Page 68 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 68

2-58 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

  วิจัยต่อเน่ือง หรือในกรณีท่ีมีงานวิจัยแนวเดียวกันจ�ำนวนมาก ควรเสนอแนะให้มีการสังเคราะห์งานวิจัยเพ่ือ
  ให้ได้ผลการวิจัยในภาพรวมจากงานวิจัยทั้งหมดท่ีน่าเชื่อถือมากกว่าผลงานวิจัยเรื่องเดียว โดยระบุเป็น
  ข้อเสนอแนะส�ำหรับกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเพ่ือออกแบบการวิจัยที่เจาะลึก ขยายองค์ความรู้ หรือ
  เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างประเทศ หรือวัฒนธรรม รวมทั้งการเสนอแนะให้สังเคราะห์ผลงาน
  วิจัยเพื่อให้ครอบคลุมประโยชน์จากการวิจัยท่ีเป็นภาพรวมโดยสมบูรณ์

          กระบวนการด�ำเนินการวิจัยตามข้ันตอนท้ัง 11 ขั้นตอน ทุกขั้นตอนต่อเน่ืองกันเป็นวงจรวิจัย
  (ภาพที่ 1) เม่ือลากเส้นตรงแนวนอนแบ่งการด�ำเนินงานตามข้ันตอน 2-11 ในวงจรวิจัยออกเป็นสองส่วน ส่วน
  แรก คือ ส่วนบนของภาพ ได้แก่ ข้ันตอน 2, 3, 4, 10, 11 เป็นการด�ำเนินงานส่วนที่เป็นทฤษฎี และส่วนท่ี
  เป็นข้อเท็จจริงเก่ียวกับกลุ่มประชากรอันเป็นลักษณะนามธรรม ท่ีเปรียบได้ดังภาคสวรรค์ และส่วนลา่ งของ
  ภาพ ได้แก่ ขั้นตอน 5, 6, 7, 8, 9 เป็นการด�ำเนินงานส่วนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลจริงจากกลุ่มตัวอย่าง
  อันเป็นลักษณะรูปธรรม ที่เปรียบได้ดังภาคพ้ืนดิน จุดวิกฤติในการวิจัยตามภาพแสดงด้วยสัญลักษณ์ [ ]
  จึงมีสองจุด จุดวิกฤติจุดแรก เป็นจุดท่ีมีการปรับเปลี่ยนจากลักษณะนามธรรมตามทฤษฎี (ภาคสวรรค์) ลง
  ไปสู่ลักษณะรูปธรรม (ภาคพ้ืนดิน) ในการวิจัย จุดวิกฤติจุดแรกนี้นักวิจัยต้องระมัดระวังในการด�ำเนินงาน
  แยกเป็น 2 กรณี คือ กรณกี ารวจิ ยั เชงิ ปรมิ าณ จุดท่ีมีการออกแบบการวิจัย นักวิจัยเชิงปริมาณต้องเลือกกลุ่ม
  ตัวอย่างให้เป็นตัวแทนที่ดี (good representation) ของกลุ่มประชากร ต้องนิยามตัวแปรท้ังนิยามเชิงทฤษฎี
  และนิยามเชิงปฏิบัติการให้สอดคล้องกัน ต้องสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรที่มีคุณภาพ และต้องวิเคราะห์ข้อมูล
  ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพ่ือให้ได้ผลว่าข้อมูลท่ีเป็นรูปธรรมที่ได้มาเพ่ือวิเคราะห์ตอบปัญหาวิจัยน้ันเป็นข้อมูลที่
  เป็นตัวแทนของประชากรจริง ส่วนกรณีการวิจยั เชงิ คุณภาพ นักวิจัยต้องก�ำหนดขอบข่ายข้อมูลให้ครอบคลุม
  ทฤษฎีตามปัญหาวิจัย ต้องเลือกสนามส�ำหรับท�ำการวิจัยท่ีเหมาะสม และก�ำหนดตัวผู้ให้ข้อมูลที่มีข้อมูลและ
  สาระครบสมบูรณ์ส�ำหรับการตอบปัญหาวิจัย จุดวิกฤติจุดที่สอง อันเป็นจุดท่ีต้องระมัดระวังด้านการปรับ
  เปล่ียนจากลักษณะรูปธรรม (ภาคพ้ืนดิน) กลับไปหาลักษณะนามธรรม (ภาคสวรรค์) ในการวิจัยจุดวิกฤติท่ี
  สองนี้ นักวิจัยต้องระมัดระวังในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล กรณีการวิจัย
  เชิงปริมาณ นักวิจัยต้องใช้สถิติวิเคราะห์ตามหลักสถิติอนุมาน (inferential statistics) อย่างถูกต้องโดยมี
  การตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้น เพื่อสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวอย่างอ้างอิงไปสู่ประชากรได้อย่าง
  สมบูรณ์ ส่วนกรณีการวิจัยเชิงคุณภาพ นักวิจัยเชิงคุณภาพต้องใช้การวิเคราะห์แบบการตรวจสอบสามเส้า
  (triangulation) เพื่อยืนยันความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการวิเคราะห์เน้ือหาก่อน จาก
  นั้นจึงสรุปสาระประมวลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสร้างเป็นทฤษฎีฐานรากอย่างถูกต้อง สามารถตรวจสอบความ
  ตรงของทฤษฎี และสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลท่ีได้จากผใู้ หข้ ้อมูลสำ� คญั อา้ งอิงไปสูท่ ฤษฎไี ด้อย่างสมบูรณ์

          เม่ือพิจารณากระบวนการด�ำเนินงานตามวงจรวิจัย 11 ข้ันตอนข้างต้น จะเห็นได้ว่า การด�ำเนินงาน
  ขั้นตอน 2 การทบทวน (การค้นคว้า การศึกษา และการน�ำเสนอ) วรรณกรรม และขั้นตอน 3 การสร้างกรอบ
  แนวคิดในการวิจัย และสมมติฐานวิจัย เป็นขั้นตอนการด�ำเนินงานต่อเนื่องกัน ตามความเป็นจริงการ
  ด�ำเนินงานข้ันตอน 2 และ 3 เป็นข้ันตอนต่อเน่ืองเพ่ือการทบทวนวรรณกรรมให้ได้สรุปผลการทบทวน
  วรรณกรรมในรูปกรอบแนวคิดและสมมติฐานวิจัย จึงอาจรวมสาระทั้งสองหัวข้อให้เป็นข้ันตอนเดียวกันได้
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73