical observation and measurement) มุ่งใช้การสังเกตและ