Page 66 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 66

2-56 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

          ขน้ั ตอน 8 การออกแบบและดำ� เนนิ การวเิ คราะหข์ อ้ มลู การด�ำเนินงานข้ันตอนน้ีประกอบด้วยการน�ำ
  ข้อมูลมาจัดสร้างไฟล์ข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลขาดหายและการซ่อมแซมข้อมูลส่วนท่ีขาดหาย การวจิ ยั เชงิ
  ปริมาณ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเบ้ืองต้นให้ทราบลักษณะข้อมูลขาดหายและการประมาณค่าทดแทนตาม
  หลักสถิติการเตรียมฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ส�ำหรับวิเคราะห์ การตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติที่ใช้ในการ
  วิจัย และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบค�ำถามวิจัย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การบรรยายลักษณะภาค
  สนาม/สถานท่ี รวมทั้งลักษณะและประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลการวิเคราะห์เน้ือหาเพื่อตรวจสอบความ
  สมบูรณ์ของข้อมูล และเพ่ือสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละรอบให้ได้กรอบแนวคิดและสมมติฐานวิจัย
  เบื้องต้น รวมท้ังสมมติฐานวิจัยชั่วคราวท่ีนักวิจัยปรับเพิ่มตามข้อมูลใหม่ จนได้ทฤษฎีฐานราก (grounded
  theory) ในขั้นสุดท้าย

          การด�ำเนินการออกแบบและดำ� เนนิ การวเิ คราะหข์ อ้ มลู ดงั กลา่ ว นักวิจยั จำ� เปน็ ตอ้ งอาศัยความรู้จาก
  วรรณกรรมทเี่ กย่ี วขอ้ งใหม่ ๆ ดว้ ยโดยตอ้ งทบทวนวรรณกรรมทเ่ี กยี่ วขอ้ ง เพราะความรใู้ หม่ ๆ จากวรรณกรรม
  ประเภทรายงานวิจัยฉบับพิมพ์เผยแพร่ล่าสุดช่วยให้นักวิจัยเห็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพ่ือตอบค�ำถาม
  วิจัยให้ได้ผลการวิจัยที่สมบูรณ์มากกว่างานวิจัยในอดีต กรณีงานวิจัยเชิงปริมาณ ความรู้ท่ีได้ส่วนใหญ่ คือ
  เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติใหม่ ๆ ที่ให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องแม่นย�ำกว่าวิธีเก่า และกรณงี านวจิ ยั
  เชงิ คณุ ภาพ ความรทู้ ไ่ี ดส้ ว่ นใหญ่ คอื เทคนคิ การวเิ คราะหแ์ ละตคี วามหมายลกึ ซงึ้ มากขน้ึ และการเสนอทฤษฎี
  ฐานราก (grounded theory) แบบต่าง ๆ ซ่ึงนักวิจัยต้องตรวจสอบและปรับปรุง

          ขั้นตอน 9 การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล การด�ำเนินงานขั้นตอนนี้เป็นการขยายความ
  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้สาระส�ำคัญท่ีเป็นการตอบปัญหาวิจัยรวมทั้งการแสดงให้เห็นว่าผลการวิจัย
  สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้โดยนักวิจัยต้องน�ำผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมาแปลความหมายตามหลัก
  สถิติวิเคราะห์ และถอดความหรือขยายความเพ่ือแสดงให้เห็นว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลน้ันให้ค�ำตอบส�ำหรับ
  คำ� ถามวจิ ยั แตล่ ะขอ้ ชดั เจน และถกู ตอ้ งเหมาะสม ทงั้ นก้ี ารเสนอสาระดา้ นการแปลความหมายผลการวเิ คราะห์
  ขอ้ มลู นกั วจิ ยั นยิ มเสนอผลการวจิ ยั เรยี งตามขนั้ ตอนการวเิ คราะหข์ อ้ มลู แตล่ ะขนั้ ตอนในการตอบปญั หาวจิ ยั /
  วัตถปุ ระสงคว์ ิจยั แต่ละข้อ เพอ่ื แสดงความสมบรู ณ์ในการดำ� เนินงานวิจัยตามวตั ถุประสงคว์ จิ ยั อย่างครบถว้ น
  สมบูรณ์

          การดำ� เนนิ การแปลความหมายผลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ดงั กลา่ ว นกั วจิ ยั ตอ้ งทบทวนวรรณกรรมดา้ น
  การแปลความหมายผลการวจิ ัย และศกึ ษาแบบอย่างการทบทวนวรรณกรรม เพราะนักวิจัยย่อมได้ประโยชน์
  จากการใช้ความรู้ในการแปลความหมายผลการวิจัยใหม่ ๆ ท่ีสมบูรณ์มากขึ้นเป็นแนวในการแปลความหมาย
  และสรุปผลการวิจัยแต่ละประเด็น ท�ำให้ได้ผลการวิจัยท่ีทันสมัยและมีคุณค่าสูงด้วย

          ขน้ั ตอน 10 การสรปุ และอภปิ รายผลการวจิ ยั การด�ำเนินงานขั้นตอนน้ี นักวิจัยน�ำผลการแปลความ
  หมายข้อมูลมาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ตามค�ำถามวิจัย/วัตถุประสงค์วิจัย เพ่ือสรุปว่าได้ผลการวิจัยตรงตาม
  ค�ำถามวิจัย/วัตถุประสงค์วิจัย รวมท้ังการอภิปรายผลการวิจัย ซึ่งแยกเป็น 4 ประเด็น ประเด็นแรก ความ
  สอดคลอ้ ง/ขดั แยง้ ระหวา่ งผลการวจิ ยั กบั ทฤษฎวี รรณกรรม และผลงานวจิ ยั ในอดตี ทเี่ กยี่ วขอ้ ง โดยให้เหตุผล
  และการอ้างอิงที่หนักแน่นว่าความสอดคล้อง/ขัดแย้งดังกล่าวเป็นเพราะอะไร มีวรรณกรรมสนับสนุนอย่างไร
  ประเด็นที่สอง ประโยชน์เชิงนโยบายของผลการวิจัย เพื่ออธิบายว่าผลการวิจัยประเด็นใดเป็นประโยชน์ใน
  เชิงนโยบายต่อหน่วยงานใด และอย่างไร โดยนักวิจัยต้องให้แนวทางการน�ำไปใช้และอธิบายว่าหากน�ำไปใช้
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71