Page 63 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 63

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-53

คือ การวิจัยเพ่ือศิลปะและการออกแบบ (research for art and design - RfD) หมายถึง การวิจัยเพ่ือศึกษา
ให้ได้ผลการวิจัยด้านกระบวนการและผลงานของนักออกแบบมืออาชีพ การวิจัยในด้านศิลปะและการ
ออกแบบ (research into art and design - RiD) หมายถึง การวิจัยของนักวิชาการในมหาวิทยาลัยและ
ศูนย์วิจัยที่มุ่งศึกษาประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ การด�ำเนินงาน และผลงานในด้านศาสตร์สาขาวิชาการ
ออกแบบ และการวิจัยผ่านศิลปะและการออกแบบ (research through art and design – RtD) หมายถึง
การวิจัยที่เป็นการศึกษากระบวนการออกแบบการวิจัย ส�ำหรับปัญหาวิจัยเฉพาะเร่ือง เพ่ือให้ได้แบบการวิจัย
ใหม่ ทดลองใช้ และตรวจสอบว่าแบบการวิจัยน้ันใช้ได้ผลดีก่อนการใช้จริงผู้อ่านจะเห็นได้ว่า “รปู แบบสอง
รูปแบบแรก (RfD และ RiD) เป็นการวิจัยท่ีนักวิจัยด�ำเนินการออกแบบการวิจัย เป็นขั้นตอนหนึ่งใน
กระบวนการวจิ ยั ” แต่ “รูปแบบทส่ี าม คือ RtD เปน็ การวจิ ัยทแ่ี ตกตา่ งจากรปู แบบ RfD และ RiD เพราะการ
วิจัยแบบ RtD มุ่งวิจยั ให้ไดค้ วามรู้ความเขา้ ใจปฏิสมั พันธร์ ะหวา่ งสภาพแวดลอ้ มกบั แบบการวิจยั โดยศกึ ษา
และออกแบบวิจัยทุกด้านด้วยปฏิบัติการคิดสะท้อน (reflexive practice) และบันทึกกระบวนการออกแบบ
วิจัยทุกขั้นตอน” ซึ่งจัดว่าเป็นการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่สมบูรณ์ และได้รายงานวิจัยที่ตอบค�ำถาม
วิจัยได้อย่างกว้างและลึกซ้ึง

            เมอื่ เปรียบเทียบแนวคดิ ทงั้ 3 แบบ จะเห็นได้วา่ แนวคดิ แรก เน้นความสำ� คัญดา้ น ‘หลกั การ’
ออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ แนวคดิ ทส่ี องทป่ี รับปรงุ แล้ว เน้นด้านการวางกรอบ ‘กระบวนการ’ ออกแบบ
การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ ทอี่ ำ� นวยความสะดวกดา้ นการดำ� เนนิ งานวจิ ยั อยา่ งเปน็ ขนั้ ตอนใหแ้ กน่ กั วจิ ยั และแนวคดิ
ทส่ี าม เน้นความส�ำคัญด้าน ‘การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะใช้กระบวนการออกแบบ
การวิจัยส�ำหรับปัญหาวิจัยเฉพาะเร่ือง เพ่ือให้ได้แบบการวิจัยใหม่ ทดลองใช้ และตรวจสอบว่าแบบการวิจัย
นั้นใช้ได้ผลดีก่อนน�ำไปใช้จริง’ ปัจจุบันน้ีนักวิจัยที่พ่ึงเริ่มท�ำการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นคร้ังแรก ควรท�ำความ
เข้าใจหลักการออกแบบตามแนวคิดแรก และด�ำเนินการออกแบบการวิจัยของตนตามแนวคิดท่ีสอง ส่วน
แนวคิดที่สาม เป็นแนวคิดส�ำหรับนักวิจัยผู้มีประสบการณ์ท�ำงานวิจัยเชิงคุณภาพมาแล้วเป็นอย่างดี

            การทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องมีความส�ำคัญและนักวิจัยควรต้องท�ำในขั้นตอนการ
ออกแบบการวิจัย ตามเหตุผลท่ี Creswell & Clark (2011) อธิบายว่า นักวิจัยต้องอาศัยความรู้จาก
วรรณกรรมที่เก่ียวข้องว่าแบบการวิจัยที่คิดครั้งแรก หรือแบบการวิจัยที่พัฒนาปรับปรุงในแต่ละรอบเหมาะ
สมกับปัญหาวิจัยแต่ละรอบหรือไม่ อย่างไร มีจุดเด่นและจุดอ่อนที่ควรต้องระมัดระวังอย่างไร นอกจากนี้นัก
วิจัยควรต้องศึกษาวรรณกรรมประเภทรายงานวิจัยใหม่ ๆ เพื่อเรียนรู้แนวทางการปรับขยายความรู้ด้าน
แบบแผนการวิจัยท่ีมีอยู่ในอดีตให้ทันสมัยมากยิ่งข้ึนด้วย และเพื่อเรียนรู้วิธีการและตัวอย่างการสร้างกรอบ
แนวคิดในการวิจัย และการก�ำหนดสมมติฐานวิจัยให้ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัยด้วย

            ผู้เขียนขอยํ้าว่า การออกแบบการวิจัยการศึกษาทุกประเภทเป็นการส�ำรวจและตัดสินใจ
ก�ำหนดตัวแปรและ/หรือข้อมูลเชิงคุณภาพในการศึกษา สร้าง/พัฒนา หรือเลือกใช้เครื่องมือวัดตัวแปร/
รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยแยกการด�ำเนินงานออกแบบเป็น 4 ข้ันตอน คือ 1) การออกแบบการเลือก
ตัวอย่างและ/หรือผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญ 2) การก�ำหนดนิยามตัวแปรและ/หรือขอบข่ายข้อมูล รวมทั้งการออกแบบ
และการสร้างเครื่องมือวิจัย 3) การออกแบบการรวบรวมข้อมูล และ 4) การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล และ
การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นการด�ำเนินงานตามวงจรวิจัยขั้นตอน 5–8 ดังต่อไปน้ี
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68