Page 69 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 69

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-59
3. ดชั นคี ณุ ภาพและรหัสมาตรฐานสากลประจ�ำวรรณกรรม

       สาระส�ำคัญที่ผู้อ่านควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับดัชนีคุณภาพและรหัสมาตรฐานสากลประจ�ำวรรณกรรม
รวมทั้งหมด 2 ประเภท คือ ดัชนีคุณภาพ (Impact Factor – IF) ของวารสารวิชาการ และรหัสมาตรฐาน
สากลประจ�ำวรรณกรรม ซึ่งแบ่งเป็น 4 แบบ คือ ตัวระบุวัตถุดิจิทัล (DOI) รหัสมาตรฐานสากลประจ�ำ
วรรณกรรมประเภทหนังสือ (ISBN) รหัสมาตรฐานสากลประจ�ำวารสารวิชาการ (ISSN) และรหัสมาตรฐาน
สากลระบุต�ำแหน่งท่ีอยู่ของวรรณกรรม (Uniform Resource Locator - URL) ดังนั้นการเสนอสาระตอนน้ี
ผู้เขียนจึงได้น�ำเสนอสรุปสาระเรื่องดังกล่าวเพ่ือประโยชน์ในการค้นคืนและการทบทวนวรรณกรรม โดยเสนอ
แทรกสาระไว้ก่อนการน�ำเสนอเนื้อหาการทบทวนวรรณกรรม ดังต่อไปนี้

       3.1 ดัชนีคุณภาพ (Impact Factor - IF) ของวารสารวิชาการ ดัชนี IF เป็นดัชนีคุณภาพของ
วรรณกรรมประเภทวารสารวิชาการ ซ่ึงค�ำนวณจากความถ่ีของบทความแต่ละเร่ืองในวารสารวิชาการว่าได้รับ
การอ้างอิงกี่ครั้งในช่วงเวลาท่ีก�ำหนด ดัชนี IF พัฒนาโดย Eugene Garfield ผู้ก่อต้ัง ‘Institute for Sci-
entific Information (ISI)’ ในปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัด ‘Thompson Reuters’ ท�ำหน้าท่ีรับผิดชอบ
ค�ำนวณดัชนีคุณภาพบทความในวารสารวิชาการ และเสนอรายงานชื่อ ‘Thompson Reuters’ Journal
Citation Reports (JCR)’ รายงาน JCR ค�ำนวณดัชนี IF โดยใช้ค่าเฉลี่ยการอ้างอิงบทความท่ีพิมพ์เผยแพร่
ในวารสารแต่ละฉบับ

       วิธีการค�ำนวณคิดจากช่วงเวลา 3 หรือ 5 ปี เช่น กรณีค�ำนวณดัชนี IF จากช่วงเวลา 3 ปี ให้นับ
จ�ำนวนบทความพิมพ์เผยแพร่ในวารสารช่วง 3 ปี ได้ 27 บทความ และในปีท่ี 4 บทความทั้ง 27 บทความได้
รับการอ้างอิง 56 คร้ัง ดังนั้นดัชนี IF = 56/27 = 2.074 การแปลความหมายดัชนี IF เป็นการบอกระดับ
คุณภาพวารสารจากจ�ำนวนคร้ังท่ีมีการอ้างอิงบทความในวารสารนั้น นั่นคือ วารสารใดมีค่าดัชนี IF สูงมาก
ทส่ี ดุ เมอ่ื เทยี บกบั วารสารประเภทเดยี วกนั แสดงวา่ วารสารนนั้ มคี ณุ ภาพสงู สดุ ในกลมุ่ วารสารประเภทเดยี วกนั
นักวิจัยที่ต้องการทราบค่าดัชนี IF ของวารสารวิชาการ ควรใช้ค�ำค้นว่า ‘Thompson Reuters’ Journal
Citation Reports (JCR)’ หรือ ‘Thompson Reuters’ Journal Citation Reports In Cites’ ค้นจาก
‘Google’ (Academia Publishing House, 2013)

       ในประเทศไทย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้สนับสนุนงบประมาณสนับสนุนการ
ด�ำเนินงานโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิจัยดัชนีผลกระทบการอ้างอิงของวารสารวิชาการภายในประเทศ”
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2546 (สัญญาเลขที่ JSG4580001) และโครงการ “การจัดต้ังศูนย์การจัดท�ำฐานข้อมูล
การอ้างอิงของวารสารวิชาการไทย” ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2550 (สัญญาเลขท่ี JSG4700001) ให้แก่คณะ
นกั วจิ ยั 16 คน มนี ายธรี ะศกั ด์ิ หมากผนิ เปน็ หวั หนา้ โครงการ และศาสตราจารย์ ดร.ณรงคฤ์ ทธ์ิ สมบตั สิ มภพ
เป็นที่ปรึกษาโครงการ คณะนักวิจัยได้พัฒนาฐานข้อมูลท่ีเรียกว่า ‘Thai-Journal Citation Index (TCI)’
พร้อมทั้งได้จัดตั้ง ‘ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre - TCI)’
โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และส�ำนักหอสมุด มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธ์ิ สมบัติสมภพ เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ รับผิดชอบการรวบรวม
รายละเอียดต่าง ๆ จัดประเภทของวารสารวิชาการของไทย จัดเก็บข้อมูลของบทความรวมท้ังข้อมูลการอ้างอิง
ของบทความในวารสารวิชาการท่ีได้รับการตีพิมพ์ในประเทศไทยต้ังแต่ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน โดยมี
แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการของไทยด้วยการจัดประเมินคุณภาพวารสารอย่างต่อเนื่องและ
จัดกลุ่มคุณภาพ
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74