Page 58 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 58
2-48 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
จากงานวิจัยเดิม โดยมีการกำ� หนดปญั หาวจิ ยั เจาะลึกใหไ้ ด้ผลการวจิ ัยละเอียดลกึ ซง้ึ มากย่งิ และเส้นทางวงจร
วิจัยวงจรต่อยอดใหม่มีขอบเขตขยายมากข้ึนทั้งในแนวกว้างและแนวลึก ดังต่อไปน้ี
ขนั้ ตอน 1 การตง้ั ปญั หาวจิ ยั หรอื กำ� หนดโจทยป์ ญั หาวจิ ยั ขั้นตอนการตงั้ ปัญหาวจิ ยั คอื การส�ำรวจ
ความสนใจ และความต้องการในการวิจัย รวมท้ังการศึกษาผลงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องในอดีต และผลงานวิจัย
ใหม่ ๆ จนนักวิจัยมีความรู้/ข้อมูลใหม่ สามารถระบุปัญหาหรือโจทย์วิจัยใหม่ได้ และสามารถปรับปรุงปัญหา
วิจัยให้เหมาะสมยิ่งข้ึนได้ ปัญหาวิจัยท่ีก�ำหนดข้ึนน้ีจะเป็นเสมือนเข็มทิศให้นักวิจัยใช้เป็นแนวทางในการ
ดำ� เนนิ งานวจิ ยั ขน้ั ตอน 2-11 โดยการดำ� เนนิ งานทกุ ขนั้ ตอนยดึ โยงกบั ปญั หาวจิ ยั และไมอ่ อกนอกกรอบปญั หา
วิจัย ทั้งน้ีแนวคิดในการตั้งปัญหาวิจัยในการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพแตกต่างกันตาม
หลักปรัชญาการวิจัยท่ีแตกต่างกัน
ในข้ันตอนการต้ังปัญหาวิจัยนี้ นักวิจัยต้องศึกษาวรรณกรรม โดยเฉพาะสภาพความเป็นจริง และ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเร่ืองที่นักวิจัยจะท�ำ เพื่อเรียนรู้ว่าสภาพความเป็นจริงและผลงานวิจัยท่ีผ่านมาได้
องค์ความรู้ในประเด็นใดแล้ว ยังเหลือประเด็นใดที่ต้องท�ำวิจัยต่อเน่ืองให้ลึกซึ้งมากข้ึน เพื่อที่นักวิจัยไม่ต้อง
ท�ำวิจัยซํ้าซ้อนกับงานวิจัยในอดีต หากนักวิจัยต้องการท�ำวิจัยในแนวเดียวกับการวิจัยในอดีต นักวิจัยต้องมี
ประเด็นปัญหาวิจัยต่อยอด/ขยายผลเพ่ือให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่กว้างและลึกมากข้ึน ดังน้ันนักวิจัยจึงต้อง
ทบทวนวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องเพื่อเรียนรู้ว่า 1) ผลการวิจัยล่าสุดเป็นอย่างไร มีข้อเสนอแนะให้ท�ำวิจัยต่อ
เนื่องไปในทิศทางใด 2) สภาพความเป็นจริงมีการพัฒนาตามผลการวิจัยเป็นอย่างไร ควรต้องท�ำวิจัยต่อไป
อย่างไร และ 3) ผลงานวิจัยใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มในการวิจัยแบบใด และใช้วิธีการวิจัยทันสมัย
แตกต่างจากเดิมอย่างไร เพื่อนักวิจัยจะได้ใช้เป็นแนวทางช่วยในการตัดสินใจก�ำหนดปัญหาวิจัยที่ใหม่
ไม่ซ้ําซ้อนกับงานวิจัยในอดีต และมีนวัตกรรมท่ีเป็นประโยชน์ อันเป็นการเพ่ิมคุณค่าให้งานวิจัยของนักวิจัย
ขน้ั ตอน 2 การทบทวน (การค้นคว้า การศกึ ษา และการน�ำเสนอ) วรรณกรรม ภาระงานขั้นตอนน้ี
มีความส�ำคัญมาก เพราะขั้นการทบทวน (review) เป็นขั้นตอนท่ีนักวิจัยต้องสร้างฐานความรู้ใหม่ให้ตนเอง
มากเพียงพอส�ำหรับด�ำเนินการวิจัยให้ส�ำเร็จตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ก�ำหนด สาระส�ำคัญในข้ันตอนนี้มี 3
กิจกรรม คือ 1) การคน้ ควา้ วรรณกรรม (literature searching) นักวิจัยต้องมีความรู้ความช�ำนาญในการระบุ
ค�ำส�ำคัญ (keywords) ประเภทวรรณกรรม แหล่งเก็บวรรณกรรม การสืบค้นและการค้นคืน (retrieve)
วรรณกรรม โดยควรมีทักษะในการค้นคืน (retrieve) วรรณกรรมตามท่ีก�ำหนด ท้ังการค้นคืนด้วยตนเอง
และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการจัดหาวรรณกรรมท่ีค้นคืนได้ 2) การศึกษาวรรณกรรม นักวิจัย
น�ำวรรณกรรมท่ีค้นคว้าได้ มาศึกษาวรรณกรรม โดยเริ่มต้นด้วยการประเมินคุณภาพวรรณกรรมตามเกณฑ์
ท่ีก�ำหนด เพ่ือคัดกรองให้ได้วรรณกรรมท่ีมีคุณภาพเหมาะสม และมีจ�ำนวนเหมาะสมตามความต้องการ จาก
นั้นจึงอ่านวรรณกรรมที่ผ่านการคัดกรองท�ำความเข้าใจ และจดบันทึกเน้ือหาสาระท่ีเก่ียวข้องกับการวิจัยของ
ตนทุกเร่ืองและสรุปสังเคราะห์เน้ือหาสาระทั้งหมดโดยการจด/พิมพ์ในกระดาษ หรือโดยการใช้โปรแกรม
คอมพวิ เตอรเ์ พอ่ื บนั ทกึ สาระทไี่ ดจ้ ากผลการศกึ ษาวรรณกรรม และ 3) การน�ำเสนอผล การศึกษาวรรณกรรม
นักวิจัยน�ำผลการศึกษาวรรณกรรมมาสรุปสาระตามหลักวิจัย โดยอาจเสนอเป็นข้อความ พร้อมทั้งกรอบ
แนวคิดเชิงทฤษฎี (theoretical framework) และกรอบแนวคิด (conceptual framework) รวมท้ังนิยาม
ตัวแปร/ขอบข่ายข้อมูลเชิงคุณภาพ ตามขั้นตอน 2 ในภาพท่ี 1